GotoKnow

การยกร่าง พรบ. มหาวิทยาลัย กับความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2548 09:11 น. ()
แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2555 16:14 น. ()

การยกร่าง พรบ. มหาวิทยาลัย  กับความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย

<p>
          ผมไปร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล   เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.48   วาระที่พูดกันยาวที่สุดคือ   ร่าง พรบ. มหาวิทยาลัย   ซึ่งนอกจากของมหิดลแล้ว   ของมหาวิทยาลัยอื่นก็อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา   และของอนุกรรมาธิการ</p>
<p>
          ประเด็นสำคัญที่สุดต่อความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย   และต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยต่ออนาคตของชาติบ้านเมือง   คือมุมมองว่ามหาวิทยาลัยมีหน้าที่อะไร   ซึ่งจะต้องเลือกระหว่าง 2 มุมมอง
·       เป็นสมอง  เป็นสติ  และเป็นขุมปัญญาแก่บ้านเมือง
·       เป็นมือเป็นเท้าของรัฐบาล</p><p>
          คณะกรรมการสภาฯ เป็นห่วงว่า   สาระในยกร่าง พรบ. ส่อความเชื่อในหน้าที่แบบหลัง   ซึ่งจะมีผลเสียต่อสังคมไทยในระยะยาวอย่างที่สุด</p><p>
          หากจะให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่เน้นที่แบบแรก   จะต้องให้อิสระแก่มหาวิทยาลัยให้มาก   แต่ในยกร่าง พรบ. มีแนวโน้มว่าจะเขียนไว้ให้มีช่องทางให้รัฐบาลใช้กลไกของตนเข้ามาควบคุมมหาวิทยาลัยมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน</p><p align="right">
                                                                                                วิจารณ์  พานิช
                  
</p>

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย