GotoKnow

วิธีการออกแบบ KM Workshop เพื่อเรียนรู้ KM

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2548 09:07 น. ()
แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2555 21:38 น. ()

วิธีการออกแบบ KM Workshop เพื่อเรียนรู้ KM

<p>
          วันนี้ใน Weekly Meeting ของ สคส.   เราทำ AAR และค้นพบวิธีการออกแบบ workshop เพื่อทำความรู้จัก KM อีก 2 แบบ   โดยมีตัวอย่างของจริงที่เราทดลองปฏิบัติได้ผลดีมาแล้ว  </p>
Weekly Meeting AAR workshopKM <p>
1.      แบบ “หลายวง”     นี่คือรูปแบบของ “ตลาดนัดความรู้ด้านการจัดการงานวิจัย” ที่จัดโดย มอ.   เมื่อวันที่ 19 – 20 มิ.ย.48   โดยเราออกแบบให้มี “คุณกิจ” มาเล่าเรื่องราวความสำเร็จในการจัดการงานวิจัย 3 ระดับ คือ
- ระดับนักวิจัย
- ระดับผู้บริหาร (คณบดี,  รองคณบดี)
- ระดับเจ้าหน้าที่สนับสนุน
         แต่ละระดับตั้งวงภายในกลุ่มของตนเอง   แต่ตอนรายงาน “ขุมความรู้”  และ “แก่นความรู้” ก็ได้รับรู้เรื่องราวของวงอื่นด้วย   ทำให้เกิดความเข้าใจและรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น
         การออกแบบตลาดนัดหรือ Workshop แบบนี้   อาจเรียกว่า แบบหนึ่งตลาดนัด  หลายวง
ที่เราจะไปจัด “ตลาดนัดความรู้เพื่อการเลี้ยงสัตว์ปีกโดยไม่เป็นโรคหวัดนก” วันที่ 18 – 19 ก.ค.48 ให้แก่ ศช. (ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ) และ มสช. (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ) เราก็จะจัดแบบนี้
         
2.      แบบ “ตกลงหัวปลา”   นี่คือรูปแบบที่ ดร. ประพนธ์ไปทำ workshop ให้ ม.มหิดล ที่บ้านผู้หว่าน   เมื่อวันที่ 20 – 21 มิ.ย.48   โดยที่ผู้มาเข้า workshop คือผู้บริหารระดับหัวหน้าหน่วยงานสาย ข.,  ค.   ใช้ “หัวปลาร่วม” ยากมาก   ดร. ประพนธ์จึงทำความตกลงใช้เป้าหมายการเป็น LO (Learning  Organization) ในการเล่าเรื่องความสำเร็จที่ภาคภูมิใจ   และดำเนินโมเดลระดับธารปัญญา   ทำให้ผู้เข้าร่วมตระหนักในคุณค่า   และเข้าใจวิธีการ KM   เกิดการตกลงประเด็นงานชิ้นเล็ก ๆ ที่ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมกันดำเนินการจึงจะบรรลุผลขององค์กร
         การออกแบบตลาดนัดหรือ workshop แบบนี้น่าจะทำเป็นกรณียกเว้น   ไม่สามารถใช้เนื้องานจริงมาเป็นเป้าหมายหรือ “หัวปลา” ร่วมในการจัดตลาดนัดหรือ workshop</p><p align="right">
                                                                   วิจารณ์  พานิช
                                                                     22 มิ.ย.48
</p>

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย