KM ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


กระบวนการจัดการองค์ความรู้ของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีขั้นตอนดังนี้

1.       การจัดการ

          กรมอนามัยใช้การระดมสมองของบุคลากร การคิดอย่างเป็นระบบ มีการมองภาพที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงมีการอธิบายถึงลักษณะรายละเอียดขององค์ความรู้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งจะทำให้บุคลากรนั้นสามารถเข้าใจและเล่าเรื่องราวความรู้ของตนเองได้ตรงประเด็นที่สุด

2.       การเก็บรวบรวม

          การเก็บรวบรวมนั้นจะมีการเก็บโดยแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ 5 ลักษณะตามแหล่งกำเนิดความรู้ ยึดหลักการเกิดจริงตามธรรมชาต

3.       การกลั่นกรอง 

          จากแผนภูมิที่กำหนดนั้น ซึ่งแสดงในรูปสมการนั้น จะเป็นตัวสรุปหัวข้อต่าง ๆ ตามลักษณะ 5 อย่าง เพื่อจะได้เป็นข้อมูลอันมีค่า สำหรับการปรับปรุงหลักสูตร การฝึกอบรมในครั้งต่อ ๆ ไป การเผยแพร่      

         การทำให้บุคลากรนั้นเปิดใจให้กว้างเพื่อรับรู้ข้อมูล โดยมีจุดยืนของตนเองอยู่ การพัฒนานั้น ต้องอาศัยการฝึกอบรม ในรูปของสมการซึ่งเรียกว่า S L I P'S Equation Matrix สำหรับใช้ประกอบการพิจารณา ในการจัดหลักสูตร การฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมายด้านกลยุทธ์ และกลวิธีจัดการ (M-Tactics) S L I P'S Equation โดยเนื่อหาแล้ว ดัดแปลงมาจากขอบข่ายขององค์ความรู้ หรือ ลักษณะ 5 ประการ ของความรู้ดังกล่าว ถ้าสังเกต จดจำสัญญลักษณ์ได้แม่นยำ การทำความเข้าใจจะทำได้ง่าย โดยการจัดประเด็บเรื่อง การพัฒนาองค์ความรู้ และเทคโนโลยี จะมีกรอบการพิจารณาดังนี้


            1. มีจุดยืนขององค์ความรู้อยู่ 10 เรื่อง สำหรับตั้งเป็นเป้าหมาย และวัตถุประสงค์
            2. รูปแบบในการดำเนินชีวิตที่ต้องการพัฒนา เป็นตัวกำหยดประเด็นความรู้ และเทคโนโลยี ทั้งในแนวนอน และแนวตั้ง (S L I P'S Equation)
            3. วิเคราะห์จุดอ่อน และจุดแข็ง ของประเด็นต่างๆ จากสถานการณ์ตามความเป็นจริง
            4. จัดลำดับความสำคัญขององค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่คัดเลือกแล้ว ให้สอดคล้องกับตำแหน่งความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบทั้งแนวตั้ง และแนวนอน
5. นำไปจัดหลักสูตรการฝึกอบรม และการประเมินผล
6. กำหนดเครื่องชี้วัด สำหรับการพัฒนาในแต่ละประเด็น เพื่อควบคุม กำกับ และประเมินความก้าวหน้า
               

             สรุป
             

             จากบทความข้างต้นนั้น การที่เราสามารถรับรู้ถึงลักษณะขององค์ความรู้จะทำให้สามารถเข้าใจ  นำเสนอ รวมการที่ถ่ายทอดพัฒนาความรู้นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเราจะต้องเตรียมให้บุคลากรเหล่านั้นพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง และเพื่อที่จะป้องกันการถ่ายเทความรู้ออกสู่นอกระบบอย่างที่เรียกว่า ภาวะสมองไหล  (Brain drain)


LINK : www. advisor.anamaimoph go.th. /192/19211.html

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1372เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2005 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท