พายุ
นาง สุภาภรณ์ บุตรดีวงษ์ มีเงิน

เครื่องมือในการเพิ่มผลผลิต


ย่ำอยู่กับที่ มีหรือจะก้าวหน้า

P-D-C-A ...วงจรการปรับปรุง
P-D-C-A วงจรการปรับปรุง ซึ่งย่อมาจาก Plan, Do, Check และ Act ..

Plan ก็คือวางแผน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และกำหนดวิธีแก้ไข
Do คือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เช่นพัฒนาทักษะเมื่อปฏิบัติแล้ว ก็ต้อง Check คือตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ แก้ไขงานน้อยลงหรือเปล่า แล้วบันทึกเพื่อนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมต่อไป
Act คือดำเนินการให้เหมาะสม ถ้าวิธีการใหม่ที่ได้ ใช้ได้ผล ก็ให้ยึดเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่หากวิธีการใหม่ที่ได้ ยังไม่ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น ก็ต้องหาทางปรับปรุงต่อไปอีก...


 Benchmarking...เปรียบเทียบเพื่อปรับปรุง
วิเคราะห์ว่าเราอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง? ใครทำได้ดีที่สุด? เขาทำได้อย่างไร? และเราจะทำให้ดีกว่าเขาได้อย่างไร?
เช่น เรากำหนดจะปรับปรุงกระบวนการส่งมอบชิ้นงาน จากสายการผลิตหนึ่งไปสู่อีกสายการผลิตหนึ่ง เริ่มต้นจาก ประเมินตนเอง พบว่าใช้เวลาส่งมอบนาน 7 นาที จากนั้นจึงค้นหาข้อมูลว่าหน่วยงานใดมีกระบวนการส่งมอบชิ้นงานน้อยกว่าเมื่อได้แล้วก็คัดเลือกหน่วยงานนั้นขึ้นมาเป็นตัว Benchmark หรือเกณฑ์ที่เราต้องการให้ไปถึง โดยศึกษาว่าเขามีวิธีปฏิบัติ หรือ Best Practices อย่างไร
จากนั้นจึงนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเอง จะเห็นว่า Benchmarking ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ แต่เป็นการเสาะหาและคัดเลือกวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ Best Practices จากหน่วยงานอื่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับการทำงานในหน่วยงานของตนเอง


 ระบบ T-P-M ..เพื่อเครื่องจักรและผู้ใช้งาน
อย่าปล่อยให้ปัญหาเครื่องจักรมาเป็นตัวทำลายคุณภาพสินค้า ใช้ระบบ T-P-M มาแก้ไขดีกว่า..
T-P-M ย่อมาจาก Total Productive Maintenance คือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ปรัชญาของ TPM อยู่ที่การบำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรหยุดหรือเสียก่อนเวลาอันควร ดังนั้น กิจกรรมที่สำคัญของ TPM คือการที่พนักงานทุกคนที่เป็นผู้ใช้เครื่องจักร-อุปกรณ์นั้นๆ มีส่วนร่วมในการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องจักร-อุปกรณ์ที่ควบคุมให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอด้วยตนเอง (Self-Maintenance)
เช่นตรวจสอบสภาพเครื่องจักรอุปกรณ์ประจำวัน การหล่อลื่นเครื่องจักรอุปกรณ์ เปลี่ยนอะไหล่ที่หมดอายุการใช้งาน การซ่อมแซมง่ายๆ หมั่นสังเกตค้นหาสิ่งผิดปกติ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องจักร และทำความสะอาดเบื้องต้น เป็นต้น ..
ระบบ T-P-M จะช่วยลดปัญหาเครื่องจักรขัดข้อง พร้อมกับขจัดปัญหาการผลิตงานที่ไม่ได้คุณภาพให้หมดไปได้..


KAIZEN..ปรับปรุงงานเพื่อการเพิ่มผลผลิต

KAIZEN เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "การปรับปรุง"
ซึ่งเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ หัวใจสำคัญของหลักการ KAIZEN คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด โดยการใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานมาคิดปรับปรุงงาน ด้วยการลงทุนเพียงเล็กน้อย และก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทีละน้อย ๆ แต่ค่อยๆเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากตัวเองจากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนแปลงสิ่งอื่น เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น เช่นในกรณีของคุณจุ๋ม แต่ก่อน คุณจุ๋มต้องอาศัยแรงงานผู้ชายกำยำถึง 2 คนในการเคลื่อนย้ายตู้เอกสารขนาดใหญ่เข้าไปเก็บในสำนักงานเมื่อถึงเวลาเลิกงาน แต่เดี๋ยวนี้คุณจุ๋มนำหลักการ KAIZEN มาใช้ในบริษัท ทำให้เธอค้นพบวิธีที่ดีกว่า ไม่ต้องอาศัยแรงงานผู้ชายในการเคลื่อนย้ายตู้อีกต่อไป โดยการปรับปรุงใส่ลูกล้อให้กับตู้เอกสาร ทำให้ทุกคนสามารถเคลื่อนย้ายตู้เอกสารได้ง่ายขึ้น และยังช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้นด้วยการเคลื่อนย้ายตู้ให้ง่ายขึ้น โดยการใส่ลูกล้อให้กับตู้เอกสาร ทำให้ทุกคนสามารถเคลื่อนย้ายตู้เอกสารได้ง่ายขึ้น และยังช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้นด้วย…


  5 ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต
กิจกรรม 5 ส เป็นแนวคิดจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน เพื่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย และมีระเบียบ..
5 ส ประกอบด้วย
1..สะสาง คือการแยกของที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็น และขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไป
2..สะดวก คือการจัดวางหรือจัดเก็บสิ่งของต่างๆอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
3..สะอาด คือการทำความสะอาด เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน
4..สุขลักษณะ คือการรักษามาตรฐานการปฏิบัติ 3 ส แรกที่ดีไว้ และค้นหาสาเหตุต่างๆเพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น
5..สร้างนิสัย คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน 5ส ของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
ผลที่ได้จากการทำกิจกรรม 5 ส ก็คือ สถานที่ทำงานจะสะอาดและเป็นระเบียบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ต้นทุนลดลง ส่งมอบสินค้าได้ทันเวลา และมีความปลอดภัยในการทำงานด้วย

 

SAFTY FIRST

ความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจ เพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีของพนักงาน ผู้บริหารควรหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือภาวะที่ไม่ ปลอดภัยในการทำงานโดยกระตุ้นให้พนักงานทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยโดยใช้หลัก 3 E
E ตัวแรกคือ..Engineering คือการใช้วิชาการทางวิศวกรรมสาขาต่างๆ เช่น ออกแบบอาคาร เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ และกระบวนการทำงานอย่างปลอดภัย...
E ตัวที่สองคือ Education คือการให้ความรู้ความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร เช่นอบรมให้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และเสริมสร้างความปลอดภัย รวมทั้งสร้างจิตสำนึกของพนักงานไม่ให้ประมาทในการทำงานอีกด้วย
ส่วน E ตัวสุดท้ายคือ Enforcement คือการออกกฎเกณฑ์หรือระเบียบเพื่อการทำงานอย่างปลอดภัย เช่นมีข้อกำหนดที่ให้ทำและห้ามทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายของทางราชการเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

 

ย่ำอยู่กับที่.....มีหรือจะก้าวหน้า
คนทำงานที่กลัวการเปลี่ยนแปลงระบบการปฏิบัติงาน หรือมีความคิดต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสะสมอยู่ในจิตใจนั้น จะไม่มีโอกาสได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการทำงานของตนให้ดีขึ้น ในที่สุดจะถูกคนอื่นแซงหน้าไป ฉะนั้นถ้าอยากมีความก้าวหน้าต้องหมั่นเตือนตนเองอยู่เสมอว่า สิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบันยังไม่ดีพอ ต้องปรับปรุงให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ต้องเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถทำได้ และยอมรับนับถือในคุณค่าของตนเอง....แนะนำให้เริ่มเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ง่ายๆก่อน แล้วค่อยไปสู่สิ่งที่ยากขึ้น เพราะถ้าเป็นเรื่องง่ายก็จะเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จได้ไม่ยาก ซึ่งคนเราเมื่อทำครั้งแรกแล้วประสบความสำเร็จ ก็จะเกิดกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งอื่นๆ ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปในอนาคต...
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต้องทำอย่างต่อเนื่อง หยุดนิ่งไม่ได้ เพราะการย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่ผู้อื่นก้าวไปข้างหน้า ก็เท่ากับเรากำลังถอยหลังลงไปทุกวัน
 

ที่มา : http://www.geocities.com/damrongchaipress/article_10.htm

หมายเลขบันทึก: 137732เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คุณพายุ เขียนได้ดีมากเลยครับ ...เป็นประโยชน์มาก ...ตอนอ่านครั้งแรกนึกว่าทำงานอยู่สถาบันเพิ่มผลผลิตฯ แต่กลายเป็นอยู่หอสมุด ...ที่ไหนเหรอครับ?

เพิ่งเห็น "ที่มา" จึงเพิ่งทราบว่าเอามาจากที่อื่น แต่ถึงอย่างไรก็ขอขอบคุณครับ

  • ดีใจ และขอบคุณคะที่ อ. แวะมาเยี่ยมคะ
  • หนูทำงานอยู่ห้องสมุด ม.เกษตรศาสตร์ ที่ อ. เพิ่งมาบรรยายเรื่อง KM ให้ฟัง เมื่อวันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2550 นี้ไงคะ แฮะ แฮะ
  • จริง ๆ ก็อยากเขียนเองเหมือนกันคะ แต่เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา ช่วงนี้ก็เลยเป็นการหาความรู้ที่อื่นมารวบรวมไว้ก่อนคะ
  • ขอบคุณอีกครั้งคะ
  • ใช่แล้วครับการเปลี่ยนเปลง เป็นสิ่งที่ต้องตามให้ทัน
  • หรือการทำงานของตนให้ดีขึ้น
  • ใช่แล้วคะ เราต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง

ขอบคุณคับ สำหรับเนื้อหาเรื่องนีคับ

อาจารย์พายุ ต้อนนี้ผมได้ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้คับ

มีเนื้อหามากกว่านี้มัยคับ

แต่ก็ขอขอบคุณคับ

อาจารย์พายุ หนูของรายงานเกี่ยวกับการปรับปรุงหน่อยได้ไมค่ะ

เที่ยง สิงหนุวัฒนะ

เข้ามาหาข้อมูลเพื่อทบทวนความรู้ที่เคยได้ร่ำเรียนมาจาก อาจารย์ประพนธ์ ที่ มธ.(MTT 6) พบว่า อาจารย์พายุถ่ายทอดได้ดี เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์มากครับ ขอขอบคุณในความรู้ที่นำมาshareครับ

เที่ยง สิงหนุวัฒนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท