ปราสาทไหวเพลงอมตคนล้านนา


ปราสาทไหวเพลงอมตคนล้านนาภูมิปัญญาที่ถูกเพี้ยนความหมาย

ในสมัยก่อนมหรสพยังไม่มีหลากหลายเช่นปัจจุบัน จึงมีเพลงที่บรรเลงกันสดๆในรั้วในวังเท่านั้น   ในหมู่บ้านมีเพลงพื้นบ้านทั่วๆไปที่ชาวบ้านนิยมเล่นกันในวิถีชีวิตประจำวัน

ตามตำนานที่เล่าขานกล่าวว่า

         เพลงที่เล่นกันในรั้วในวังจึงเป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงชั้นสูงโดยเฉพาะเพลงปราสาทไหว(อ่านว่า  ผาสาดไหว)ของบ้านเมืองในดินแดนชาวล้านนา เมื่อเล่นเพลงนี้เมื่อใดผู้คนที่อยู่นอกวังจะพากันหลั่งไหลเข้าไปฟังในวังให้ได้ยินชัดเจนเพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องขยายเสียง  การเข้าไปมากมายของฃาวบ้านนี้เองทำให้เรือนปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินสั่นไหว  เคลือนคลอน  แสดงถึงความไพเราะของเพลงที่โดนใจอย่างสุดๆ   ด้วยปรากฏการณ์ที่ปปราสาทไหวนี้เอง  เพลงนี้จึงเรียกกันต่อมาว่าเพลง     ปราสาทไหว     เป็นการบ่งบอกถึงความม่วนงัน(ไพเราะเพราะพริ้ง)นั่นเอง

         ต่อมาฐานะขฃองเจ้าเมืองล้านนาถูกลบล้าง ทำให้ชาววัง  นักดนตรีอพยพออกไปอยู่ตามบ้านเรือนทั่วไป  แต่ก็นำเพลงปราสาทไหวไปเล่นตามงานต่างๆโดยเฉพาะบ้านศพ  เพื่อให้ผู้คนได้ยินเพลงที่ไพเราะได้ฟังให้หายความเศร้า  กำจัดความเสียใจออกไป    นานวันเข้าเวลาล่วงเลยนับเป็นร้อยพันปี เพลงปราสาทไหวกลายเป้นที่นิยมบรรเลงในงานศพ  ผู้คนที่ไมทรายที่มาจึงถือว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่เล่นบรรเลงในฌแพะงานศพเท่านั้น   ไม่นิยมนำไปเล่นงานกุศล  งานมงคลเชื่อว่าจะทำให้เสียขวัญ

             ความเชื่อนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน      จึงนำมาเล่าบอกกล่าวว่าแท้จริงแล้วเพลงปราสาทไหวเป็นเพลงล้านนาชั้นครู   ผู้คนที่จะเล่นเพลงพื้นเมืองล้านนาต้องเล่นเพลงนี้เป็นทุกคน  หรือแม้แต่การประกวดแข่งขันกรรมการจะต้องให้ทุกวงเล่นเพลงนี้เป็นเพลงบังคับ

               หากผู้คนสมัยใหม่ไม่ศึกษาผะหญาปัญญาบรรพบุรุษให้ถ่องแท้แล้วย่อมส่งผลเสียแก่คุณค่าทางผะหญาของบรรพชนโดยแท้

หมายเลขบันทึก: 137580เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2007 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีครับป้อลุง

เพลงปราสาทไหวเป็นเพลงชั้นบรมครูของเมืองล้านนาจริงๆ ครับ แม้แต่คนที่ไม่รู้ดนตรีการอย่างผม ยังฟังแล้วม่วนอ๊กม่วนใจ๋ ... แถวบ้านผมบ้างเรียก "เพลงแห่" บ้างเรียก "เพลงด้นหน" เห็นเล่นกันทุกงาน ตั้งแต่งานแห่ครัวตาน ยันงานศพ

 เออ..ถูกแล้วหลานบ่าวหน้อย

         เก่งแต๊ๆเก่งจริงๆ...หากมีคนสนใจเรื่องล้านนาอย่างหลานลุงกึ๊ดว่า(คิดว่า)มรดกวัฒนธรรมล้านนาก็จะยั่งยืนคงคู่กับเมืองล้านนาจริงๆ

         ขอให้สนใจและค้นคว้าจริงลุงเอาใจช่วยเน้อ

แวะเข้ามาอ่านตำนานล้านนา เคยฟังเพลงปราสาทไหว ไพเราะครับ วันนี้ได้รู้ตำนานเพิ่มด้วย

ขอบคุณหลานๆที่ได้ร่วมกันศึกษาเรื่องราวของชาวล้านนา

                         จากลุงหนานพรหมมา

สวัสดีครับ ผมโหลดเพลง ปราสาทไหว เอาไว้ที่ : http://thaipoet.my-place.us/song.html เผื่อว่าท่านใดสนใจจะเข้าไปโหลดไว้ฟังครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณ....  คุณธวัชชัยที่กรุณาร่วมกันเผยแพร่  แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับเพลงปราสาทไหว(คนล้านนาอ่านว่าผาสาทไหว ซึ่งเป็นศิลปะชั้นสูงในเพลงของล้านนา

หากได้เพลงที่ชาวบ้านเล่นจริงๆจะดีมากเพราะไม่มีตัวโน้ต  จะมีโทนลีลาพริ้วไหวตามหัวใจชาวบ้านจริงๆ

ร่วมกันสร้างสรรค์เถอะครับโลกนี้จะมีแต่ความสยงามและรื่นรมย์

ขอไหว้สา ....จาก

                                    ลุงหนานพรหมมา

ธุครับ งามๆครับ ป้อลุงหนาน

ติดต๋ามมาโดยตลอดครับ ยินดีนักๆครับ ตีได้อ่านเรื่องราวบ่เก่าของบ้านเฮา

ผมสนใจ พิณเปี๊ยะ ครับป้อลุง ขอรบกวนป้อลุงหามาหื้ออ่านก้ำเตอะครับ

  • ป้อลุงหนานพรหมมา เจ้า..

ขอกราบขอบพระคุณป้อลุงจ๊าดนักที่นำเอาความรู้เกี่ยวกับศิลปะ  วัฒนธรรมของคนบ้านเฮามาแบ่งปันกันอ่าน   เพราะบางเรื่อง  หากปล่อยไว้เนิ่นนานก็รังจะมีวันสูญหาย    น่าเสียดายจ๊าดนัก

ขอบคุณนะเจ้า

ยินดีกับหลานๆบ่าวหน้อย-สาวหน้อยตังหลายที่สนใจเรื่องบ้านล้านนา

พิณเพียะ(อ่านว่าพินเปี๊ยะ) มีมานาน  ในวรรณคดีไทยภาคอื่นจะบันทึกไว้ว่า" ยินเสียงพะเยียบรรเลงแว่ว..."

คำว่า" พะเยีย" ก็คือเปี๊ยะบ้านล้านนานั่นเอง

พอดีบ้านลุงมีสองเลา  ซื้อเก็บไว้ให้ลูกหลานดู พยายามฝึกเล่นมันเล่นยากมาก ต้องเปลือย-อกคือไม่นุ่งเสื้อ  เพราะต้องเอาส่วนกะลาครอบที่อกด้านซ้ายหรือขวาตามถนัด  ส่วนผู้หญิงให้เอาส่วนกะลาครอบช่องท้อง  เวลาดีดเสียงดังเพียงเสียงเดียว ลองฟังเพลงคำเมืองปัจจุบันจะได้ยินเสียงเปี๊ยะดัง สลับกับเสียงปี่บ้าง  เสียงซึงบ้าง หากอยากเห็นลองไปดูวงดนตรีพื้นเมืองที่เขากำลังแสดงตามที่ต่างๆ จะเห็นคันไม้ด้ามยาวติดข้อไม้และกะโหล้ง(กะลา)พร้อมมีสายดีด   ที่สำคัญปลายด้ามคันถือเรียกกันว่าหัวเปี๊ยะ จะทำด้วยโลหะเช่น  ทองเหลือง  ขาง  เหล็กทำเป็นรูปหัวช้างบ้าง  หัวนาคบ้างเพื่อใช้ผูกสาย  ดังนั้นบางครั้งเรามักได้ยินคำว่า " พิณหัวจ๊าง(ช้าง)"  ก็คือเปี๊ยะนั่นเองครับ

คำว่า"เปี๊ยะ"หมายถึง  อวด  เอามาแสดงนั่นเอง

อยากได้เพลงปราสาทไหว เพลงแห่แนของเมืองๆ เนี้ยยคับ

ชอบฟังถ้ามีเวบใดก็ขอบอกกั๋นผ้องเน้อคับ

ซอบเป๋นพิเศษคืออันตี้มันเป๋นแนแห่คับ(กำลังหัดแนน้อยอยู่คับ)

สวัสดีครับคุณสันติ ....

อยากได้เพลงผาสาทไหวก็ลองโหลตเอาของคุณธวัชชัยที่ได้เขียนไว้บนเวบนี้(ลำดับที่  5  )แล้วครับ..

ยินดีหมู่เฮาที่ได้ฮักษาฮีตเก่ากองเดิม....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

สันติ (ฮ้องเบตก่ไดครับ)

ลุงหนานคับ

คือว่าผมลองคลิกเข้าไปแล้วมันโหลดบ่ได่ครับ

มีเวบอื่นก่คับพ่อหนาน

หลานสันติครับ...

เพลงปราสาทไหวมีขายตามห้างขายซีดีเพลงก็มีครับลองถามคนขายครับ...

ยินดีกับหลานๆที่สนใจเรื่องล้านนาครับ..

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

ป้อหนานคับตะวาผมปัยกิ๋นแก๋งอ่อมจี้นว่าจะจวนป้อหนานปัยส่งผมกั๋วป้อหนานก้าวเอาจ๋นมีดจ๋นเสี้ยงกะเลยบ่ปาปัยคับ

สวัสดีละอ่อนพะเยา...

ยินดีที่เกิดเติงหาลุงหนาน....แต่พอดีลุงหนานกิ๋นเจวันศีลเพราะมีพระอุปคุตเป๋นที่เปิ้งเลยบ่ค่อยกิ๋นจิ๊นครับ....หากไปแอ่วเจียงใหม่ไปแว่หาลุงหนานต๋าที่อยู่ได้เลยครับ..

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.... พรหมมา

สวัสดีครับผมหาโหลดเพลงฮ่ทฟ้าป๋ารมีครับบ่าฮู้ว่าจะไปหาโหลดตางไดครับ

สวัสดีครับ..ยำเตา..

ลองเซาะหาเวบเกี่ยวกับล้านนายังมีแถมหลายอยู่ครับ..

ยินดีที่เข้ามาแอ่วหาเน้อ..หมู่เฮา

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.....พรหมมา

ไค้ได้เพลงแห่โหลดได้ตี้ไหนครับขอเว็บไซต์จิมครับ

ขอบคุณครับ

คนเจียงฮายครับ

สวัสดีครับคุณอรุณี......

เพลงปราสาทไหวมีในแผ่นซีดีร้านขายแผ่นเพลงในล้านนาเาเกือบทุกแห่งครับ...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน...พรหมมา

ได้ความฮู้นัก ขอบคุณครับ

อยากใคร่หื้อลุงหนาน เขียนเกี่ยวกับส่วนต่างของบ้านครับ

หลายๆ ส่วนผมบ่ฮู้จักครับ อย่าง ฝากไหล เติน แวง หน้าถัง ฯลฯ

สวัสดีครับคุณหนึ่ง.....

กว่าจะมาตอบคงเลยเวลบามาเมินพ่อง....เพราะลุงไปเมาแป๋งพิพิธภัณฑ์ล้านนาอยู่...

เอาละจะว่าเป๋นอย่างๆ...

ฝาไหลคือฝาที่เลื่อนปิดเปิดได้เพื่อหื้อสายลมเข้าบ้านบ่ต้องมีแอร์เสียค่าไฟฟ้าครับ...

เติ๋นคือพื้นที่รับแขกของบ้านครับ....

หน้าถังคือส่วนหน้าสุดของบ้านครับ....

แวงคือไม้รองรับน้ำหนักด้านล่างของต๋ง(ต๋ง...ภาษาไทยว่ารอด)ครับ....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน...พรหมมา

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท