ประสบการณ์ : สร้างสรรค์
แก้สูญเสียที่สุดสวย
ความเป็นมา
ราวปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2541 เวลาประมาณ 06.00 น.
ขณะที่ผมทำงานในฐานะผู้อำนวยการกองคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งมีภาระรับผิดชอบงานด้านบริการ อำนวยความสะดวก
นอกจากการบริหารงบประมาณแล้วยังมีงานสนับสนุนทั้งสาธารณูปโภค
สาธารณูปการและอาคารสถานที่ทั้งหมด ภายในกระทรวงฯ
ให้เป็นไปด้วยความสะอาด เรียบร้อย
สวยงามและปลอดภัย
แต่ได้ขอพักอาศัยอยู่ที่บ้านพักหัวหน้าฝ่ายพัสดุ
ในบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ
ได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (ยาม)
แจ้งให้ทราบว่า มีผู้ชาย 2 คน
นำเต็นท์มาปักกางขวางหน้าป้ายกระทรวงศึกษาธิการตรงบริเวณที่ว่างระหว่างทางเข้า-ออก
ผมรีบไปพบบุรุษทั้งสอง ทราบว่า
มาตั้งเต็นท์ประท้วงการทำงานของกรมการศาสนาเรื่องที่ดินศาสนสมบัติกลาง
ในวันนั้นผมพยายามพูดจาเพื่อเกลี้ยกล่อมด้วยเหตุผลและขอความเห็นใจให้คนทั้งสองเปลี่ยนจุดที่ตั้งเต็นท์ไปตั้งที่บริเวณริมเกาะถนนราชดำเนินนอกใต้ต้นมะขาม
ซึ่งไม่ไกลจากที่เดิม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
เพราะเขาอ้างว่าหากไปตั้งที่นั่นจะไม่มีผู้สนใจรับข้อเสนอการประท้วง
ผมเรียนท่านปลัดกระทรวงฯ
ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้ดำเนินการไป แต่ไม่สำเร็จ
ให้ท่านทราบด้วยความกังวลใจ
ต่อมาท่านได้เชิญอธิบดีกรมการศาสนามาร่วมหารือ
และมีการมอบหมายให้จัดคณะข้าราชการไปรับฟังข้อเสนอและขอให้ยุติการประท้วง
แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะผู้ประท้วงยืนกรานจะตั้งเต็นท์ต่อไปจนกว่าจะได้รับคำตอบตามความประสงค์หรือเป็นที่พอใจ
ซึ่งคงจะตั้งเต็นท์อยู่อีกนานวัน เมื่อการพูดจาไม่ได้ผล
ท่านปลัดกระทรวงฯ จึงเชิญคณะผู้เกี่ยวข้องประชุมร่วมกันอีกครั้ง
มีข้อเสนอวิธีสลายการประท้วงทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ กทม. ตำรวจ
และกระทรวงศึกษาธิการมากมาย
แต่ทางเลือกที่ตัดสินใจดำเนินการสุดท้ายคือการใช้กำลังเคลื่อนย้ายเต็นท์ไปยังจุดที่ตั้งที่ผมเคยเสนอเขาทั้งสองแต่แรก
ก่อนการปฏิบัติการจะเริ่มขึ้น ผมมีข้อเสนอต่อท่านปลัดกระทรวงฯ
ว่าจะอาสาไปพบเขาทั้งสองอีกครั้ง
ด้วยข้อเสนอที่ฉุกคิดขึ้นได้ว่าน่าจะเป็นผลสำเร็จ
นั่นคือการขอให้ท่านปลัดกระทรวงฯ บันทึกสั่งการ(ย้อนหลัง 1
สัปดาห์)
ให้ผมเตรียมการจัดตกแต่งซุ้มเพื่ออัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
ประดิษฐานบริเวณหน้าป้ายกระทรวงฯ
ให้เสร็จภายในกลางเดือนกรกฎาคม 2541
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2541
เมื่อที่ประชุมเห็นชอบ ในเวลาต่อมา
ผมได้จัดทำบันทึกพร้อมแผนปฏิบัติการในเรื่องดังกล่าวนำเสนอท่านปลัดกระทรวงฯ
ลงนาม
จากนั้นผมและหัวหน้าฝ่ายพัสดุก็ไปพบผู้ประท้วงทั้งสองตอนใกล้ค่ำของวันนั้น
ผมกำหนดวิธีใช้น้ำเย็นเข้าลูบ ยื่นมิตรภาพ มอบถุงผลไม้ให้เขา
ถามสภาพความเป็นอยู่ของเขาค่อนข้างนาน
เมื่อสัมผัสว่าเขาให้ความไว้วางใจและให้เกียรติพอสมควรแล้ว
ผมก็เริ่มรุกเขาบ้าง โดยพูดคุยในเชิงระบายว่าตัวเองกำลังมีทุกข์
เพราะยังไม่สามารถจัดทำซุ้มตกแต่งที่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
ได้
เพราะเต็นท์ของเขาตั้งขวางบริเวณก่อสร้างพร้อมกับนำหนังสือสั่งการของท่านปลัดกระทรวงฯ
ให้เขาดูเพื่อยืนยันให้สมจริงด้วย
เขาแสดงความเห็นใจซักถามระยะเวลาก่อสร้าง
ระยะเวลาตั้งซุ้มประดิษฐาน
และการรื้อถอนเมื่อเสร็จภารกิจดังกล่าว
โดยสรุปใช้เวลาตามแผนทั้งหมดราว 45 วัน
แทบไม่น่าเชื่อว่าบุรุษทั้งสองยอมให้เคลื่อนย้ายเต็นท์ไป ณ
จุดที่ผมกำหนดให้ตามที่กล่าวแต่ต้น
และมีข้อต่อรองกับผมด้วยว่าเมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวแล้วเขาทั้งสองขอให้ผมย้ายเต็นท์กลับมาที่เดิม
ผมรับข้อต่อรองเพราะเชื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้นเหตุการณ์ประท้วงคงจะคลี่คลายผมใช้วิทยุสื่อสารเรียกระดมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งหมด
4 คน มาช่วยกันเคลื่อนและขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ของเขาไป ณ
จุดกำหนดเสร็จในคืนนั้นด้วยบรรยากาศการอนุเคราะห์อย่างเอื้ออาทรและเต็มใจ
ในลักษณะ win & win ทันที
เช้าวันรุ่งขึ้น ผมก็สั่งพวกช่างก่อสร้างเร่งขนวัสดุก่อสร้าง
กระถางต้นไม้ปรับแต่งสถานที่และลงมือก่อสร้างอย่างเร่งด่วน
แม้ว่าจะเป็นปีที่ใช้เวลาก่อสร้างตกแต่งเร็วและยาวนานอย่างต่อเนื่องกว่าทุกปี
แต่ก็เป็นปีที่สร้างประวัติการจัดสวนหย่อม
ไม้ประดับอย่างถาวรเกิดขึ้นบริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการจนเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการจัดตกแต่งสวนหย่อมไม้ดอกไม้ประดับในบริเวณอื่น
ๆ ภายในร่มรื่นและสวยงามอย่างถาวร จนกระทั่งได้รับรางวัล “หน้าบ้านน่ามอง”
ตามโครงการของกรุงเทพมหานคร ในปี 2542 ถัดมา
ความเป็นไป จากที่มาและที่ไป คือ
จุดเริ่มต้นและความสำเร็จครั้งนี้
พอจะสรุปเป็นองค์ความรู้จากตัวผมได้ดังนี้
1.
ผู้บังคับบัญชา
1) ต้องรับทราบเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว
2)
ต้องวางแผนการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางปัญญา
3)
ต้องเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาโดยไม่ย่อท้อและมีความจริงใจต่อคนที่ก่อปัญหาด้วยเมตตาธรรม
4) หากอาศัยสถานการณ์อันสำคัญ เช่น
วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
อันเป็นพระบารมีที่พสกนิกรชาวไทยเคารพเทิดทูนเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ในการยกกล่าวอ้าง
จะช่วยให้ทางแก้ปัญหาสำเร็จลงได้ด้วยความเต็มใจ
2.
ผู้ร่วมทำงาน
1) ต้องรับทราบสภาพปัญหา
สาเหตุเป้าหมายทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
2)
ต้องร่วมทำงานโดยหลักสามัคคีธรรม
3)
ต้องปฏิบัติภารกิจด้วยความรอบคอบและอดทน
3. ผลพลอยได้จากเหตุการณ์นี้
เป็นโอกาสให้องค์การคือ กระทรวงศึกษาธิการ
คิดแก้ปัญหาในเชิงพัฒนาโดยการจัดตกแต่งสวนหย่อมอย่างสวยงามหน้ากระทรวงศึกษาธิการเป็นครั้งแรกและสามารถแก้ปัญหาการตั้งเต็นท์ประท้วงด้วยสาเหตุต่าง
ๆ ได้อย่างถาวร
*****************************