`หัวใจของการจัดการความรู้...คืออะไร


Learn To share and Share To Learn

 

 วันที่ 18  กรกฎาคม  2548 มีโอกาสไปร่วมเปิดค่ายเยาวชนรักวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่วัดประดิษฐาราม หมู่ที่ 14 ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ  จังหวัดชุมพร.. ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง สภาวัฒนธรรมอำเภอท่าแซะ ร่วมกับ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าแซะ   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร ( โดยท่าน เกริกชัย  ชาติไทยไตรรงค์   ..วัดเทพประดิษฐาราม (ท่านพระครูสุธรรมประกาศ เจ้าอาวาสวัดเทพประดิษฐาราม ) และชาวชุมชนเขตตำบลท่าข้าม ซึ่งร่วมกันทำให้นักศึกษา กศน. ของอำเภอท่าแซะ  จำนวน  200 กว่าคน ได้มีโอกาสมาเข้าค่ายแบบค้างคืนจำนวน 3 วัน 2คืน..... สำหรับพิธีเปิดนั้น... มีท่านรองผู้ว่าฯ .....สมพงษ์ ทวิชศรี  เป็นประธานในพิธีเปิด

            ในพิธีเปิด.ท่านรองผู้ว่าฯ ก็ได้กล่าวว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่พิเศษ..และดี เพราะปัจจุบันเยาวชนไทยมักรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้..โดยลืมนึกถึงของดี ๆ ที่บรรพบุรุษปู่ย่าตายาย ได้สร้างสมทำให้เรามีเอกลัษณ์ความเป็นคนไทย..ท่านบอกว่าท่านรู้สึกภูมิใจที่มีโครงการเช่นนี้สำหรับเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนนอกโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่พลาดและขาดโอกาสอยู่แล้ว

           การศึกษานอกโรงเรียน..เป็นการจัดการศึกษาภายใต้ปรัชญา "คิดเป็น " และประกอบกับ การปฎิรูปการศึกษา พ.ศ. 2542 ได้มีการจัดย้ำเน้นให้มีการปฎิรูปการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.การเรียนแบบใหม่ต้องเป็นการเรียนที่ผู้เรียน มีโอกาสได้มีส่วนร่วม  การเข้าค่ายครั้งนี้..มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ระหว่าง.. ชุมชน ..วัดและสถานศึกษากล่าวคือ..ในช่วงแรก.ทางวัฒนธรรมจังหวัดชุมพรได้ริเริ่มสร้างความตระหนัก ให้นักศึกษารู้จักชุมชนของตนเอง คืออำเภอท่าแซะ..ว่ามี จุดเด่น..มีของดี อะไรอยู่บ้างที่เราต้องรู้..ต้องช่วยกันรักษา..โดยมีทั้งการบรรยายและเอกสาร..ทางวัดโดยท่านพระครูสุธรรมประกาศ..ก็ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมไทย.ซึ่งเริ่มตั้งแต่กริยาการไหว้..การกราบพระ ความเป็นอยู่อย่างไทยอย่างพอเพียง..ที่สำคัญ.กลางคืน นักศึกษาทั้ง 200 กว่าชีวิต..ต้องไปเรียนรู้วิถีชีวิตกับคนในชุมชน..โดยไปพักกับชาวบ้าน เป็นกลุ่ม  บ้านละ 5-6 คน..ซึ่งผู้เข้าค่ายทุกคนต่างบอกว่า รู้สึกตื่นเต้น..และแปลกใหม่ กับการที่ต้องไปพักกับคนในชุมชน... แต่ละคนก็ได้เตรียมประเด็นคำถามที่อยากรู้..เพื่อจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตการทำมาหากิน..ของชุมชน..ชาวบ้านที่รับเป็นครอบครัวอุปถัมภ์เองต่างก็เต็มใจ..ตั้งตาคอยสมาชิกที่จะมาพัก..หลังจากนั้นทุกคนก็จะกลับมาพบกันที่วัด..เพื่อนำเอาประสบการณ์ที่แต่ละกลุ่มได้ไปเรียนรู้มาเล่าสู่แลกเปลี่ยนกับต่อไป 

           นอกจากนั้น..ในการเข้าค่ายครั้งนี้..ก็ยังมีการจัดกิจกรรมฐานความรู้.ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เช่น ฐานมารยาทไทย ฐานนาฎศิลป์ไทย  การละเล่นพื้นบ้าน ภาษาถิ่นไทยพื้นบ้าน(ท่าแซะ)  เพลงลูกทุ่ง  หัตถกรรมไทย  อาหารไทย จิตรกรรมไทย  หัตถกรรมพื้นบ้าน  และทักษะชีวิตที่ทุกคนต้องนำไปปรับปรุงพัฒนาชีวิตอย่างรู้เท่าทันนั่นคือธรรมะในการครองเรือน  การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์..ฯลฯ 

           การเรียนรู้ทุกอย่างผู้เรียนได้ร่วมปฏิบัติจริง  มีส่วนร่วมในการอภิปราย...แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน  ระหว่งครูกับผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนกับชุมชน..และภูมิปัญญาอื่น ๆ ในท้องถิ่น เช่น วัด  พระ และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย  นี่คือระบบการเรียนรู้ ที่ นำเอา KM  มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน.. เพราะหัวใจของการจัดการความรู้ KM  คือ Learn To Share  และShare  to Learn...  นี่คือ การนำ KM ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของชาว กศน.ท่าแซะ............. ที่นำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนกับ ชาวชุมชน ทุกท่าน .. และองค์ความรู้ที่นักศึกษาไปเรียนรู้กับชุมชนจะนำเสนอในโอกาสต่อไป.............

 

            นี่คือการเรียนรู้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1353เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2005 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
วุฒิไกร ทิพย์กันทา
ขอถามว่า "การปฎิรูปการศึกษา"  คืออะไร กระทรวงศึกษาจะปฎิรูปอะไรบ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท