แนวทางการพิจารณาว่าแต่ละพื้นที่ควรใช้ KM วิธีใด?


ถ้าบุคลากรยังทำงานกันหัวฟู วันวันก้มหน้าก้มตาจัดการงานตามสั่งบนโต๊ะให้เสร็จไปอย่างเคร่งเครียด โดยไม่สนใจจะคุยกับใคร ถ้าเป็นเช่นนี้ จะใช้รูปแบบ/เครื่องมือKM ชนิดใด และผู้บริหารจะช่วยทำให้การบริหารเป็นแนวนอนและคลายบรรยากาศการทำงานให้ดีขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร
        เมื่อวานนี้(4 ต.ค.) คุณนิรมล  เมธีสุวกุล  พิธีกรทีวีช่อง 11 ถามผมกับ ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำ ในการบันทึกเทปทีวี คำถามหนึ่งว่า มีแนวทางอย่างไรในการพิจารณาว่า  แต่ละพื้นที่ควรใช้  KM วิธีใด?  ผมมีเวลาตอบแค่ 1 นาที  จึงไม่ได้สาระที่อยากจะพูดทั้งหมด ก็ขอมาเล่าในบล็อกนี้ต่อ
        พวกเราต่างยอมรับกันแล้วว่า
KM ไม่ใช่รูปแบบสำเร็จรูปที่จะปูพรมให้ทุกพื้นที่ทำเหมือนๆกัน  แต่ KM เป็นตัวช่วยให้การปฏิบัติงานของแต่ละองค์กรเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น  ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่
       คำว่า
วิธี น่าจะหมายถึง รูปแบบ และ เครื่องมือ”KM ที่จะนำมาใช้  ซึ่งรูปแบบของการใช้ KM ในองค์กร ดร.ประพนธ์ เคยบอกไว้ว่ามีอย่างน้อย 3 แบบคือ 1.เป็น KM ระดับองค์กร  2.เป็น KM ระดับกลุ่ม  3.เป็น KM ระดับปัจเจก  ผมก็อยากจะเติมอีกแบบหนึ่งเป็นแบบ4 คือ เป็น KM ผสมผสานทั้ง 3 แบบ ซึ่งอาจจะคล้ายแบบที่ 1 ก็ได้ แต่แบบ1 อาจแข็งเกินไป เพราะมุ่งที่การทำแผนยุทธศาสตร์ หากเอาแบบ 2กับ3 เข้าร่วมด้วยก็น่าจะมีความเป็นชีวิตมากขึ้น
        ส่วนเครื่องมือ
KM ก็คงเป็นที่รู้กัน เช่น CoPs, Story Telling, Dialouge, CoEs, Mentoring, Blog, Forum, Peer Assist, Databases, AAR เป็นต้น
       ดังนั้นแนวทางในการพิจารณาว่า  แต่ละพื้นที่ควรใช้
KM วิธีใด  จึงควรพิจารณาจากปัจจัยความพร้อมที่สำคัญต่อไปนี้
      1.ผู้บริหารองค์กร
(CKO) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ว่ามีเป้าหมาย KM อย่างไร ถ้าปักธงให้ชัดก็จะสามารถเลือกรูปแบบและเครื่องมือ KM ได้ชัด เช่น  ถ้าต้องการทำ KM เพื่อยกระดับการพัฒนาตามแผนกลยุทธ์  หรือพัฒนาระบบ ICT หรือพัฒนาตามตัวชี้วัดของ กพร. ก็อาจใช้ KM ในระดับองค์กร หรือแบบผสมผสาน แล้วเลือกเครื่องมือตามที่เห็นสมควร เป็นต้น
     2.คุณอำนวย  มีคุณอำนวยที่เป็นยอดนักประสานสิบทิศ เป็นที่ยอมรับศรัทธาของบุคลากร เป็นคนสู้งานกัดไม่ปล่อยหรือไม่  ถ้ามีควรใช้รูปแบบใด และเขาถนัดใช้เครื่องมือใด  ถ้าไม่มีจะแสวงหาอย่างไร และจะใช้รูปแบบใด เป็นต้น
    3.วัฒนธรรมองค์กร  ว่าถ้าบุคลากรยังทำงานกันหัวฟู วันวันก้มหน้าก้มตาจัดการงานตามสั่งบนโต๊ะให้เสร็จไปอย่างเคร่งเครียด โดยไม่สนใจจะคุยกับใคร  ถ้าเป็นเช่นนี้ จะใช้รูปแบบ/เครื่องมือKM ชนิดใด  และผู้บริหารจะช่วยทำให้การบริหารเป็นแนวนอนและคลายบรรยากาศการทำงานให้ดีขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
       ปัจจัยอื่นๆที่ควรนำมาพิจารณาอีกก็มี เช่น ความพร้อมของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาที่จะให้การสนับสนุน  ความพร้อมด้านระบบ
ICT  ความพร้อมด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์  รวมทั้งขอบเขตของพื้นที่ที่จะทำ KM ครอบคลุมหน่วยงานใดบ้าง เป็นต้น
       การบันทึกเทปช่อง 11 ครั้งนี้มีเรื่องสนทนากันประเด็นละเล็กละน้อยเกี่ยวกับการนำ
KM ไปใช้ สลับกับการฉาย VTR ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 25 นาที  จะออกอากาศวันจันทร์ที่ 22 ต.ค. เวลา 13.30 น.ครับ

หมายเลขบันทึก: 135144เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

          ปักธงสำคัญมากครับดังนั้นจึงควรทำให้ชัดเพื่อผู้ปฏิบัติจะได้เดินถูกทาง

           เคยไปพบคุณหมอวิจารณ์  ขอให้ท่านมาเป็นที่ปรึกษาเรื่อง KM ท่านถามว่าเป้าหมายของคุณคืออะไรให้ไปคิดมาก่อนวันหลังค่อยมาบอกพวกเราก็กลับมาคิดกันแล้วกลับไปบอกท่านจนท่านพอใจท่านจึงได้รับเป็นที่ปรึกษาให้

      เรื่อง "ปักธง" หรือกำหนด "วิสัยทัศน์" หรือ "เป้าหมาย" ให้ชัดเจนนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารควรตระหนักจริงๆ เพราะถ้าคนในองค์กรไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหน ก็ต่างคนต่างไป ไม่มีทิศทางที่แน่ชัด  องค์กรจะเป็นอย่างไร ก็ลองหลับตาดูก็แล้วกัน
     และที่สำคัญการจะปักธงอะไรก็ต้องให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท