ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 8 ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 : คณะสหเวชฯ มน.


องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 มีระบบและกลไกในการจัดสรร การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การตรวจสอบการเงิน และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์มาตรฐาน :  ระดับ

  1. มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบันให้เป็นไปตามเป้าหมาย
  2. มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน แผนการจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้
  3. มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลทางการเงินที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจและวิเคราะห์สถานะทางการเงิน
  4. มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  5. มีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง
  6. มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด
  7. ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ

เกณฑ์การประเมิน  :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 5 ข้อแรก  มีการดำเนินการ 5-6 ข้อ มีการดำเนินการครบทุกข้อ 

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  รองคณบดีฝ่ายบริหาร เบอร์โทรภายใน: 6223  E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: กมลพร เซี่ยงว่อง เบอร์โทรภายใน :  6225  E-mail :  

[email protected]

 

ค่าเป้าหมาย  : ระดับ 7

ผลการดำเนินงาน

  1. คณะสหเวชศาสตร์มีการกำหนดแผนการปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ 2549 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะสหเวชศาสตร์ โดยกำหนดเป็นงบประมาณรายได้ ประจำปี พ.ศ.2549   นอกจากนี้ตาม ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่าย ในรูปแบบของงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2549 (หลักฐาน1: แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2549)  (หลักฐาน2:งบประมาณแผ่นดินประจำปี พ.ศ. 2549 )  (หลักฐาน3: งบประมาณรายได้ ประจำปี พ.ศ. 2549)
  2. คณะสหเวชศาสตร์ได้กำหนดแนวนโยบายในการจัดหาเงินรายได้ ซึ่งเป็นทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยทั้งนี้ได้จัดทำแผนการใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมด้วย (หลักฐาน4 : ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่องนโยบายการจัดหาแหล่งเงินรายได้)  (หลักฐาน 5 : ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารเงินรายได้จากค่าตอบแทนการให้บริการทางวิชาการของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์) (หลักฐาน 6: ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์) (หลักฐาน 7: แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2549)
  3. คณะสหเวชศาสตร์นำระบบฐานข้อมูลมาใช้กับงานการเงินและพัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบ ตัดสินใจ ในการบริหารจัดการเงินของคณะ (หลักฐาน 8: ระบบฐานข้อมูล Data-Online) (หลักฐาน 9: ระบบบัญชี 3 มิติของมหาวิทยาลัย) (หลักฐาน 10: ระบบฐานข้อมูลครุภัณฑ์ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร )
  4. คณะฯ มีการจัดทำสรุปรายงาน การใช้จ่าย งบฐานะการเงิน และงบเดือน ทุกเดือน โดยเสนอให้คณบดีและกรรมการประจำคณะฯ รับทราบในการประชุมกรรมการคณะ  (หลักฐาน11 : รายงานการเบิกจ่ายเงินประจำเดือน. โดย เสนอ อธิการบดี , ผู้อำนวยการกองคลัง และ คณะกรรมการประจำคณะสหเวชศาสตร์ โดยผ่านคณบดีพิจารณาเข้าเป็นวาระประชุมฯ)  (หลักฐาน12 : เผยแพร่รายงานด้านการเงิน ใน data online)
  5. คณะฯ มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง (หลักฐาน13 : การคิดค่า FTES ปีงบประมาณ 2549)  (หลักฐาน 14 : การคิดค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรต่อจำนวนนักศึกษาปีงบประมาณ 2549) (หลักฐาน 15: การคิดค่าใช้จ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศต่อจำนวนนักศึกษาปีงบประมาณ 2549) (หลักฐาน 16 : การคิดค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ ปีงบประมาณ 2549) (หลักฐาน 17: ร้อยละของแหล่งงบประมาณที่ได้รับปีงบประมาณ 2549) (หลักฐาน 18: เปรียบเทียบรายจ่าย ปีงบประมาณ 2548-2549) (หลักฐาน 19: เปรียบเทียบการให้ทุนอุดหนุนพัฒนาบุคลากร ในส่วนงบประมาณรายได้ ปี 2548 - 2549)
  6. คณะฯ มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ที่ทำหน้าที่ตรวจ ติดตาม การใช้เงินเป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่คณะ และ มหาวิทยาลัยกำหนด ได้แก่
         1. คณะกรรมการประจำคณะ 
         2. หน่วยตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัย
    (หลักฐาน20: ผลการดำเนินงานเสนอต่อ คณะกรรมการประจำคณะ)  (หลักฐาน 21 : รายงานรายรับและรายจ่ายของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ ทุกเดือน ในรายงานการประชุมคณะกรรมการคณะ ) (หลักฐาน 22 : รายงานผลการตรวจสอบทานการประเมินการควบคุมภายในคณะสหเวชศาสตร์ โดยหน่วยตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีงบประมาณ 2549) (หลักฐาน 23: ประมวลข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ ประจำปีงบประมาณ 2549)
  7. มีคณะกรรมการประจำคณะ ติดตามผลการใช้จ่ายเป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางเงินไปใช้การวางแผนและตัดสินใจ (หลักฐาน 24 : ผลการดำเนินงานเสนอต่อ คณะกรรมการประจำคณะ)  (หลักฐาน 25 : รายงานรายรับและรายจ่ายของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ ทุกเดือน ในรายงานการประชุมคณะกรรมการคณะ ) (หลักฐาน 26:งบประมาณรายได้ ประจำปี พ.ศ. 2550 (หลักฐาน 27 : แผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2550)

ผลการประเมินตนเอง (อิงเกณฑ์ สกอ.) 

 ผลการประเมินตนเองปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตนเองครั้งนี้ :  3   เป้าหมายปีต่อไป :  3

TOWS Analysis : ภาวะคุกคาม  การปรับเปลี่ยนระเบียบการเบิกจ่ายอย่างเป็นระยะ
  โอกาส ทุกคณะในมหาวิทยาลัยใช้โปรแกรมฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ทางด้านการเงิน ช่วยให้สามารถตรวจสอบระบบบัญชีได้ง่าย และใช้เวลาน้อย มีประสิทธิภาพ 
  จุดอ่อน ในช่วงแรกของการใช้รหัส GFMIS ทั้งการเงินและพัสดุ ยังพบความผิดพลาดอยู่บ้าง ทำให้เกิดความล่าช้าของระบบเบิกจ่าย
  จุดแข็ง งานการเงินกับงานนโยบายและแผน ประสานงานกันดีในการติดตามผล สัมฤทธิ์ของการใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการประจำปี และรายงานผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรมประจำเดือน  นำเสนอที่ประชุมกรรมการประจำคณะ

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :

  1. ประชุมจัดสรรงบประมาณประจำปี โดยใช้ข้อมูลทั้งทางด้านการเงิน  และประสิทธิผลของงานมาใช้ประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการ/กิจกรรมในปีถัดไป
  2. นำเสนอผลของวิจัยสถาบัน เรื่อง ค่าใช้จ่ายต่อหัวของการผลิตบัณฑิตสาขาสหเวชศาสตร์ในทุกสาขา  เพื่อนำผลมาใช้ในการวางแผนการจัดสรรงบประมาณในแต่ละหมวดอย่างเหมาะสม

ผลการประเมินตรวจสอบ  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  ระดับ 7   
การบรรลุเป้าหมาย  บรรลุ:  ไม่บรรลุ:                   

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 3 ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : ?   เป้าหมายปีต่อไป : ?

ข้อสังเกต/เสนอแนะ :  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็น)

หมายเลขบันทึก: 135140เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท