ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 7 ตัวบ่งชี้ที่ 7.6 : คณะสหเวชฯ มน.


ตัวบ่งชี้ที่ 7.6 ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา

เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

  1. มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างโปร่งใส ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ เอกสารสิ่งพิมพ์ เว็บไซด์ นิทรรศการ
  2. มีระบบการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางที่เปิดเผยและเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วอย่างน้อย 3 ช่องทาง
  3. มีการนำความคิดเห็นของประชาชนไปประกอบการบริหารงาน โดยมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและมีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม
  4. มีที่ปรึกษาที่มาจากภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องและชัดเจน เช่น จัดประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  5. มีกระบวนการหรือกลไกการติดตามตรวจสอบโดยภาคประชาชน

เกณฑ์การประเมิน  :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 3 ข้อแรก  มีการดำเนินการ 3-4 ข้อแรก  มีการดำเนินการครบทุกข้อ 

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  คณบดี เบอร์โทรภายใน: 6257  E-mail :  [email protected] 
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: อนุวัทย์ เรืองจันทร์   เบอร์โทรภายใน :  6225  E-mail :  

[email protected]  

 
ค่าเป้าหมาย

: ระดับ 3 

ผลการดำเนินงาน

  1. คณะสหเวชศาสตร์ มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของคณะแก่ประชาชนอย่างโปร่งใส ผ่านเว็บไซท์ของคณะ (หลักฐาน1:Web คณะ ) เป็นประจำ เช่น ข่าวประชาสัมพันธ์รับสมัครงาน  การรับนิสิต  ประชุมวิชาการ ฯลฯ  มีรายงานข่าวพร้อมภาพโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  นอกจากนี้ยังมีบทความด้านสุขภาพออกอากาศวิทยุสหเวชฯเพื่อชุมชน เป็นประจำ และมีการรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาผ่าน Blog ของ Gotoknow (หลักฐาน2 : AHS-SAR-50
  2. คณะฯ มีระบบสื่อสารแบบสองทาง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามของประชาชนทั่วไปกับบุคลากรของคณะที่หน้างานได้  จากระบบ Blog ของบุคลกรใน AHS Planet  (หลักฐาน3 : AHS Planet) นอกจากนี้ยังมีการใช้แบบสอบถามความต้องการการให้บริการด้านสุขภาพในโครงการที่เกี่ยวกับการให้บริการตรวจสุขภาพกับประชาชนต่างๆ (หลักฐาน 4)  การสอบถามความเห็นในการเปิดหลักสูตรปริญญาโท (หลักฐาน 5)  เป็นต้น                          
  3. คณะฯ มีระบบการติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
    ในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเป็นประจำทุกโครงการ  เพื่อนำความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ไปบริหารงาน โดยกำหนดให้ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  นำไปปรับปรุงและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม  (หลักฐาน 6 : รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ประจำปีการศึกษา 2549)
     

ผลการประเมินตนเอง (อิงเกณฑ์ สกอ.) 

 ผลการประเมินตนเองปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตนเองครั้งนี้ :  2   เป้าหมายปีต่อไป :  3

TOWS Analysis : ภาวะคุกคาม  การมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านจัดสรรงบประมาณ  ทั้งที่เป็นครุภัณฑ์  ที่ดิน  สิ่งก่อสร้าง  และอัตรากำลัง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ระหว่างมหาวิทยาลัย กับ คณะวิชา ยังไม่เชื่อมโยงกันดี เพราะมีลักษณะรวมศูนย์
  โอกาส การมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านบริหารงานวิจัย ประกันคุณภาพการศึกษา และกิจการนิสิตระหว่างมหาวิทยาลัย กับ คณะวิชา  เป็นไปด้วยดีและมีความต่อเนื่อง
  จุดอ่อน คณะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารมาก อาจทำให้เกิดความห่างเหินจากการปฏิสัมพันธ์กันจริงๆ ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระมัดระวัง
  จุดแข็ง คณะฯ ส่งเสริมและกระตุ้นให้บุคลากรของคณะทุกระดับพัฒนาทักษะและความรู้ความเข้าใจวิธีการทํางานอย่างงมีส่วนร่วม และเทคนิคการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยใช้เครื่องมือของการจัดการความรู้

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :

- ส่งเสริม  สนับสนุน ผู้บริหารทุกระดับของคณะ  ให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจในการดําเนินงานของคณะ และการรายงานผลการปฏิบัติงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและประชาชนทั่วไป  อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  ด้วยระบบการสื่อสารแบบสองทาง  โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย  เช่น  MIS   Blog  E-office ตลอดจนการสื่อสารทางตรงหน้างาน เช่น พบปะ พูดคุย แบบไม่เป็นทางการ


ผลการประเมินตรวจสอบ  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  :ระดับ  3    
การบรรลุเป้าหมาย    บรรลุ:  ไม่บรรลุ:                      

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : ?   เป้าหมายปีต่อไป : ?

ข้อสังเกต/เสนอแนะ :  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็น)

หมายเลขบันทึก: 135134เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท