การประชุม KM ที่ฟิลิปปินส์วันที่สอง


แต่เราพูดเล่นๆ เนื่องจากใช้ Concept เป็นวงกลมซ้อนกัน เหมือนกับชั้นของขนมไหว้พระจันทร์ เราก็เลยเรียกว่า Mooncake Model

วันที่สองมีการจัดห้องใหม่ เริ่มไม่เป็นทางการมากขึ้น คือแทนที่จะจัดโต๊ะเป็นตัวยูเหมือนวันแรก ก็แบ่งผู้เข้าร่วมประชุมออกเป็นสองกลุ่ม แล้วเริ่มต้นด้วยการระดมสมองว่าอะไรคือผลลัพธ์ที่ต้องการของการทำ KM การอภิปรายออกมาค่อนข้างจะแตกต่างหลากหลาย บางคนก็มองเป้าหมายในเรื่องที่ใกล้ๆ ตัว เช่น ทำ KM เพราะต้องการ Quality, Productivity, Profit ต้องการสร้าง Competitiveness, Innovation หรือบางคนก็เสนอเรื่องกว้างๆ เช่น เพื่อสร้างสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อะไรทำนองนี้

  <p style="margin: 0cm -7.7pt 0pt 0cm; text-indent: 45pt; line-height: 150%" class="MsoNormal">หลังจากนั้น Facilitator ได้นำเสนอ KM Framework ของประเทศต่างๆ อาทิเช่น ของอเมริกา - APQC (รูปที่ 1) ของยุโรป (รูปที่ 2) และของออสเตรเลีย (รูปที่ 3) บ่ายนี้ที่ประชุมต้องมาช่วยกันคิดว่ารูปร่างหน้าตา KM Framework ของ APO จะออกมาเป็นอย่างไร หลังจากทานอาหารเสร็จผมบอก Facilitator ว่า ที่ผ่านมาเป็น KM Framework ที่ไม่ใช่ของประเทศในเอเชีย ผมจะขอนำเสนอ Model ที่ใช้ในเมืองไทยเป็นข้อมูลประกอบ จะ OK ไหม ซึ่งในที่สุดผมก็ได้นำเสนอทั้ง Model ปลาทู Model สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา และ Infinity Model ซึ่งที่ประชุมก็ได้ให้ความสนใจใน Infinity Model ค่อนข้างมาก </p><p style="margin: 0cm -7.7pt 0pt 0cm; text-indent: 45pt; line-height: 150%" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm -7.7pt 0pt 0cm; text-indent: 45pt; line-height: 150%" class="MsoNormal"></p><p> </p><p> </p><p></p><p>       หลังจากผมนำเสนอจบ (เพื่อไม่ให้น้อยหน้า) Prof. Chen ได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ KM ใน SMEs ที่ไต้หวัน หลังจากนั้นก็ถึงเวลาที่พวกเราต้องช่วยกันคิดว่า แล้ว APO จะใช้ Model อะไร Facilitator ปล่อยให้สองกลุ่มคิดแยกกัน แล้วมานำเสนอเพื่อรวมกันเป็น Model เดียว เราได้ Model ที่เรียกว่า Mooncake Model หรือโมเดล ขนมไหว้พระจันทร์  เนื่องจากคืนวันก่อนหน้านั้นเป็นวันไหว้พระจันทร์พอดี และผู้ที่มาร่วมประชุมจากไต้หวันและเวียตนามก็นำขนมไหว้พระจันทร์มาแจกทุกๆ คนในที่ประชุมด้วย</p>  <p style="margin: 0cm -7.7pt 0pt 0cm; text-indent: 27pt; line-height: 150%" class="MsoNormal">ใน Mooncake Model ที่เราเอาแนวคิดของทั้งสองกลุ่มมารวมกันนั้น เราได้แบ่งปัจจัยสำคัญออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกถือว่าเป็นส่วนที่เป็น  “Drivers” อันประกอบไปด้วย Vision, Mission และ Leadership ส่วนที่สองเป็น “Enablers” ประกอบด้วย People, Technology, Process, Systems, Structure and Culture ส่วนที่ 3 เป็น “KM Process” ซึ่งหมายถึงการ Identify, Acquire, Share, Create Knowledge, etc. ส่วนสุดท้ายเป็น “Outcomes” ซึ่งก็คือสิ่งที่มุ่งหวังที่ได้ระดมสมองไว้แล้วตั้งแต่ตอนเช้า</p>  <p style="margin: 0cm -7.7pt 0pt 0cm; text-indent: 27pt; line-height: 150%" class="MsoNormal">เมื่อเอาสี่ส่วนนี้มารวมกันก็ได้เป็น “DEPO” Model (ใช้อักษรตัวแรกของแต่ละส่วน) แต่เราพูดเล่นๆ เนื่องจากใช้ Concept เป็นวงกลมซ้อนกัน เหมือนกับชั้นของขนมไหว้พระจันทร์ เราก็เลยเรียกว่า Mooncake Model ถึงตอนนั้นผมเกิด ปิ๊ง อะไรบางอย่างเกี่ยวกับ DEPO Model ผมถามที่ประชุมว่า จะดีกว่าไหม ถ้าเราใช้อักษร A แทนอักษรสองตัวแรกซึ่งก็คือ D กับ E เพราะจะทำให้ชื่อ Model กลายเป็น “APO” Model ซึ่งน่าจะดีกว่าคำว่า “DEPO” มีบางท่านเสนอว่าน่าจะนำสองวงใน (Drivers & Enablers) มารวมกัน แล้วใช้คำว่า “Accelerators” แทน ซึ่งทุกคนก็เห็นพ้องต้องกัน วันนั้นจบการประชุมกันอย่างมีความสุขกันทั่วหน้า เพราะเห็นว่างานที่ยากที่สุดได้คลี่คลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้างแล้ว</p><p>         “APO KM Model” ฉบับร่างมีรูปร่างหน้าตาดังนี้ครับ ยังคงต้องปรับและมีคำอธิบายเพิ่มเติ่มอีก</p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 134295เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 06:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
จะติดตามตอนต่อไปค่ะ   อาจารย์อย่าลืมดูแลสุขภาพนะคะ    
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท