บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

งานประเพณี "อุ้มพระดำน้ำ"( ๑ )


งานประเพณี "อุ้มพระดำน้ำ" ของจังหวัดเพชรบูรณ์ คนทั่วไปต่างมองว่า เป็นประเพณีที่แปลกมีคุณค่า ทางวัฒนธรรม ที่สำคัญมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แต่สำหรับชาวเพชรบูรณ์นอกจากจะมีมุมมองเช่นเดียวกันแล้ว ยังแฝงไปด้วยความเชื่อที่เปี่ยมล้นเต็มหัวใจด้วยว่า "เป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหลังประกอบพิธีกรรม ดังกล่าวแล้ว จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ และยังปราศจาก โรคระบาดอีกด้วย" ซึ่งความเชื่อดังกล่าวสืบเนื่องมาจากตำนานที่ถูกเล่าขานกันมานาน

งานประเพณี "อุ้มพระดำน้ำ"( ๑ )

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">วันนี้ขอพักการแสดงในชุดต่างๆไว้ก่อนนะครับ เพราะช่วงนี้กำลังจะถึงเทศกาล หนึ่งเดียวในโลก ของจังหวัดเพชรบูรณ์ นั่นก็คือ "งานประเพณีณีอุ้มพระดำน้ำ" ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 14 ตุลาคม 2550 ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมงานที่ชาวเพชรบูรณ์ต่างภูมิใจในงานประเพณีที่ถือว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมืองของชาวเพชรบูรณ์ จะนำท่านไปรู้จักที่มาของงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ</p><div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">งานประเพณี "อุ้มพระดำน้ำ" ของจังหวัดเพชรบูรณ์ คนทั่วไปต่างมองว่า เป็นประเพณีที่แปลกมีคุณค่า ทางวัฒนธรรม ที่สำคัญมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แต่สำหรับชาวเพชรบูรณ์นอกจากจะมีมุมมองเช่นเดียวกันแล้ว ยังแฝงไปด้วยความเชื่อที่เปี่ยมล้นเต็มหัวใจด้วยว่า “เป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งหลังประกอบพิธีกรรม ดังกล่าวแล้ว จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ และยังปราศจาก โรคระบาดอีกด้วย” ซึ่งความเชื่อดังกล่าวสืบเนื่องมาจากตำนานที่ถูกเล่าขานกันมานาน</p><div style="text-align: center"></div>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ก่อกำเนิดพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ขึ้น เมื่อ 400 ปีที่แล้ว โดยมีการเล่าสืบทอดกันต่อ ๆ มา ว่า เดิมมีชาวประมงกลุ่มหนึ่งมีอาชีพจับปลาในแม่น้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่งชาวประมงกลุ่มนี้ ได้ออก หาปลาตามปกติเช่นทุกวัน แต่จู่ๆเกิดเหตุการณ์ ประหลาดน่าอัศจรรย์ใจขึ้น ตั้งแต่เช้ายันบ่ายไม่มีใครผู้ใดเลย ที่สามารถจับปลาได้แม้แต่ตัวเดียว จนสร้างความงุนงงให้กับชาวประมงกลุ่มนี้มาก ทำให้ต่างก็ต้องไปนั่งปรับทุกข์ซึ่งกัน และกัน  แต่ทันใดนั้นก็ได้เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้น เนื่องจากกระแสน้ำในบริเวณ "วังมะขามแฟบ" ที่กำลังไหลเชี่ยวกราก เริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่  จากนั้นก็ค่อย ๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมา ทีละน้อยจนแลดูคล้ายน้ำเดือด และจนกระทั่งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ค่อย ๆ ดูดเอาองค์พระพุทธรูป องค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำ และมีลักษณะอาการคล้ายดำผุดดำ ว่ายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ชาวประมง กลุ่มนี้ต้องลงไปอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าว  ขึ้นมาประดิษฐานไว้บนบกเพื่อกราบไหว้สักการะบูชา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="center"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     แต่ในปีถัดมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบตรงกับวันประเพณีสารทไทย  พระพุทธรูปดังกล่าวได้หายไปจากวัดไตรภูมิ จนกระทั่งชาวบ้าน ต้องช่วยกันระดมหากันจ้าระหวั่น จนในที่สุดไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว กลางแม่น้ำป่าสักบริเวณวังมะขามแฟบ สถานที่เดิมที่ชาวประมงพบพระพุทธรูปองค์นี้ในครั้งแรก  กำลังอยู่ในอาการดำผุดดำว่ายอยู่ จึงได้ร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิเป็นครั้งที่สอง พร้อมร่วมกันถวายนามว่า "พระพุทธมหาธรรมราชา" </p>  <div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ต่อจากนั้นเรื่อยมา เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ในยุคสมัยนั้น จะต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ไปประกอบพิธี "อุ้มพระดำน้ำ" ที่บริเวณวังมะขามแฟบ หน้าวัดโบสถ์ชนะมารเป็นประจำทุกปี   “เพราะต่างมีความเชื่อว่า หลังประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว จะทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนชาวเมืองเพชรบูรณ์ ต่างอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหาร มีความอุดมสมบูรณ ์ และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ผลเป็นอย่างดี แต่หากปีใดมีการละเลย นอกจากจะทำให้เกิดความแห้งแล้งแล้ว ยังมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีกด้วย” </p>  <div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เรื่องราวจะเป็นอย่างไร อย่าลืมติดตามงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำตอนต่อไปนะครับว่าเป็นอย่างไร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p><div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p>



ความเห็น (29)

สวัสดีค่ะ

 อ้าว เห็นยอดผู้ชมเข้ามาตั้งยี่สิบกว่าคนแล้ว หลบอยู่ตรงไหนคะนี่ สงสัยต้องนั่งทำสมาธิหน้าจอคนเดียวซะแล้ว วันนี้เปลี่ยนเรื่อง แฟนๆ เลยไม่กล้าเข้ามาในบล็อก ไม่เป็นไร เดี๋ยวจะนั่งดูพิธีกรรมเองค่ะ( คนเดียว )

  • สวัสดีค่ะ อ.บัวชูฝัก
  • เคยได้ยินประเพณีนี้มานานแล้วเหมือนกันค่ะ แต่ยังไม่เคยไปเที่ยวช่วงนี้ หวังว่า คงได้ไปเที่ยวดูซักครั้ง
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่บัวชูฝัก

  • ขอบคุณค่ะที่เข้าไปทักทายกันเป็นคนแรก หายเหนื่อยแล้วค่ะ
  • เรื่องราวที่พี่เอามาลงในบล็อก ล้วนมีคุณค่าน่ารักษาไว้ทั้งสิ้น
  • คนไทยกับสายน้ำ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมา ต่างคนต่างพึ่งพาและเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน
  • ขอบคุณเรื่องดี ๆ อีกครั้งค่ะ  ยังไม่เคยไปเพชรบูร์เลย  ไปแต่หล่มสัก เขาค้อ บึงสามพัน ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณบัวชูฝัก

 ตามมาดู ความอลังการ..งานสร้างค่ะ ..พอตามมาดูแล้วก็อยากเห็นของจริงค่ะ..

  • เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมานาน  น่าสนใจมากค่ะ
  • ปาติหารย์บางอย่างวิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถอธิบายได้
  • จำได้ว่าเมื่อปีที่แล้วเคยติดตามดูประเพณี อุ้มพระดำน้ำ  ในโทรทัศน์  
  • ปีนี้จะติดตามดูอีกค่ะ  ขอบคุณนะคะที่เล่าสู่กันฟัง แล้วจะมาตีตั๋วดูตอนต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ

ประเพณ๊นี้ เคยได้ยิน แต่ไม่ทราบประวัติ เพิ่งทราบนี่ละค่ะ ขอบคุณที่เล่าค่ะ

จะติดตามค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องบัวชูฝัก

  • เข้ามาชื่นชมประเพณีอันเลื่องลือ...หนึ่งเดียวในโลก...
  • ดีมากค่ะที่นำ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ มาประชาสัมพันธ์  เดี๋ยวท่าน นายกวิศัลย์  โฆษิตานนท์ ทราบว่ามาแอบประชาสัมพันธ์อยู่แถวนี้ จะมาตามไปช่วยงานเหมือนทุกปีนะค่ะ 
  • อยากเห็น"รำนครเดิด" บนเวทีน้ำ อีกครั้งจังเลย..ทำไงดีน๊า.... 

 

สวัสดีค่ะอาจารย์บัวชูฝัก
โห...หนิงต้องขอโทษด้วยนะคะ  ผิดครั้งนี้ยากจะอภัยให้ตัวเอง

หนิงเจออาจารย์ท่านนึง  หน้าตาไม่เหมือนคนในรูป  อิอิ  ไม่คุ้น  ป้ายชื่อท่านก็บอกว่า  เศกสรร  แต่ไม่ทราบว่าเป็นอจารย์ บัวชูฝัก   เฮ้อ...เรียกว่า  มีตาแต่หามีแววไม่ 

หนิงเคยอ่าน blog ของอาจารย์ บัวชูฝัก นะคะ  ชอบที่มีอาจารย์นาฏศิลป์มาเขียน เรื่องเล่า  และจะบอกว่า  ตอนเด็กๆหนิงก็เป็นนางรำนะคะ  (ตัวพระ)

เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปด้วยเลยอ่ะค่ะ  ทั้งอาจารย์ บัวชูฝัก และอาจารย์ หญ้าบัว เลยอ่ะค่ะ

มาจำได้ก็ตอนเย็นอ่ะค่ะ

สวัสดีครับ

เข้ามาอ่านบันทึกนี้ตั้งแต่เมื่อคืนแล้วนะครับ  แต่พอดีมีปัญหาเล็กน้อยจึงยังไม่ได้ทิ้งรอยใดไว้

คนไทยผูกพันกับสายน้ำมาชั่วชีวิต  สายน้ำหลายสาย  ประหนึ่งสายธารแห่งชีวิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแต่ดึกดำบรรพ์ ...

ดังกล่าวนี้จึงมักมากมีประเพณีที่เกี่ยวกับท้องน้ำอยู่อย่างบ่อยครั้ง.

ผมเองก็เป็นลูก "เขื่อน" ...  ชีวิตเติบโตมาจากสายน้ำอย่างไม่แปลกแยก  อย่างน้อยสายน้ำก็สอนให้ดำรงอยู่เพื่อคนอื่นบ้าง...

.....

การอุ้มพระดำน้ำ .. ต้องเป็นเจ้าเมืองท่านเดียวเลยหรือไม่ครับ ...

สวัสดีค่ะ

เคยเห็นประเพณีนี้ใน TV ค่ะ แต่เพิ่งทราบประวัติความเป็นมาค่ะ น่าสนใจนะค่ะ แต่ตอนนี้อากาศก็เริ่มหนาวแล้วท่านพ่อเมืองพิษณุโลกจะหนาวมั้ยค่ะ....^___^

มีรูปคนหล่อๆ กำลังเซ็นชื่อลงทะเบียนที่นี่ค่ะ เป็นภาพที่น้องโก้ถ่ายในวันงาน KM ภูมิภาคค่ะ สวยมากขอบอก...อิอิอิ

สวัสดีค่ะพี่

ราณีเข้าบันทึกนี้เมื่อคืนค่ะ  แต่เนื่องด้วยเน็ตหลุดเลยไม่ได้ตอบ ตามมาตอนเช้าอีกค่ะ

ประเพณีนี้เคยอ่านเจอในหนังสือ และดูในสารคดี และก็ข่าวด้วยค่ะ เห็นหลายครั้งมาก เขาจัดกันได้อย่างยิ่งใหญ่จริง ๆ ค่ะ  เคยไปเขาค้อมาค่ะ แต่ไม่เคยไปหน้าหนาวเลย ขอบคุณมากค่ะ ที่นำประเพณีดังกล่าวมาเผยแพร่ เพราะสายน้ำประดุจน้ำมนต์ ที่หล่อหลอมวัฒนธรรม ประเพณี ธรรมะเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ขอบคุณนะค่ะ พี่ชายที่แสนดี

  • เคยดูใน TV
  • ท่าทางพระท่านจะหนาว
  • ฮ่าๆๆ
  • ดีใจที่ได้คุยกับอาจารย์ในห้อง
  • อย่าไปบอกใครนะว่าเรามีอะไรกัน
  • อิอิอิๆๆ
ประเพณีเคยได้ยินมาเหมือนกัน แต่ไม่เคยทราบประวัติมาก่อนขอบคุณมากที่เสนอสิ่งดี ๆหวังว่าคงจะได้รับความรู้จากอาจารย์อีกน่ะค่ะ
  • สวัสดีครับคุณหมอตันติราพันธ์P
  • ช่วงนี้ที่เปลี่ยนเรื่องเพราะกลัวจะประชาสัมพันธ์งานไม่ทันครับ
  • งานเริ่ม 10 - 14 ตุลาคม 2550 ครับ ปีนี้เริ่มช้าเพราะมีเดือน 8 สองหนครับ
  • ขอบคุณคุณหมอครับที่เป็นแฟนพันธ์แท้ครับ
  • สวัสดีครับป้าแดงP
  • หากมีเวลก็ชวนพ่อบ้านมาพักผ่อนเที่ยวงานเทศกาลอาหารอร่อย และประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ที่เพชรบูรณ์นะครับ แล้วจะทราบว่าคนเพชรบูรณ์เขามีวิถีชีวิตกันอย่างไร แสนสบายแค่ไหน อะครับ
  • ขอบคุณป้าแดงครับ
  • สวัสดีครับคุณครูอ๊อดP
  • เพชรบูรณ์ก็มีเรื่องราวกับสายน้ำมากอยู่เหมือนกัน เนื่องจากเป็นต้นน้ำของลำน้ำป่าสัก นะครับ
  • เพชรบูรณ์ เป็นเมืองน่าอยู่สบาย เมืองสงบๆ ไม่ค่อยมีเรื่องราว อะไรมาก นอกจากการท่องเที่ยว
  • ขอแนะนำการท่องเที่ยวต่อก็แล้วกัน เริ่มที่เพชรบูรณ์เป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่อยู่มาพร้อมกรุงสุโขทัย มีอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อุทยานน้ำหนาว มะขามหวานหล่มเก่า-หล่มสัก ขนมจีนหล่มเก่า เขาค้อเมืองในหมอก สวยงามตลอดฤดูกาล ฯลฯ
  • ขอบคุณครูอ๊อดครับ
  • สวัสดีครับคุณ
  • หากมีเวลาเชิญชวนมาเที่ยวงานนะครับ ช่วงนี้อากาศกำลังเริ่มเย็นสบาย
  • เที่ยวชมงานแล้วสามารถแวะสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆของเพชรบูรณ์ได้ต่อเลยนะครับ
  • ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ เขาค้อกำลังสวยมากๆครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณครูรักษ์นะP
  • เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุแล้วครับ
  • เคยถ่ายทอดทางช่อง 11 ครับผม
  • ความสำคัญจะอยู่ที่ช่วงอัญเชิญทางน้ำครับ และความสนุกอยู่ที่แสงเสียง ซึ่งจะมีแสดงทุกคืนครับ
  • ขอบคุณครูรักษ์นะครับ
    • สวัสดีครับคุณsasinanda P
    • ประเพณีนี้สืบทอดกันมานานแล้วครับ แต่เริ่มมีชื่อเสียง ช่วงปี 2541 - 42 เพราะเป็นช่วงที่มีการนำตำนานมาแสดงเป็นตำนานแสงเสียง กำกับการแสดงโดยทีมงานอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
    • ปี 2543 แสงเสียงไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากให้ทีมงานมืออาชีพเข้ามาทำ....ทำให้ตำนานบิดเบือนความเป็นจริงไปมากครับ
    • ปี 2544-ปัจจุบัน ใช้ทีมงานผู้กำกับทีมเดิมตั้งแต่ปี 2541
    • ขอบคุณเข้าที่มาเยี่ยมชมครับ
  • สวัสดีครับครูหญ้าบัวP
  • เป็นส่วนหนึ่งของชาวเพชรบูรณ์ จึงต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ นะครับ
  • ระบำนครเดิด เป็นตำนานการรำของโรงเรียนบ้านระวิง เอาไว้มีเวลาจะฝึกเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินสง่าบ้าง จะได้เห็นแน่นอนครับ
  • ขอบคุณครูหญ้าบัวครับ
  • สวัสดีครับคุณหนิงP
  • ไม่เป็นไรหรอกครับคุณหนิง....คนในงานเยอะมากๆ ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร...อีกอย่างทรงผมเปลี่ยนไปหน้าตาเลยเปลี่นไปด้วยครับ......แถมป้ายชื่อก็ใช้ชื่อจริง...ถ้าใช้ชื่อที่เขียนบันทึก รับรองว่าทุกคนต้องจำได้ครับ
  • คุณหนิงเคยรำเป็นตัวพระหรือครับ ดีจังเลย ตัวพระต้องเป็นคนสูงสง่า อย่างคุณหนิงนี้แหละครับ แปลว่าคุณครูเขาก็เลือกถูกต้องแล้วครับ
  • โอกาสหน้าคงได้ถ่ายภาพด้วยกันนะครับ...ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับอ.แผ่นดินP
  • คนไทยกับสายน้ำแยกกันไม่ออกหรอกครับ เพราะน้ำเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของเรา.....จึงเกิดตำนาน..เรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำในแต่ละสาย
  • การอุ้มพระดำน้ำ ต้องเป็นเจ้าเมืองเท่านั้นครับ ผู้ว่าฯในภาพคือท่านดิเรก ถึงฝัง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ครับ
  • สำหรับภาพเหตุการณ์ในปีนี้จะนำมาเล่าในบันทึกต่อไปนะครับ
  • ขอบคุณอ.แผ่นดินครับ
  • สวัสดีครับอ.แป๋วP
  • ตอนนี้เริ่มหนาวแล้ว ท่านผู้ว่าไม่ได้หนาวคนเดียวหรอกครับ ยังมี เวียง วัง คลัง นา ที่หัวหน้าหน่วยงานต่างๆในจังหวัดเปลี่ยนเวียนกันมารับหน้าที่
  • ตากล้องไวมากๆ คนถูกถ่ายภาพไม่รู้ตัวเลยครับ....มาตกใจตอนเห็นภาพแล้ว ครับ
  • ขอบคุณอ.แป๋วครับ
  • สวัสดีครับอ.ราณีP
  • จริงครับสายน้ำประดุจน้ำมนต์ ช่วยหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของคนไทยมายาวนาน...เพชรบูรณ์มีลำน้ำป่าสัก...พิษณุโลกมีแม่น้ำน่าน..และหลายจังหวัดก็เกี่ยวข้องกับแม่น้ำเจ้าพระยา และอีกหลายจังหวัดก็เกี่ยวข้องกับสายน้ำเช่นกัน
  • ขอบคุณอ.ราณีครับ
  • สวัสดีครับอ.ขจิตP
  • พระท่านคงไม่หนาว...แต่ท่านผู้ว่าฯ..และ เวียง วัง คลัง นา น่าจะหนาวสะท้าน เพราะค่อนข้างใช้เวลานาน ในการดำน้ำให้ครบทั้งสี่ทิศครับ
  • ดีใจที่ได้คุยกับอาจารย์เช่นกันครับ
  • เอ๊....จะบอกดีไหมเนี่ย...ปานนี้เขาคงรู้กันทั้งเมืองแล้ว...ไม่เชื่อก็ถามพ่อครูบาฯ...พี่อึ่ง...ครูหญ้าบัว ทุกคนล้วนแล้วแต่ช่วยกันปิด....ไหนกลายเป็นอ.ขจิตเปิดเสียเอง อิอิ
  • ขอบคุณอ.ขจิตครับ
  • สวัสดีครับคุณนารีP
  • หล่อกันคนละแบบ มังครับ อ.ขจิตหล่อแบบน่ารักนะครับ.....
  • งานนี้ตั้งใจที่จะเจอป้าแดงมากๆครับ เจอตัวเลยต้องรีบถ่ายภาพด้วยกัน....เพราะเป็นคนอายกล้องไม่ค่อยชอบถ่ายภาพครับ
  • ขอบคุณคุณนารีครับ
  • สวัสดีครับคุณnancy P
  • ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ
  • จะพยายามนำสิ่งดีๆมาเสนอต่อไปครับ
บุญมา(รักนาฎศิลป์ไทย)

สวัสดีค๊ะอ.บัวชูผัก

ยอดเยี่ยมอลังการมาก และต้องกราบขอบพระคุณมากกับ ข้อมูลต่างๆที่ทำให้หลายท่านที่ไม่เคยรู้ หรือไม่ได้เรียน ได้อ่านและรับรู้ถึงประวัติความเป็นมา ดิฉันคนนึ่งในจำนวนนั้นที่ไม่ทราบเลยว่ามีจริงๆหรือ กราบขอบพระคุณจริงๆค๊ะในความรู้ใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท