GotoKnow

"ปลาหมูอารีย์" สัตว์น้ำคุ้มครอง

นาย ไพโรจน์ ทรัพย์ประเสริฐ
เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2549 20:40 น. ()
แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2555 21:17 น. ()
"สัตว์น้ำคุ้มครอง"ล่าสุดพบว่า มีเหลืออยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่แม่น้ำว้า อ.แม่จริม จ.น่านเท่านั้น!!!
ปลาหมูอารีย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Botia sidlhimunki Kleusewitz เป็นปลาในสกุล ปลาหมูและปลาค้อ (Cebitidac) รูปร่างค่อนข้างยาว (Oblong) แบนข้าง (Compress) เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก
เมื่อโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 10 เซ็นติเมตร ส่วนหลังของลำตัวจะนูนโค้งลงมาทางด้านข้างลำตัว ส่วนท้องบางตัวมีส่วนโค้งด้วย ปากค่อนข้างเรียว มีหนวด 3 คู่ เป็น Roytal barbel 2 คู่ อีก 1 คู่อยู่ที่มุมปาก กระดูกใต้ตาเป็น Spine ที่โค้งพับเก็บใต้ร่องตาและเมื่อกางออก Spine นี้จะยื่นไปอยู่ข้างหน้าของลูกตาพบในประเทศไทยครั้งแรก โดยนายอารีย์ สิทธิมังค์ เมื่อปี พ.ศ. 2502. Dr.Von W.Klausewitz ได้ศึกษาถึงลักษณะทางด้านอนุกรมวิธาน พบว่าเป็นปลาหมูชนิดใหม่ เพราะมีลักษณะของสีสันและลักษณะอื่นๆซึ่งแตกต่างจากปลาในสกุลเดียวกัน ดังนั้นจึงตั้งชื่อ...เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบปลาหมูอารีย์ เป็น B.sidlhimunkiการกินอาหารเป็นปลาประเภทกินเนื้อและแมลงต่างๆ มีการพบปลาชนิดนี้มากที่บริเวณแควน้อย จ.กาญจนบุรี และ จ.ราชบุรี ในต่างประเทศพบที่แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงบริเวณเมืองปากเซ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
เนื่องจากปลาชนิดนี้มีลักษณะสีสันที่สวยงาม จึงถูกชาวบ้านจับไปจำหน่ายและส่งออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์ ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อ "สัตว์น้ำคุ้มครอง"ล่าสุดพบว่า มีเหลืออยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่แม่น้ำว้า อ.แม่จริม จ.น่านเท่านั้น!!!สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ได้รับมอบหมายให้อนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่หายาก จึงลงมือศึกษาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลาหมูอารีย์ เพราะราคาจำหน่ายปลาหมูอารีย์ในตลาดค่อนข้างสูงถึงตัวละ 10-30 บาท หากเพาะเลี้ยงดีมีอนาคต เป็นปลาสวยงามทางเศรษฐกิจได้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่าน เป็นผู้ดำเนินการเพาะพันธุ์ โดยการผสมเทียมจนประสบความสำเร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2542 ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ ผลปรากฏว่าได้ลูกปลาหมูอารีย์ถึง 4,000-5,000 ตัว และในอนาคตเชื่อว่าจะสามารถขยายพันธุ์ ให้ได้ปลาหมูอารีย์ในปริมาณที่มากขึ้นในปีต่อไป.

    แหล่งที่มา      ไชยรัตน์ ส้มฉุน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย