การสร้างทีมงานที่ดีขององค์กร


การร่วมมือกันทำงาน

การสร้างทีมงานที่ดีในองค์กรของเรา

  

มีคนมากมายก่ายกอง ที่นิยมชมชอบทำงานแบบตัวคนเดียว  โดยมีแนวคิดที่ว่าทำงานคนเดียวดีกว่าทำงานหลายคน  คิดคนเดียวดีกว่าให้คิดกันหลายฯคน  เสียเวลา  นั่นเป็นเพราะคนที่คิดเช่นนั้นเอง

เป็นคนที่ไม่ยอมเปิดใจกว้างที่จะให้คนทำงานร่วมกัน และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือความร่วมมือจากผู้อื่น  จึงทำให้คนเหล่านั้นเสียโอกาสที่ดีฯ  ในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย

    

         โดยปรกติคนเราทุกคนมีเวลาเท่ากันในหนึ่งวันคือ วันละ 24 ชั่วโมง แต่ถ้านับชั่วโมงการทำงานที่แท้จริงแล้ว มีประมาณ 6-12 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะถูกจำกัดด้วยระเบียบกฏเกณฑ์ทางสังคม  แต่มีบุคคลอีกจำพวกหนึ่งที่พยายามคิดให้มีเวลาในการทำงานมากกว่าคนอื่นฯ  ซึ่งแนวคิดนี้จะทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพน้อยกว่า การร่วมมือกันทำงาน  เนื่องจากการทำงานบางอย่างมีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น หรือจะต้องมีบุคคลอื่นเข้ามาทำงานร่วมกัน  สร้างสรรค์งาน  ก็จะได้ผลงานมากกว่าคนฯเดียว ทำงานคนเดียวอย่างชัดเจน   เพราะฉะนั้นการทำงานที่มากกว่า 1 คนขึ้นไป  จึงจำเป็นต้องมีข้อตกลงร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน  มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  กล้าคิด  กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง  เพื่อผลสำเร็จร่วมกัน    ผลงานที่ปรากฏก็จะได้เป็นผลงานของทุกคน  ที่มีความพึงพอใจร่วมกัน

    

       ดังนั้นการทำงานเป็นทีมจึงเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่า ไม่ว่าภารกิจจะยิ่งใหญ่แค่ไหน ปานใด ไม่มีความสำเร็จอันใดที่จะไกลเกินกว่าจะไขว่คว้า   ฉะนั้นการทำงานเป็นทีม  คือสุดยอดของการทำงานที่แท้จริง

    

        ปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่าโลกใบนี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วแบบไม่ได้ตั้งตัว ในแต่ละวันคนเราจะมีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน  มีการแข่งขันกัน ว่าใครจะมีพื้นที่กว้างไกล และยิ่งใหญ่กว่ากัน บางครั้งคำว่า หนึ่งสมอง  สองมือ  อาจจะใช้กับโลกใบนี้เวลานี้ไม่ได้ผลอีกแล้ว   ซึ่งแต่ละองค์กรในภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง  มีการปรับกระบวนยุทธศาสตร์ในการทำงานใหม่  เพื่อที่จะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริง

    

         การทำงานเป็นทีม บางครั้งเป็นเรื่องเฉพาะกิจในองค์กร  ผู้บริหารบางคนไม่เห็นความสำคัญของทีมงาน  แต่กลับคิดว่าถ้ามีทีมงานแล้ว ตัวเองจะต้องเป็นฝ่ายเสียหาย  มีข้อต่อรอง  คิดอะไรหลายฯอย่างที่เป็นลบ  ไม่ได้คิดว่าการที่จะนำเอาหลายฯความคิด  ที่ดีฯ หลายฯส่วน มารวมกันให้เป็นส่วนใหญ่ที่ดีที่สุด  นั่นคือสุดยอดของการทำงานนั่นเอง  โดยไม่ต้องรอให้องค์กรเกิดเกิดภาวะวิกฤติ แล้วถึงจะไปตั้งทีมงาน นั่นเป็นความคิดที่ผิด

   

          องค์กรที่ดีของเราจะรอให้เกิดวิกฤติก่อนไม่ได้  เราต้องมีการสะสมแนวร่วมความคิดที่ดีฯ สะสมบุคลากร  ผู้บริหารที่ชาญฉลาดจะต้องคัดเลือกบุคลากร และสร้างทีมงานที่ชาญฉลาด   ความสำเร็จจึงจะปรากฏได้ตามคาดหวัง เหมือนฝันที่เป็นจริง

          การทำงานร่วมกันกับคนหมู่มาก  สิ่งหนึ่งที่ทุกคนจะลืมเสียไม่ได้   ก็คือความขัดแย้งทางความคิดซึ่งกันและกัน    แต่ต้องให้ทุกคนคิดในทางสร้างสรรค์ว่า  ความขัดแย้งทางความคิดก็คือกระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกในทีม   มิฉะนั้นแล้วผลจะไม่บรรลุตามที่ทุกคนได้คาดหวังไว้      ผู้นำทีมที่ดีที่ควรจะได้รับการยกย่อง จะต้องรู้ว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี   ก็คือการที่เราได้ทำงานร่วมกันนั่นเองครับ (เชิญลปรร.และช่วยเติมเต็มด้วยครับ)       

หมายเลขบันทึก: 133252เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยกับข้อความนี้มากคะ

  • จำเป็นต้องมีข้อตกลงร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน  มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

และขอเพิ่มอีกว่า 

  •  ทุกเรื่องต้องรับรู้ร่วมกันและทำงานแบบโปร่งใส ยึดแต่เรื่องใหญ่ ๆ ไม่ถือเรื่อง    เล็ก ๆ น้อย ๆ มาใส่ใจ

ขอบคุณนะคะที่นำมาแบ่งปัน 

  •  สวัสดีค่ะ พี่เขียวมรกต
  • ทีมเล็ก ทีมใหญ่ ไม่สำคัญ ขอให้ทีมที่เวิร์ค
  • อ่านแล้ว ก็อยากมีทีมที่เวิร์คๆ บ้างค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ
สวัสดีครับอ.ธุวนันท์  ขอบคุณมากครับที่ได้ช่วยเติมเต็มครับ

สวัสดีครับน้องปลาเค็ม    ดีใจสุดฯที่มาแวะเยี่ยมและได้ช่วยเติมเต็ม เห็นด้วยอย่างยิ่ง ทีมที่ดีจะใหญ่/เล็กไม่สำคัญ แต่ขอให้เวิร์คก็แล้วกัน  ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท