สอนเพื่อเรียนรู้ Teach to Learn


ปลูกความคิด ผลที่ได้คือการกระทำ ปลูกการกระทำ ผลที่ได้คืออุปนิสัย ปลูกอุปนิสัย ผลที่ได้คือคุณลักษณะ ปลูกคุณลักษณะ ผลที่ได้คือชะตาชีวิต”
การพัฒนาบุคลากรเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร   การพัฒนาจะเกิดผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่ กับ 1. การติดตามผลของหน่วยงานที่ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม  
2.บุคลากรที่เข้ารับการอบรม     3. กระบวนการติดตามผลการฝึกอบรม 4.หลักสูตรที่ทำการฝึกอบรมหรือการฝึกนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตการปฏิบัติงานได้เพียงใด     
 จากการวิจัยพบว่าความรู้ใหม่ส่วนใหญ่ที่ได้เรียนรู้มามักจะสูญหายภายในหนึ่งสัปดาห์หากไม่มีการทบทวน   การทบทวนที่ดีที่สุดคือการฝึกปฏิบัติตนเองและเลือกใครสักคนที่จะนำความรู้นี้ไปถ่ายทอด  หลังจากมีความชำนาญทุกคนก็นำไปถ่ายทอดต่อเป็นเครือข่ายจะช่วยให้ได้ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น   
ปลูกความคิด ผลที่ได้คือการกระทำ   ปลูกการกระทำ ผลที่ได้คืออุปนิสัย
 ปลูกอุปนิสัย ผลที่ได้คือคุณลักษณะ  ปลูกคุณลักษณะ ผลที่ได้คือชะตาชีวิต

ดังนั้นกระบวนการหลักในการฝึกมี 3 ขั้นตอนคือ

1. การวางแผนประจำสัปดาห์  (Plan Weekly)           
2. ฝึกฝนอุปนิสัย          (Live the Habit)
3. สอนเพื่อเรียนรู้  (Teach to Learn)
             เพื่อให้ทุกท่านสามารถร่วมฝึกโดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับในการเรียนรู้จึงขอบูรณาการอุปนิสัยที่จะฝึกเป็นตอน ๆ  แต่ถ้าต้องการรายละเอียดในแต่ละเรื่องจะได้อธิบายในครั้งต่อ ๆ ไป
            วงจรหนึ่งที่ท่านมักได้ยินเสมอคือ Seeเห็น(Paradigm-กรอบความคิด)  
Do กระทำ(พฤติกรรม-Behavior)   Get ได้รับ(ผลลัพท์-Result)   
ต่อไปนี้ขอเริ่มฝึก   อุปนิสัยที่ 1 (Be Proactive) ทุกครั้งที่จะกระทำอะไรต้องคิดเสมอว่าเรามีอิสระในการเลือกที่จะทำการกระทำนั้น ๆ จะต้องตั้งอยู่ที่ความมีสติ       เพื่อเป็นคำพูดที่คอยเตือนตัวเราและเพื่อนที่ร่วมฝึกจึงใช้คำต่อไปนี้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย คือคำว่า Proactive (ด้าน+)   และคำว่า Reactive(ด้าน-)  
            อุปนิสัยที่ 2 (Begin with the end in mind ) เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ   การกระทำใดไม่ว่าการงาน ชีวิตส่วนตัวทุกคนมีจุดหมายปลายทางของตน แต่มิได้นำมาจัดทำให้เป็นรูปธรรม การฝึกโดยการเขียนออกมาเพื่อประโยชน์ในการวางแผนให้ประสบความสำเร็จ ถ้าในเรื่องการงานต้องคำนึงพันธกิจของหน่วยงาน
            อุปนิสัยที่ 3 (Put First Things First) ทำสิ่งที่สำคัญก่อน    มุ่งเน้นสิ่งสำคัญมากลำดับต้นๆ ขจัดสิ่งที่ไม่สำคัญออกไป  สิ่งที่สามารถช่วยได้คือการวางแผนรายสัปดาห์   ส่วนมากงานที่มีความสำคัญมักการพร้อมความเร่งด่วน แต่ถ้ามีการวางแผนดี ๆ ความเร่งด่วนจะลดลง   และข้อควรระวังจะมีงานบางอย่างที่ไม่สำคัญและยังเร่งด่วนมาทำให้เวลาที่จะทำงานสำคัญลดน้อยลง
            อุปนิสัยที่ 4 (Think Win-Win) คิดแบบชนะ-ชนะ เป็นอุปนิสัยของผลประโยชน์ร่วมกัน เกิดจากความเคารพซึ่งกันและกัน
            อุปนิสัยที่ 5 (Seek First to Understand Then to Be Understood) เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา    การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจทั้งภาษากาย น้ำเสียงความรู้สึกจะสื่อความหมายได้มากกว่าคำพูดที่ใช้   อุปนิสัยนี้ควรฝึกมาก ๆ เพราะผู้ฟังคนอื่นเป็นจะชนะไปกว่าครึ่งในการต่อรองต่าง ๆ  การสังเกตสัญญาณต่าง ๆ ที่เราจะหยุดพูดและฟังอย่างเข้าอกเข้าใจหรือชะลสังเกตุและพร้อมที่จะฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ หรือรุกหน้าและหาทางทำให้ผู้อื่นเข้าใจเรา
            เนื่องจากเป็นบูรณาการณ์ การฝึกจึงขอฝึกอุปนิสัย 1-5  ก่อน  โดยผู้เริ่มฝึกต้องมีการบันทึกแผนรายสัปดาป์  ในบันทึกควรกำหนดปณิธานขอนตนเอง(เขียนทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงานและในเรื่องส่วนตัว)  การฝึกอุปนิสัยทั้งในที่ทำงานและครอบครัวจะได้ฝึกทุกบทบาท  การจดบันทึกทำให้สามารถประเมินผลความก้าวหน้าการจดบันทึกในสมุด Daily ที่มีอยู่หรือบันทึกในคอมพิวเตอร์ก็ได้   และสุดท้ายต้องไม่ลืมเลือกถ่ายทอดให้ใครสักคน เพราะผู้นี้จะเป็นกระจกที่ช่วยสะท้อนเราหรือเตือนเราด้วย
             ท่านใดนำไปฝึกแล้วไม่เข้าใจหรือสงสัยกรุณาสอบถ้าได้เพราะการเรียนรู้ร่วมกันเป็นการฝึกทุก ๆ อย่างที่ดีที่สุด
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13236เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2006 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อ่านแล้วได้ประโยชน์มากครับ จะติดตามอ่านตอนต่อไปครับ
ขอโทษที่เข้ามาช้าไปหน่อย แต่คุณนิดสรุป 5 อุปนิสัยแรกได้ดีค่ะ ยินดีที่เปิดบล็อกนี้ขี้นมา จะได้มีเวทีแลกเปลี่ยนของคนสายสนับสนุนเพิ่มขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท