หนุนหมอนอย่างไรให้ถูกวิธี


การหนุนหมอนให้ถูกวิธีสำหรับท่านอนตะแคงและนอนหงาย ได้เคยได้อธิบายไปแล้ว แต่ยังไม่ได้แสดงภาพให้ดู บางท่านอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจดูภาพประกอบ จะทำให้เข้าใจมากขึ้นนะคะ

ท่านอนตะแคง

ภาพแรก: เป็นท่านอนตะแคงที่ไม่ถูกต้อง เพราะคางไม่ได้ถูกรองรับด้วยหมอนทำให้ข้อต่อของคอบิดไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย 

ภาพที่2: เป็นท่านอนตะแคงที่ไม่ถูกต้อง เพราะหัวไหล่ทับบนหมอน ทำให้หมอนไม่ได้รองรับกระดูกคอ ทำให้ไม่ผ่อนคลายการไหลเวียนเลือดไม่ดี

 

ภาพที่ 3: เป็นท่านอนตะแคงหนุนหมอนที่ถูกต้อง กระดูกคอทุกปล้องและศีรษะถูกรองรับ คางก็ถูกรองรับด้วยเช่นกัน

ท่านอนหงาย

 ภาพที่ 4: เป็นการหนุนหมอนในท่านอนหงายที่ไม่ถูกต้อง จะสังเกตว่าหมอนไม่ได้รองรับส่วนโค้งของคอและกระดูกคอโดยเฉพาะตรงบริเวณฐานคอ

ภาพที่ 5: เป็นภาพการหนุนหมอนในท่านอนหงายอย่างถูกวิธีค่ะ หมอนจะรองรับศีรษะและกระดูกคอทุกปล้อง หมอนจะวางอยู่ชิดกับบ่าพอดี ทำให้หมอนรองรับส่วนโค้งของกระดูกคอ และทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 131928เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2007 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ดาวรุ่ง จันทร์เปรม

ขอบคุณค่ะ 

เย้ !  ต่อไปเราจะนำท่านอนที่ถูกวิธีไปปฏิบัติ จะได้ไม่ปวดคอ ปวดไหล่ อีก  ค่ะ

มีอีกเรื่องนึก อยากปรึกษาอาจารย์ค่ะ คนที่บ้านนอนกรนมากเลยค่ะ มีท่านอนสำหรับคนนอนกรน หรือเปล่าค่ะ ขอคำแนะนำค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ

มีรูปประกอบแล้วช่วยให้เข้าใจง่ายดีจริงๆ ค่ะ

ปนดา เตชทรัพย์อมร

เรียนคุณดาวรุ่ง

การนอนกรนมี 2 แบบ ค่ะ แบบแรกเป็นการนอนกรนที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้กรน แต่สร้างความรำคาญให้ผู้อยู่ใกล้  แต่แบบที่ 2 ถ้ามีการกรนร่วมกับการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ร่วมด้วยเราเรียกว่า Obstructive sleep apnoea ถ้าป็นอาการแบบที่ 2 นี้อันตราย ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลียเหมือนไม่ได้นอนมาทั้งคืน ถ้ามีอาการดังกล่าวร่วมด้วย แนะนำให้ไปพบแพทย์นะคะ แต่ถ้าเป็นกรณีแรก การหนุนหมอนให้ถูกวิธีอาจช่วยได้บ้างค่ะ คนอ้วนมักนอนกรนมากกว่าคนผอม แนะนำว่าถ้าน้ำหนักเกินมาก ๆ ก็ควรลดน้ำหนักหน่อยก็อาจช่วยได้ค่ะ

ปนดา

แย่จริง ผมนอนผิดมาหลายสิบปีแล้ว  โชคดีที่ยังไม่เป็นอะไร  ขอบคุณคุณหมอปนดาครับ

ขอบคุณมากนะคะ ชอบนอนตะแคงเหมือนกันคะ แต่จะนอนแบบวิธีที่1 คะ ต่อไปนี้จะปรับเปลี่ยนใหม่คะ

เรียนวันนั้นหนูยังเห็นภาพไม่ค่อยชัด

วันนี้หนูเข้าใจมากเลยค่ะ

อาจารย์มีภาพประกอบทำให้หนูเรียนได้เข้าใจและทำให้จำได้ง่ายค่ะ

มีภาพประกอบทำให้เข้าใจมากขึ้นคะ จะนำความรู้นี้ไปบอกต่อ

ขอบคุณมาก มาก คะ

อ่านเข้าใจและสามารถเอาไปใช้จริงได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อผมมากครับ

ขอบพระคุณมาก

เรียนถามอาจารย์ค่ะ เป้น mild compression fracture c 5 - 6 สามารถหนุนหมอนสุขภาพได้หรือไม่คะ และควรมีท่าหนุนหมอนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับโรคที่เป็น ขอบคุณค่ะ

เรียนคุณจุฑามาศ

โดยปกติกระดูกคอจะมีส่วนแอ่นมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (ถ้ามองจากทางด้านข้าง) ดังนั้นการหนุนหมอนจึงมีประโยชน์ในการรองรับส่วนแอ่นของคอในท่านอนหงาย ส่วนในท่านอนตะแคงจำเป็นต้องหนุนหมอนอย่างยิ่งและความสูงของหมอนควรประมาณเท่ากับความกว้างของบ่าข้างหนึ่ง เพื่อให้คออยู่ในระดับตรงพอดี ไม่เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ดังภาพที่แสดงไว้ข้างบน

แต่สำหรับกรณีของคุณที่มี compression fracture ถ้าไม่ยุบไปทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ก็หนุนหมอนในท่าปกตินี่แหละค่ะ ตามที่แนะนำในรูปข้างบน แต่ถ้ามี anterior compression หรือมีการยุบของกระดูกทางด้านหน้า ก็ไม่ควรหนุนหมอนสูงหรือหนาเกินไปจะทำให้คออยู่ในท่าก้มไปทางด้านหน้ามาก ซึ่งจะไปเสริมทำให้กระดูกยุบตัวทางด้านหน้ามากขึ้นค่ะ

ปนดา

รบกวนเรียนถามอาจารย์ค่ะ

พอดีแฟนนอนกรนมากเลยค่ะ แล้วเค้าก็เป็นคนอ้วนด้วย และลูกสาวอายุ 8 เดือนกว่า ๆ ลูกสาวจะนอนไม่ค่อยหลับ นอนพลิกไปมา บางวันพ่อเค้ากรนหนัก ๆ ดังมากๆ ตี 4 ตื่นลุกขึ้นมานั่งก็มี ดิฉันสงสารลูกสาวค่ะ จะเรียนถามอาจารย์ว่า หมอนสุขภาพที่เค้าโฆษณาว่ามันแก้อาการนอนกรนได้เนี่ย มันแก้อาการนอนกรนได้จริงมั้ยคะ อยากจะซื้อมาให้แฟนลองใช้ดูค่ะ แต่ยังไม่กล้าซื้อเพราะกลัวจะโดนหลอก แล้วก็มีอีกอย่างจะเป็นแผ่นแปะที่จมูกตอนนอนแก้อาการนอนกรน ก็อยากจะทราบเหมือนกันว่ามันใช้ได้ผลจริงมั้ยค่ะ รบกวนอาจารย์แค่นี้ค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

คิดว่าหมอนไม่น่าจะช่วยได้ แต่มีสำหรับแผ่นแปะที่จมูก ไม่ทราบค่ะว่ามันทำงานอย่างไร จึงช่วยเรื่องนอนกรนได้ค่ะ

ปนดา

ขอบคุณอาจารย์มากคะ เพราะเคยเป็นไม่ทราบสาเหตุมัวแต่ไปซื้อหมอนใหม่ใบละพันก็เคยซื้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท