HAบรรยายทีมรพ.ท่าแพ สตูล


พี่คำ แสนเปา คนขับรถรพ.บ้านตาก ได้ให้นิยามHAไว้ว่าคือการทำงานประจำของเราให้ดี ตรงใจผมมากเพราะเป็นนิยามจากผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่จากผู้บริหาร

               วันนี้รีบตื่นแตเช้าตรวจคนไข้ที่ตึกชายเสร็จ 9 โมงครึ่ง แล้วบรรยายHAให้ทีมงาน รพ.ท่าแพ สตูลที่มาดูงานจนถึง 10.30 น. จึงไปสอนนัสิตแพทย์เรื่องFamily-oriented care พักเที่งครึ่งกินข้างกลางวัน บ่ายโมงเซนต์เอกสารแฟ้ม บ่ายสองโมงไปตรวจสุขภาพผู้สูงอายุของงานการพยาบาลผู้สูงอายุเสร็จบ่ายสามครึ่งมาสรุปประเด็นการดูงานจนถึงสี่โมงครึ่ง เซนต์แฟ้มต่อจนถึงห้าโมงครึ่ง ไปคลินิกตรวจคนไข้ถึงทุ่มครึ่งไปวิ่งออกกำลังจนถึงสองทุ่ม กลับมาประชุมเตรียมทีมกีฬากับกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เป็นนักกีฬาถึงสองทุม่ครึ่งกินข้างเย็นอาบน้ำแล้วมาเขียนบันทึกแล้วก็อ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน เป็นโปรแกรมที่ยุ่งมาก แต่ก็สนุกไม่เหนื่อย เมื่อกี้พิมพ์ไปแล้วครั้งหนึ่งแต่เน็ตล่มทำให้หายไปหมดเลยน่าเสียดายมาก สงสัยรอบนี้จะเขียนไม่ได้เหมือนเดิม

                ได้เล่าให้ทีมงานท่าแพฟังในเรื่องการบูรณาการเครื่องมือพัฒนาคุณภาพแบบต่างๆเข้าด้วยกันพร้อมทั้งมีขั้นตอนการพัฒนา 10 ขั้น เป็นตัวแบบบ้านคุณภาพสร้างสุข และได้สรุปแก่นHAตามที่เขีบนไว้ในบันทึกแล้ว

                 ผมแนะว่า การทำคุณภาพเริ่มจากการทบทวนตนเอง ดูว่ามีความเสี่ยงอะไรที่เกิดขึ้นได้บ้าง เอามาเขียนเป็นบัญชีความเสี่ยง แล้วเรียงลำดับความเสี่ยงตามความสำคัญ เลือกที่สำคัญลำดับต้นๆมาเขียนวิธีการป้องกันแก้ไข พอใช้ได้ดีก็เอามาเขียนเป็นเอกสารคุณภาพเพื่อประกันกับคนไข้ว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงกับเขาโดยการปฏิบัติตามนี้ พอใช้ไปได้สักระยะหนึ่งก็เอามาทบทวนดูว่ามีอะไรที่จะต้องปรับแก้เพื่อให้ได้ผลที่ดีมากขึ้นอีกโดยเอามาหาเหตุหาผลเป็นการทำ CQI ซึ่งเกาะติดกับงานประจำ พอได้วิธีที่ดีจากCQIก็เอามาปรับแก้เอกสารคุณภาพได้เป็นเอกสารฉบับใหม่ ซึ่งก็เป็นการทำตามวงจรPDCAนั่นเอง

                หลังจากผมเล่าจบก็เป็นการแยกย้ายกันพูดคุยกับทีมคร่อมหน่วยงาน ส่วนภาคบ่ายจะลงไปแลกเปลี่ยนกับผู้ปฏิบัติในหน่วยงาน ซึ่งจะได้ของจริงมากกว่า เป็นการแลกกันของผู้ปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติ พอบ่ายสามโมงครึ่งก็มารวมกันที่ห้องประชุมเพื่อสรุปประเด็น ซักถามปัญหา

                ตอนท้านพี่ปุ๋ย รองผอก.และประธานISของบ้านตากได้ฝากข้อคิด แนวทางในการตดตามการพัฒนาคุณภาพโดยผู้บริหารซึ่งเป็นแนวดิ่งกับการติดตามในแนวราบโดยทีมเยีย่มสำรวจภายใน ซึ่งมีความสำคัญทั้งสองด้าน พี่ปุ๋ยเป็นหัวหน้าทีมงานที่ไปช่วยpeer assistที่บ้านลาด เพชรบุรี และได้รับคำชมและความประทับใจกลับมา เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียนจากการอ่านและการคิดแล้วนำมาปฏิบัติโดยไม่ค่อยไปอยรมนัก เป็นISและที่ปรึกษาของHACCมน.โดยไม่เคยอบรมSurveyorเลย แต่ใช้การเรียนรู้จากการทำจริงในโรงพยาบาลบ้านตาก

                ผมเองก็ฝากเรื่องการได้ใจนั้น ไม่ใช่หมายถึงว่าทุกคนจะต้องรักใคร่กันมากจนไม่ทะเลาะกันเลย ไม่กระทบกระทั่งกันเลยหรือไม่นินทากันเลย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่เมื่อไรก็ตามที่มีงานของโรงพยาบาลถ้าได้ใจเขาจะช่วยกันดีโดยไม่ต้องบังคับเรียกว่ามีจิตสำนึกโรงพยาบาลอยู่ จริงๆแล้วผมไม่ได้ได้ใจเจ้าหน้าที่ แต่โรงพยาบาลต่างหากเป็นผู้ได้ใจ และที่ได้เพราะคนในโรงพยาบาลบ้านตากเขาให้ใจมา การจะทำให้ได้ใจจะต้องทำให้คนในโรงพยาบาลได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันบ่อยๆ จึงจะได้ใจง่าย ถ้านานๆเจอกันทีคงยากเพราะความใกล้ชิด ทำให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีได้ง่าย

                การดูงานวันนี้เป็นการสรางความรู้สึกที่ดีต่อกันระหว่างผู้มาเยือนและเจ้าบ้าน ซึ่งถือว่าได้กลายเป็นกัลยาณมิตรกันแล้ว

หมายเลขบันทึก: 13117เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท