ประชาธิปไตย มีทางเลือกอื่นไหม


การบริหารงานที่ดีไม่ได้หมายความว่าเราสามารถทำให้ทุกคนคิดเหมือนกันได้หากแต่เราสามารถบริหารความแตกต่างเพื่อสร้างนงวัตกรรมที่ดีงามได้อย่างไร

"ตกลงเอ็งพวกใคร เอ็งไม่เห็นด้วยร่าง รธน. เอ้งเป็นพวก นปก. หรือทักษิณให้เงินเอ็งหา เห้นตอนแรกก็อุดมการณ์ดีไม่น่าเลย"

ผมต้องฟันฝ่ากับคำพูดเหล่านี้มากมาย ก่อนการลงประชามติที่ผ่านมา แต่ที่สำคัญผมมิได้โกรธเคืองผู้พูดแต่อย่างใดหากเพียงแต่มันทำให้ผมนึกย้อนกลับไปเหตุการณ์เมื่อปีก่อนการ รัฐประหาร

ผมเป็นคนนึงซึ่งอยู่ในขบวนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการที่จะสร้างการเรียนรู้ให้ประชาชนเรียนรู้ระบบทุนนิยมที่ครอบงำและส่งผลต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผมเลือกข้าง และดกรธแค้นคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามซะทุกเรือง

ประเด้นสำคัญอยู่ตรงนี้ครับทำไมคนเรา สังคมเราต้องบังคับให้เราเลือกข้าง

ยกตัวอย่างคนสองคนคุยกัน ใน10 เรื่องที่มีการสนทนาในวันนี้

3เรื่องแรกเป็นเรื่องที่เราเห็นตรงกัน

อีก7 เรื่องเป็นเรื่องที่เราคิดต่างกัน

หาก 3 เรื่องแรกเป็นประเด็นต้น ๆ ที่เราคุยกัน เราอาจจะเหมารวมได้ว่าคนนี้พวกเรา และทำให้อรก 7 เรื่องหลังเป็นเรื่องที่เบาและอ่อนไป แค่พอรับได้ทันที

ในทางกลับกันหากเราเปิด 7 เรื่องที่เห็นไม่ตรงกันก่อน เราจะกลายเป้นคนละข้าง อีก3 เรื่องที่เหลือจะถูกมองว่า ติดลบไปด้วย

อะไรทำให้คนเราต้องเลือกข้าง

ในสมัยที่มี ประชาธิปัตย์แข่งกับไทยรักไทย

ผมไม่เลือกไทยรักไทย ทำไมต้องถูกยัดเยียดว่าเลือกประชาธิปัตย์

สังคมไทยมีทางเลือกให้เราน้อยจัง

ทำไมต่องมี...แค่

ใช่ไม่ใช่

ดีเลว

บวกลบ

ขาวดำ

ทำไมไม่มีตัวเลือกอื่นให้คนที่คิดต่างเห็นต่างในบางเรื่อง บางประเด้นได้มีพื้นที่ในการเรียนรู้บ้าง

ประชาธิปไตยเมืองไทยคงขับเคลื่อนไปได้ยากในความคิดของผมหากสังคมยังไม่ยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย

ยังไม่ยอมรับว่าเรามีสิทธิ์คิดต่างกันได้และเราก็มีสิทธิ์ที่จะคิดเหมือนกันได้

หากเรายอมรับในความแตกต่างเราไม่แบ่งฝ่ายเราจะตัดสินในด้วยเหตุและผลเป็นหลัก เช่น นโยบายของพรรคนี้ก็ดีนะแต่น่าจะปรับตรงนี้ได้บ้าง หรืออีกพรรคก็นโยบายดีแต่น่าจะเอาของพรรคนี้ไปปรับใช้ตรงนั้นตรงนี้บ้าง

เช่นเดียวกันในกรณี รัฐธรรมนูญเช่นกัน

วันนี้ผมยอมรับในในของประชาชนในการรับร่างรัฐธรรมนูญโยไม่หาเหตุผลต่าว่ามีการฮัว การโกง หรือใช้อำนาจใด ๆๆๆๆ เนื่องจากส่วนหนึ่งรัฐธรรมนูญก็มีข้อดีเหมือนกัน หากแต่มีการปรับแก้บางประเด็นจะดีมากกว่านี้ จึงไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่ผมจะต้องค้านจนหัวชนฝา

ความเชื่ออีกอย่างนึงหากคนไทยเรายอมรับในความแตกต่างหลากหลายได้เราจะมีประชาธิปไตยที่เบ่งบานและสมบูรณ์เนื่องจากเรามีอิสระที่จะคิดจะเลือก รู้มากน้อยขึ้นอยู่กับฐานคิดและประสบการณ์

เนื่องจากหากคนทั้งสังคมมีวิธีคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง

นักการเมืองแบบทุนนิยมก็จะอยู่ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

การคิดต่างกันได้ทำให้เราสามารถยอมรับความคิดต่างและความแตกต่าง ได้

การบริหารงานที่ดีไม่ได้หมายความว่าเราสามารถทำให้ทุกคนคิดเหมือนกันได้หากแต่เราสามารถบริหารความแตกต่างเพื่อสร้างนงวัตกรรมที่ดีงามได้อย่างไร

เพราะจะได้ไม่มีคนได้และมีคนเสีย

มีแต่เราช่วยกันคิด

ขอบคุณคนที่มาว่า กล่าวผม ที่ทำให้ผมกระตุกคิดได้หลายบรรทัดครับ

หมายเลขบันทึก: 130934เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • อืมขออยู่กลางๆ ไม่เลือกสักข้างคะ
  • เพราะเท่าที่เห็นและเป็นอยู่ยังไม่เห็นมีใครผลงานเข้าตา
  • อิอิ..สิ่งที่พูดกับสิ่งที่ทำ อาจเป็นคนละขั้ว
  • ของอย่างนี้ต้องดูใจ เอ๋ยต้องศึกษากันนานๆคะ
  • โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนนี่ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

ผมว่าไม่น่าจะมีข้างด้วยซ้ำครับ

เพราะว่าหากยกตัวอย่างในสภาหากคุยกันด้วยเหตุผลของบ้านเมือง

ไม่มีพวกไม่มีข้าง

บ้านเมืองคงสร้างสรรค์มากกว่านี้นะครับ

  หวัดดีค่ะ อาจจะไม่เคยได้ยินชื่อนะค่ะ เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกของที่นี่ เข้ามาไม่กี่ครั้ง แต่สนใจ อยากแสดง ความคิดเห็น เพราะ โดยส่วนตัวแล้วก็ติดตามการเมืองบ้างแต่ไม่ตลอด มีอยู่วันหนึ่ง คุยกับแฟนว่า ใครจะได้เป็นนายก ปรากฏ ว่าแฟน เค้าคิดว่า สมัคร จะได้เป็น  แต่ อั้มเองบอกว่า น่าจะเป็นอภิสิทธิ์ มากว่า ซึ่งในความคิดเห็นของอั้มเองนี่ อั้มไม่ได้เชียร์ ประชาธิปัตย์ หรอก แต่อั้มเอง ก้อมีความเชื่อว่า คนเราโดยส่วนมาก ต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ต้องการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ กันทั้งนั้นแหละ คุณอภิสิทธิ์ เค้าก้อน่าจะเป็นคนๆหนึ่งที่มีความคิดลักษณะนี้ การคุยเรื่องการเมือง อั้มก็ยอมรับนะว่าอั้มก้อมีความคิดเห็นต่างกับแฟน แต่ในความต่างนั้น ประเด็นคือ เราต้องยอมรับในความคิดเห็นต่างของเค้าด้วย การที่เราพูดแล้วเค้าไม่เชื่อหรือไม่ได้เห็นพ้องกับเราก้อไม่จำเป็นต้องทะเลาะกัน  อืม..แต่ว่าวันนั้นอั้มก้อมีข้อตกลงกับเค้าแล้วว่า 55..ต่อไปอย่าคุยการเมืองกันดีกว่า (เป็นงั้นไป)

สวัสดีครับ

  • คิดไปก็หนักสมองครับ ผมอยู่ฝ่ายที่ค้าน ไม่รับร่างครับ แต่ผ่านไปแล้วเรารู้ว่า รธน.ผ่านเพราะอะไร
  • ปัจจุบันผมสนใจอยู่สองอย่างคืออย่างแรกทำอย่างไรผมจะเลี้ยงชีวิตให้มีอยู่มีกินมีศีลมีศักดิ์มีคนรักมีบุญ...ผมจะไม่เถียงใครเรื่องการเมือง
  • สิ่งหนึ่งที่ผมสนใจคือความอยุติธรรม ที่เรามักอ้างว่าขั้วอำนาจเก่าทำให้ชาติพัง....แต่ผมอยากถามว่าประเด็นมีคนมีเงินมาซื้อที่ทำกินทางอีสานรอบภูเขาล้วนแต่พระอัลเลาห์สั่งมาซื้อ...แล้วอีกสิบกว่าปีอะไรจะเกิดกับคนอีสาน

ประเด็นการเมืองเป็นเพียงประเด็นตัวอย่างสังคมสัญญลักษณ์ ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความเชื่อมากกว่า ความคิดความเห็นที่ต่างกัน ต้องทำใจให้เป็นกลางครับ

ผมเห็นว่าในความจริงเราเห็นต่างกันได้ แต่ต้องไม่ยึดมั่นขั้วของตัวเอง

เช่น เช่นกรณีใครจะเป็นนายก หรือรับไม่รับ น่าจะเอาประเด็นเหตุผลมาคุยกันมากกว่า การยึดมั่นถือมั่น ผมว่ามันจะสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว ประชาธิปไตยในสังคม ประชาธิปไตยในหมู่เพื่อน

อยากให้สังคมเป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่สังคมสัญญลักษณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท