เรียนรู้เรื่อง จริยธรรมงานวิจัยในมนุษย์


วิจัยไม่ให้เกิดอันตรายผู้ป่วยเด็ดขาด และให้เกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมากที่สุด ต้องชั่งให้พอดี

ก่อนสอน บอกนิสิตว่าอาจารย์รวิวรรณ กังวลที่สุด กับการสอนวิชานี้

 จริยธรรมงานวิจัยในมนุษย์

เฮ้อ

ก็เลยขอน้องนิสิตทั้งหลายว่าวันนี้ เราจะเรียนของยากมากนะคะ 

อาจารย์ ก็เลยชวนพี่ปริมวิชญา พยาบาลผู้ประสานงาน การวิจัย ของแผนก กุมารเราผู้มีประสบการณ์ตรงด้านนี้มาช่วยด้วย

เราช่วยกันอ่านทีละบรรทัด ทีละประโยคและค่อยทำความเข้าใจกับมัน

 เอาไหม      นิสิต เอาแฮะ ทั้งหมดพยักหน้ากันหงึกหงัก 

แปดคน ก็ สลับกัน ค่อยละเลียดอ่าน 

ตั้งต้นแต่การทดลองในมนุษย์สมัยดั้งเดิมที่เป็นตัวอย่างของการที่ไม่ได้สนใจเรื่องป้องกันอันตรายแก่บุคคล  เน้นแต่ผลการวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ ต่อ มนุษยชาติ

อาจารย์ รวิวรรณ และพี่ปริม ก็ทำหน้าที่ช่วย นิสิตให้วิเคราะห์ ให้คุย วิพากษ์ และแสดงความเห็น ความรู้สึก เต็มที่

แนวเคร่งครัด ไม่ให้เกิดอันตรายผู้ป่วยเด็ดขาด หรือ แนวเพื่อประโยชน์ต่อคนจำนวนมากที่สุด ต้องชั่งให้พอดี

  ถ้าเราเป็นผู้ป่วย จะอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยนะ  จะอยากได้อย่างไร

 

สิทธิผู้ป่วยนะ

แพทยสภาว่าอย่างไร

สามัญสำนึกว่าอย่างไร

 

Do no harm    

ลองสุมหัว ระดมสมอง นะ

ทำอย่างไรให้ได้ทำวิจัย เพื่อเป็นผลประโยชน์ ต่อการแพทย์ให้ก้าวหน้า ต่อมนุษยชาติให้ได้ประโยชน์สูงสุด แต่ไม่เป็นอันตรายต่ออาสาสมัคร

และรายงานผลต่อที่ประชุม

 

โอ ดี แฮะ ไม่น่าเบื่อ คุยกัน เอาจริง โขมงโฉงเฉง  แต่ยิ้ม หัวเราะ และหนุกหนานด้วย

ขอบใจ นิสิต ทุกท่าน ที่ มี active learning  และมีส่วนร่วมเต็มที่ จริงๆค่ะ

หมายเลขบันทึก: 130875เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท