ทำวิจัย....เริ่มต้นที่ไหนดี


เราเอาเวลาทั้งหมดของเรา ใส่เข้าไปในงาน แล้วขลุกอยู่กับงาน จนมองไม่เห็นปัญหาเชิงระบบ ....

     เช้าวันนี้หวนนึกถึงบรรยากาศเก่าๆของการทำวิจัยที่ผ่านมา หลายๆคนพยายามตอบคำถามว่า ทำไมถึงจะให้คนหันมาสนใจทำวิจัยกันมากขึ้น ไม่ต้องเอาอะไรมาก เอาเพียงแค่มองงานประจำของตัวเอง แล้วเริ่มต้นทำงานวิจัยโดยพัฒนางานประจำ เพียงเพื่อให้เขาเหล่านั้น ทำงานที่สบายขึ้น ดีขึ้น เร็วขึ้น มีข้อมูลชี้ชัดได้มากขึ้นเวลามีคนถาม ค่าใช้จ่ายน้อยลง และอีกสารพัดที่บอกให้รู้ว่า เราไม่ได้ทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ตามที่พี่เขาบอกมา......เอ.....แล้วทำไมคนจึงยังวนเวียนอยู่กับการทำงานแบบเดิมๆ ปัญหาเดิมๆ .......นี่ไงเจ้าตัวปัญหานี่ไง....น่าสนใจ

     อาจเป็นเพราะเราเอาเวลาทั้งหมดของเราขลุกอยู่กับการทำงาน....อยู่ในงานทั้งชีวิตและจิตใจ สมเป็นผู้ใช้แรงงานที่ดีครับ เช้าตื่นขึ้นมาอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟัน แล้วเริ่มงานได้....จนถึงตอนเย็น ขอดูกระจกนิด แต่งเติมสีสันให้ปากให้แก้มอีกสักหน่อย...แล้วกลับบ้านได้....เวลาทั้งหมด หมดไปกับงานจริงๆ....แล้วทำอย่างนี้เห็นปัญหาของงานมั้ยครับ....ตอบได้เลยครับ....ว่าเห็น....แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเฉพาะเพียงปัญหาที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลง เท่านั้นที่มองเห็น แล้วก็แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า.....อ้าว...แล้วมันมีปัญหาอะไรอีกหรือ? ......ก็ปัญหาของระบบไง.....แล้วคุณแน่ใจแล้วหรือยังว่า วิธิการที่คุณทำอยู่นี้ มันน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด หรืออย่างน้อย ก็ยังไม่มีวิธีการอื่นที่ดีกว่าเท่าที่เราจะคิดออก....เอ...อย่างนี้ตอบไม่ได้ เพราะมัวแต่ทำงาน ยังไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้....นั่นแหละครับ ที่ผมพยายามจะบอก....คือเราเอาเวลาทั้งหมดของเรา ใส่เข้าไปในงาน แล้วขลุกอยู่กับงาน จนมองไม่เห็นปัญหาเชิงระบบ ....ถ้างั้นทำไงดีครับ.....ถ้างั้นก็ถอยออกมาสักก้าวสิครับ แล้วคุณจะเห็นโลกกว้างขึ้นอีกนิด ถ้ายังไม่พอ ก็สองก้าว สามก้าว สี่ก้าว ถอยไปจนคุณมองเห็นในมุมที่คุณพอใจ.....

     เราน่าจะหาเวลาว่างๆ มานั่งคุยกันถึงวิธีการที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน มันมีปัญหาอะไรที่เป็นวิกฤต หรือเป็นคอขวด แล้วมาหาวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหาเดิมๆของเรา....อ้อถ้าเป็นไปได้....ลืมโครงสร้างเดิม ลืมวิธีการเดิม สลัดทิ้งความคิดเดิมๆให้หมด ปล่อยทุกอย่างให้โล่ง มีอิสระในการคิดให้เต็มที่ แล้วค่อยเริ่มต้น วาดฝัน วาดจินตนาการ ใส่ความคิดอิสระ ไม่ต้องสนใจว่าจะทำได้หรือไม่ ขอให้เป็นเพียงวิธีการแก้ไขปัญหาได้ก็พอ.....แล้วเราจะมีทางเลือกมากมาย....ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงมาตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด.... แต่ปัญหาที่ผมเจอในระดับนี้ มักจะเป็นการไม่สามารถสลัดความคิดเดิมๆออกไป ก็เลยเหมือนมีกรอบในการคิด การมีกรอบในการคิด ทำให้เราลดความคิดสร้างสรรค์ลงไปมาก เหมือนกับพายเรืออยู่ในอ่าง พายไป พายมา ยังไงก็วนอยู่ในอ่าง....ถ้าอยากจะออกจากอ่าง ก็คงต้องเริ่มต้น คิดแบบเด็กๆ ตรงไปตรงมา ไม่วกวน ไม่มีกรอบ ....แล้วหลายๆครั้งเราจะพบกว่าการคิดแบบเด็กๆนี่แหละที่แก้ไขปัญหาซับซ้อนของผู้ใหญ่มาได้มากต่อมาก ที่ผู้ใหญ่แก้ปัญหาที่ซับซ้อนของตัวเองไม่ได้ เพราะติดที่จะคิดอะไรแบบซับซ้อน ซึ่งซับซ้อนไปซับซ้อนมา ตัวเองก็เลยงง เหมือนเชือกพันกันวุ่นวาย....ลองเริ่มดูครับ...คิดแบบเด็กๆ ไม่มีกรอบ...จะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ที่คุณเองอาจประหลาดใจกับวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหาเดิมๆ....

 

หมายเลขบันทึก: 130871เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เย้ๆๆได้อ่านบันทึกแล้ว
  • การทำอะไรที่ไม่มีกรอบทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเดิม
  • ได้ใช้จินตนาการ ในสิ่งดีๆๆ
  • จะแนะนำคุณครูให้มาอ่านบันทึกนี้นะครับ
  • ขอบคุณครับผม

เย้ เย้ เย้  ดีใจ  คุณครูไมโต  มาสอนแล้ว

เข้าใจแล้วค่ะคุณครู..อยากอ่านเรื่องต่อไปค่ะ..คุณครู

หนูจะตั้งใจเรียนค่ะ..คุณครูไมโต..

ขอบคุณค่ะ

อยากให้มีการต่อยอดทางความคิดเรื่องการ"วิจัย" กันมากขึ้น เพราะในปัจจุบันหากเราจะสรางความรู้ใหม่ และ ยกระดับความรู้เดิม การวิจัยเป็นเครื่องมือที่สำคัญ

ผมจับใจความได้ ๒ ประเด็นครับ จากการอ่านบันทึก

  • ประเด็นแรก  เป็นการมองงานวิจัยที่ทำจากงานประจำ รวมถึง ภาพรวมของงานวิจัย
  • ประเด็นที่สอง มองเรื่อง "นวัตกรรม" อันเป็นผลจากการทำงานวิจัย หรือ การคิดใหม่ หลุดจากกรอบเดิม อันเป็นความคิดเชิงสร้างสรรค์

งานวิจัยไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นการใช้ศัพท์ในการสื่อความหมาย และต่อมาชื่อของมันก็ดูขลังจนเป็นงานของนักวิชาการ

งานวิจัยเป็นการตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ ทำไม อย่างไร?? และหากเป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนา เรามีคำถามเพิ่ม ว่าเราจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร??

สิ่งที่เป็นหัวใจของงานวิจัยก็คือ "กระบวนการ" เป็นหลักใหญ่ใจความที่จะทำให้เราได้ซึ่งคำตอบของคำถาม หากเราทำได้ดี แก้ไขปัญหาได้ เป็นเรื่องใหม่ อันนั้นเรียก "นวัตกรรม"

 

ถามต่อว่า "หลุดกรอบ" ดีมั้ย

หากเป็นกรอบการวิจัย ก็ควรมี แต่หากเป็นความคิดที่จะทำให้งานสำเร็จตามที่ตั้งคำถามไว้ต้อง อาศัยการมองแบบหลุดกรอบอย่างยิ่งยวด

นักวิจัยและนักพัฒนาจำเป็นต้องมีคุณสมบัติ

  • สนใจ ใคร่รู้ เรียกว่า Alert ในการเรียนรู้ หากเรียกตามศัพท์ KM คือ "บุคคลเรียนรู้"
  • นักวิจัยต้องเป็นนักฝัน ศิลปิน ตรงนี้สำคัญมากครับ งานทุกงานต้องใช้พลังสร้างสรรค์ตรงนี้
  • นักวิจัยต้องเป็นนักปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความรู้
  • นักวิจัยเป็นนักประสาน การประสานสำคัญในแง่ของการบูรณาการความคิดของคน การเชื่อมศักยภาพของคน

นี่เป็นคุณสมบัติหลักๆครับ ของนักวิจัย แต่หากเป็น นักวิจัยเพื่อพัฒนาที่ทำกระบวนการเชิง Action พลังภายในของนักวิจัยมีมากกว่านี้หลายเท่า

จากบันทึกนี้ผมคิดว่า เราคาดหวังจากการใช้งานวิจัยระดับใด..เพราะแต่ละระดับก็มีกระบวนการทำ เข้มข้น แตกต่าง กันครับ ใช้ competency ของคนต่างกันด้วย ทั้งความคิดและการปฏิบัติ

----------------------------------------------------

ผมไม่ทราบว่าข้อคิดเห็นนี้เชื่อมได้กับบันทึกหรือไม่นะครับ แต่เป็นมุมมองหนึ่งของนักวิจัยอิสระครับ

 

สวัสดีครับ

ครูขจิต P

  • ผมห่างหายไปนานในเรื่องการเขียนบันทึกที่ออกจะเป็นการเสนอความคิดเห็น  อาจจะเป็นเพราะสมองล้าแล้วมังครับ ยิ่งช่วงนี้เครียดสุดๆ กับการนั่งต่อลูกปัด วันนี้ได้นั่งคุยกับ sensei ครับ เลยรายงานความก้าวหน้าของการมาญี่ปุ่นคราวนี้ 20 วัน ทำไปได้แล้ว 14 ราย เหลืออีก 36 ราย ที่ต้องทำให้เสร็จ แล้วยังมีงานอื่นที่รออยู่อีกเพียบเลย เพียงแต่งานนั่งร้อยลูกปัดนี่เป็นงานหลักครับ แล้วทำยาก ใช้เวลานาน ใช้เครื่องมือและน้ำยาราคาแพงมากๆๆๆๆๆ หิ้วมาทำที่ญี่ปุ่นนี่ถูกแล้วครับ เพราะทำที่บ้านเรา ผมไม่มีเครื่องและไม่มีตังค์

ครูอ้อยP

  • ช่วงนี้ก็ยังคงหายหน้าหายตาไปบ้าง เป็นนินจาครับ แว๊บมาแว๊บไป ขึ้นกับงาน และอารมณ์
  • อย่าเรียกว่าสอนเลยครับ เอาเป็นว่า มาเล่าสู่กันฟัง ว่าผมคิดอย่างไร หรือผมรู้อย่างไร แล้วเรามาแลกเปลี่ยนกัน
  • สำหรับเรื่อง สถิติ ยังอยู่ในความตั้งใจครับ แต่ไม่ได้มีโอกาสกลับมาเขียนต่อสักที เนื่องจากอะไรหลายๆอย่างไม่อำนวย ระหว่างที่หายไป จริงๆแล้วก็มีหลายคนเขียนจดหมายอิเลคโทรนิคมาพูดคุยและขอคำแนะนำเรื่องการวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งมีทั้งที่ผมพอช่วยเหลือได้ และช่วยเหลือไม่ได้ หากมีโอกาสแล้วจะกลับมาเขียนต่อให้จบครับ ยังมีเรื่อง t-test, paired t-test, ANOVA, Mann-Whisney, Wilcoxon, Friedman, นี่ยังไม่รวม kappa, การคำนวณด้าน diagnostic statistic อย่างเช่น prevalence, sensitivity, specificity, false positive rate, false negative rate..... อีกเพียบเลย
  • สำหรับครูอ้อย ตอนนี้คิดว่าสถิติคงเป็นของกล้วยๆ ไปแล้วใช่ไหม เพราะเรียนผ่านไปแล้ว 1 course
  • แวะมาเรียนวิจัยคะ
  • อิอิ เป็นคนไร้กรอบคะ
  • เลยหากรอบทำงานวิจัยไม่ได้สักที
  • ได้แต่คิดจะทำเรื่องอะไรดีน้า...เรื่องที่อยากทำบางทีชาวบ้านทำเยอะแล้ว
  • แต่เรื่องที่สนใจตอนนี้เขาดันไม่ยอมให้ทำคะ

ชอบบันทึกนี้จัง ดิบดี  ตรงไป ตรงมา ไม่อ้อมค้อม  แต่ชอบ comment ของครูอ้อยมากกว่า " เข้าใจแล้วค่ะคุณครู..หนูจะตั้งใจเรียนค่ะ..คุณครูไมโต.. 

ที่ภาคฯ เราก็พยายามทำอยู่  บรรยากาศ R2R ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่า OK เลย เสียดายที่คุณไมโตไม่อยู่     

คุณเอกครับ P

  • ผมพบว่าหลายๆครั้ง ผมนิยามคำว่าการทำวิจัย ไม่ตรงกับชาวบ้าน ชาวเมืองหลายๆคน แต่นั่นคงไม่ใช่ประเด็นหลักครับ ตราบใดที่เราคิดว่า สิ่งที่ทำเป็นการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นงานหรืออะไรก็ตามที่อยากจะทำ แล้วทำให้มันดีขึ้น ผมถือว่าเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น และสมควรทำอย่างยิ่ง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการทำด้วยกระบวนการทางวิจัยหรือไม่
  • ในความหมายของผม ซึ่งอาจจะแตกต่างจากทฤษฎีอื่นๆ งานวิจัย คือการตอบคำถาม เพราะฉะนั้น สิ่งเริ่มต้นของงานวิจัย คือคุณต้องมีคำถามที่ยังสงสัยอยู่ เพื่อที่จะหาคำตอบ  ซึ่งวิธีการตอบคำถามนี่แหละ ที่จะบอกว่างานนั้นเป็นงานวิจัยหรือไม่
  • ผมอธิบายความเพิ่มเติมอีกนิดนะ คือคำถามทุกคำถามที่ถามขึ้น มันต้องมีแนวทางในการตอบคำถาม วิธีการในการตอบคำถามนี่แหละ ถ้าใช้วิธีการบ้านๆ หรือใช้ประสบการณ์ของเรา ก็ตอบคำถามได้แล้ว แต่ถ้าถามว่าคุณแน่ใจได้อย่างไรว่า ประสบการณ์ของคุณที่คุณตอบคำถาม เป็นสิ่งที่ถูกต้อง.....ทีนี้แหละ ก็ต้องใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาจับ ตั้งแต่การออกแบบวิธีการ การเก็บตัวอย่าง การทำการทดสอบ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติช่วย โอ้ย สารพัด ล้วนเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ทำซ้ำได้ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่ตอบนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ ซึ่งไอ้อย่างหลังนี่แหละ ที่ผมเรียกว่า งานวิจัย ซึ่งเป็นไปเพียงเพื่อให้พิสูจน์ได้ ว่าคำตอบของเราน่าเชื่อถือ มากกว่าที่จะบอกว่า.....จากประสบการณ์ของผมที่ผ่านมาชั่วชีวิต ผมคิดว่า........(แม้ว่าคำตอบของสิ่งนั้นจะเหมือนกันก็ตาม)
  • หัวใจของงานวิจัยคือ กระบวนการ.....อันนี้ผมไม่แน่ใจนะ ขึ้นอยู่กับว่าเราตีความ คำว่ากระบวนการนี้ครอบครุม และกว้างแค่ไหน .....งานวิจัย....ถ้าผมตอบแบบไม่เป็นวิจัย ....ผมขอตอบว่า หัวใจของงานวิจัย อยู่ที่การตอบคำถามอย่างไร ให้น่าเชื่อถือ ไอ้คำว่าน่าเชื่อถือนี่แหละ คือวิธีการในการทำงานวิจัย เพราะมีอีกตั้งหลายร้อยหลายพันวิธี  เป็นเส้นตรงกว่าด้วย ไม่ต้องโค้งคดเคี้ยว เป็นพันโค้ง เพื่อที่จะพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เหมือนที่งานวิจัยทำ ไอ้คำว่าน่าเชื่อถือนี่แหละ ที่ทำให้ทำไมเราต้องเก็บตัวอย่างเป็นร้อย เก็บเพียง 10 ตัวอย่างไม่ได้เหรอ  ไอ้คำว่าน่าเชื่อถือนี่แหละ ทำให้เราต้องขวนขวายไปหาตำราทางสถิติมานั่งอ่าน หรือสอบถามผู้รู้ ทั้งๆที่ข้อมูลมันก็เห็นอยู่โทนโท่จะให้สรุปให้แตกต่างจากที่เห็นได้อย่างไร
  • มาอีกเรื่อง คือการหลุดกรอบ..... ถ้าหมายถึงกรอบการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว เราหลุดออกไปไม่ได้ครับ เพราะถ้าหลุดออกไปแล้ว สิ่งที่ตามมาคือคำตอบของเรายังจะน่าเชื่อถืออยู่อีกหรือไม่ แต่ถ้ากรอบของการคิดล่ะก้อ ผมคิดว่า เราหลุดกรอบได้ตลอดเวลา และสมควรอย่างยิ่งที่ไม่ควรจะมีกรอบครอบความคิดไว้ อันจะทำให้ลดความคิดสร้างสรรค์ลงไป ผมเรียนสายวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด การเรียนวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีกรอบของการคิด ติดอยู่บนหลักของเหตุผล ที่เรามักจะตอบตัวเองว่า....อย่างนี้ได้ ....อย่างนั้นไม่ได้.....หรือ 1+1 มันต้องได้เท่ากับ 2 จะเป็นอื่นไปไม่ได้   มีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อขนมไป 5 บาท จะได้เงินทอนกี่บาท .....บทเรียนสายวิทยาศาสตร์สอนให้ผมตอบว่า ได้เงินทอน 5 บาท เป็นคำตอบสุดท้าย ซึ่งอาจไม่เป็นจริงครับ เพราะในชีวิตจริง เจ้าของร้านอาจไม่มีเหรียญ ห้าบาทไว้ทอน จะทอนเหรียญบาทให้ก็อาจมีไม่พอ ก็เลยทอนให้ 4 บาท กับลูกอมอีก 2 เม็ด เห็นไหมว่า การมีกรอบทำให้เรายึดติด และการเรียนสายวิทยาศาสตร์ กรอบของเหตุผลนี่แหละ ที่ทำให้คนขาดความคิดสร้างสรรค์ ผมเคยเรียนปริญญาโทร่วมกับคนที่จบมาทางสายศิลป์ ผมค่อนข้างประหลาดใจว่า ทำไมคนเหล่านี้ ถึงคิดอะไรได้แปลก และแหวกแนว ซึ่งคนอย่างผม มักจะคิดไปไม่ถึง ผมมาถึงบางอ้อ....อ๋อ...ก็เขาไม่มีกรอบของเหตุผลมาคิดไง สิ่งที่เขาคิด มีเพียง ปัญหา และ ทางแก้ปัญหา ทุกอย่างเปิดหมดสำหรับเขา ทุกคำตอบล้วนสามารถแก้ปัญหาได้ อันจะทำให้เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับเรา สุดท้ายเมื่อได้ทางเลือกที่หลากหลาย แล้วค่อยมาหาข้อสรุป โดยการ take ค่า probability เข้าไป ผมหมายถึงว่า ดูว่าแต่ละทางเลือกนั้นมีโอกาสความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นกับปัจจัยอื่นอีกหรือไม่ แล้วค่อยเลือกทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด
  • การหลุดออกจากกรอบของเหตุผล  ช่วยให้เรามองเห็นทางเลือกในการตอบคำถามได้กว้างขวางขึ้นครับ แล้วการ take ค่า prob เข้าไป เป็นการดึงกลับเข้ามาสู่โลกของความเป็นจริง ทำให้เราได้วิธีการที่น่าสนใจในการแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น ด้วยวิธีการที่อาจจะแปลก และแตกต่างไปจากที่หลายคนคาดคิดไว้
  • ถ้าให้สรุป ว่านักวิจัยและนักพัฒนา จำเป็นต้องมีคุณสมบัติใด ผมเลือกที่จะตอบว่า.....สิ่งสำคัญที่สุดที่นักวิจัย ต้องมี.....คือ ทำครับ....นักวิจัยต้องลงมือทำ.....เพราะการลงมือทำเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้งานก้าวหน้า....หากปราศจากการทำแล้ว.....งานก็ยังคงอยู่ที่เดิม   ไม่ว่าจะพูดยังไง ก็ยังคงอยู่ที่เดิมครับ นั่นคงเป็นที่มาของการที่หลายคนเลือกที่จะไม่เป็นนักวิจัยครับ.....เพราะ...ไม่อยากทำ

 

สวัสดีครับ
  • สายัณห์สวัสดิ์ครับ ดีจังเลย ที่เจอเพื่อไร้กรอบด้วยอีกคน คำว่าไร้กรอบนี่ทำให้นึกถึง คุณไร้กรอบครับ หายไปนานเหมือนกัน คงนานพอๆกับผมละมั้ง
  • ถ้าอยากทำวิจัย.....เริ่มต้นที่ ทำครับ อย่าเริ่มต้นที่คิด.... เพราะถ้าเริ่มต้นที่คิดว่าจะทำ แล้วสุดท้ายจะไม่ได้ทำครับ.....ให้เริ่มต้นที่ทำ....เพราะการทำ สุดท้ายจะทำให้เราคิดเองครับ เพื่อที่จะได้ไปค้นคว้า หาข้อมูลเพิ่ม ดูว่าใครทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังเหรอช่องว่างตรงไหนให้เราทำอีก....สารพัดครับ
  • ถ้าไม่รู้จะทำอะไร แถมยังคิดไม่ออกอีกล่ะก้อ ลองกลับไปอ่านเยอะๆครับ การอ่านเรื่องราวผ่านตาเยอะๆ จะช่วยให้เราคิดออกครับ ว่า คนเก่งมีความสามารถสูงอย่างเรา สมควรจะทำเรื่องอะไร......ถ้ายังหาเรื่องที่เหมาะสมกับเราทำไม่ได้ ....แสดงว่าเรายังเก่งไม่พอครับ ....ต้องกลับไปอ่านเพิ่ม.....อิ อิ
  • มีคนเคยบอกผมว่า คำว่าไม่.....ไม่ได้หมายความว่าไม่.....แต่หมายความว่า.....เรายังเข้าไม่ถูกช่อง......ผมเชื่อว่าคำพูดนี้ สามารถตอบประเด็นสุดท้ายของคุณ naree suwan ได้ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ปารมี

  • รู้สึกดีใจที่ R2R ของภาคเราก้าวหน้าไปด้วยดีครับ จินตนาเล่าให้ฟังบ่อยๆครับ
  • ผมห่างหายการเขียนบันทึกแบบนี้ไปนานครับ พอดีช่วงนี้ค่อนข้างเครียด ก็เลยหาโอกาสคลายเครียดครับ เลยทบทวนตัวเอง แล้วขุดเรื่องที่อยากเขียน ออกมาเขียนครับ นับเป็นการใช้เวลาที่ไม่ค่อยจะคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการมีเวลาจำกัดที่ต้องอยู่ต่างแดน แต่นับได้ว่าไม่เป็นการปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์ครับ

พ่อดอกมะลิเพื่อนฉัน

  • ฉันไม่เสียดายโอกาสที่ได้เข้ามาอ่านบันทึกทีหลังเพื่อน....เพราะฉันไม่ค่อยได้ออกจากบ้านไปตามบันทึกต่างๆจริงๆ...เลยไม่ทราบว่าพ่อน่ะเปิดตัวเปิดบันทึกได้แล้ว....ทำให้ฉันได้อ่านข้อคิดที่ดีๆจากเพื่อนๆหลายๆคนต่อยอดอีกด้วยค่ะ......
  • ...บันทึกนี้เป็นบันทึกที่ดีมากๆ...ฉันเองก็เป็นกลุ่มที่จมอยู่กับการปฏิบัติงาน  เห็นปัญหา....แล้วก็วนเวียนอยู่อย่างว่านั่นแหละ...แม้อยากแก้ทั้งระบบแต่หากคนในระบบไม่เอาด้วย  ก็ได้แต่นั่งเหงา...ตบยุงไปแปะๆ...ทำได้ก็ปรับปรุงส่วนที่เรารับผิดชอบตรงๆ....
  • ฉันเคยวางแผนจะทำวิจัยเรื่องการใช้ดนตรีในคนไข้ block....คุณจำได้ไหม...ฉันเขียนดิบดี  แต่เขาบอกว่าตอนนั้นน่ะเขาสุ่มว่ายังมีคนอยากทำวิจัยในงานอยู่อีกไหมแค่นั้น...สุ่มเฉยๆๆๆ.......จนป่านนี้เกือบปี  ก็ยังไม่มีวี่แววว่าให้แม้ส่งโคร่งร่างเลย...จนไฟวิจัยฉันมอดมิด..ฉันเหลือเพียงไฟที่ทำพัฒนางานธรรมดาไม่ต้องวิจัยเต็มรูปแบบง่ายกว่า...เสียแต่ว่าจะเผยแพร่ไปไกลมากไม่ได้....เพียงพอใช้ในหน่วยงานเท่านั้น....
  • ...ขอบคุณค่ะที่ช่วยจุดไฟการทำวิจัยของฉันให้มันกลับมาใหม่....ฉันต้องกระพือมันอีกแค่ไหนไม่รู้.....ถึงจะโชดช่วงชัชวาลย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท