COP (สังคมอุดมปัญญา) คือ โลหะหนัก (Heavy metal) สำหรับ KM แบบระเบิดปรมาณู


นักวิชาการไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องนี้ แต่กลับทำตามสะดวกของตัวเอง ที่มักพลาด ในการหาที่จุดระเบิดจากข้างใน และกลายเป็นงานที่ไม่เกิดการขยายผลเท่าที่ควร ประสิทธิภาพต่ำ
 เมื่อผมนำเสนอแนวคิดการทำงานแบบระเบิดปรมาณูเมื่อวันก่อน ผมได้รับคำถามแบบกินใจจาก
P

  ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร ว่า 

อยากได้ข้อเสนอแนะทำนองนี้อีกมาก ๆ ครับ และถ้าจะกรุณาช่วยกันคิดแปลงเป็นวิธีปฏิบัติที่เข้าใจและสามารถลงมือทำได้โดยง่ายยิ่งจะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น 

ผมก็เอาคำถามนี้มาคิดและหารือกับเครือข่ายการพัฒนาภาคประชาชน หลายหน่วย เมื่อวานนี้ ในที่ประชุมสรุปบทเรียนการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ ของกระทรวงเกษตรฯ

สมาชิกแกนนำหลายท่าน เขาบอกให้ผมกลับมาบอก และยืนยันว่า

 

การทำงานเราจะเริ่มที่จุดที่อ่อนแอไม่ได้  

 

ต้องเริ่มที่จุดมีพลัง เข้มแข็ง ชัดเจน ที่พร้อมจะระเบิดขยายผล  

 

แบบเดียวกับระเบิดปรมาณู ที่จะต้องเริ่มด้วยการยิงนิวตรอน เข้าไปที่อะตอม (ปรมาณู) ของโลหะหนัก ที่มีพลังสูงอยู่ในตัว  

 

นิวตรอน คือ Knowledge

 

การยิงนิวตรอน คือ วิธีการทำงานที่ได้ผล (หรือ Best practice)

 

ที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนเชิงแนวคิด และ เกิดแรงระเบิดจากข้างใน ของโลหะหนัก หรือ บ่มเพาะจนหนัก (เพราะสังคมมีชีวิต เจริญเติบโตได้) ของ สังคมอุดมปัญญา” (Community of practice) ที่ไม่ต้องมีมาก แม้แกนก็มีแค่ ไม่กี่ครัวเรือนก็ได้ แต่ต้องพร้อมระเบิด เป็นเงื่อนไขหลัก

 
  • แล้วให้ระบบขยายผลด้วยตัวมันเอง  
  • เราจะทำงานได้อย่างคุ้มค่า ประหยัด และ
  • มีประสิทธิภาพในทุกๆด้าน   

การทำงานแบบเครือข่ายที่มีพลังสูง มีกิจกรรมอยู่แล้ว มีแกนนำ และสมาชิกที่มีความพร้อมสูง ที่จำเป็นต้องมีการค้นหาในชุมชน ในเขตพื้นที่ทำงานของแต่ละพื้นที่

  

จากประสบการณ์พบว่า นักวิชาการไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องนี้ แต่กลับทำตามสะดวกของตัวเอง ที่มักพลาด ในการหาที่จุดระเบิดจากข้างใน และกลายเป็นงานที่ไม่เกิดการขยายผลเท่าที่ควร ประสิทธิภาพต่ำ

  

ซึ่งเปรียบเสมือนการจุดระเบิดในจุดที่ระเบิดยากนั่นเอง แม้จะใช้ความพยายามมากเท่าใด ก็จะไม่ค่อยได้ผล

   ผมจึงหวังว่า มหกรรม KM ภูมิภาค ที่ ม. นเรศวร

ควรจะจุดประกายแนวทางการทำงานกับชุมชนแบบ ระเบิดปรมาณู (นิวเคลียร์) นี้ให้ชัด  

หมายเลขบันทึก: 129685เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 08:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณท่าน อ.แสวง และทีมงานมากครับที่กรุณาช่วยกันคิดและเสนอแนะ ผมได้ idea และเกิดความมั่นใจในการจัดมหกรรม KM ภูมิภาคมากขึ้นเยอะเลยจากบันทึกของอาจารย์ จะพยายามทำให้ดีที่สุด ขอบคุณอีกครั้งครับ

ผมขออนุญาตเพิ่มเติมอีกนิดนึงครับว่า ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ไม่ควรเริ่มต้นจุดระเบิดที่นักวิชาการ แต่เราควรรู้จักใช้ศักยภาพและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในอันที่จะมาเป็นเบ้าหลอมบ่มเพาะให้เกิดการจุดระเบิดจากภายในชุมชนและขยายผลต่อไปด้วยพลังของเครือข่าย

สวัสดีครับ
 .... ต้องเริ่มที่จุดมีพลัง เข้มแข็ง ชัดเจน ที่พร้อมจะระเบิดขยายผล ...
    
ใช่เลยครับ ที่ผ่านมามีการออกแรง สูญเสียเวลาและทรัพยากรกันไปไม่น้อยเลย เพราะไม่ตระหนักในเรื่องนี้ .. ทำสิ่งที่ไม่ถนัด ทำในสิ่งที่ไม่รู้จริง .. ที่ควรจับมือกันได้ในเครือข่ายดีๆที่มีอยู่ก็ไม่ทำ  กลับดันไปแข่งขันกันทำจนเข้ารกเข้าพงไปก็มีไม่น้อย .. อนิจจา !

  • กระผมอยากขออนุญาตเสนอว่า  ถ้ามหาวิทยาลัยจะมองไปที่จุดเชื่อมต่อระหว่างนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยกับชุมชน  ให้เชื่อมกันได้โดยสนิทและกลมกลืนยิ่งขึ้น  พร้อมเกิดผลพลอยได้ที่เจ้าตัวกระเปี๊ยกที่เป็นอนาคตของชุมชน  จะได้มีประสบการณ์การเรียนรู้จากผู้ใหญ่ไปพร้อมกัน  ก็คือ  สถานศึกษาในชุมชนนั้นๆทุกระดับครับ
  • สวัสดีครับ

ขออนุญาตเพิ่มเติมอีกนิดครับ

  • แนวทางดังที่กระผมเสนอ ถือว่าเป็นการเพิ่มพลังของปรมาณูอีกส่วนหนึ่งด้วยนะครับ
  • สวัสดีครับ

ตอนนี้ ถ้าเราจะใช้แนวคิดระเบิดปรมาณู เราต้องคิดและเตรียม

  • ความรู้ที่พร้อม และมีพลัง
  • เทคนิคและวิธีการนำความรู้ไปจุดระเบิด
  • พื้นที่ที่เหมาะกับการจุดระเบิด
  • การดูแลให้มีแรงระเบิดพอเพียงที่จะขยายผล

ที่ผมทำตอนนี้ ผมกำลังลองใช้

  • การทำนาแบบประหยัด ลคค่าใช้จ่าย และระบบการเกษตรพึ่งตนเอง ปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
  • ใช้ระบบการทำงานของกลุ่ม NGO และองค์กรภาคประชาชน เป็นกระบอกปืน
  • ใช้แกนนำของเครือข่ายเป็นเป้าหมายของการจุดระเบิด
  • แต่ผม มีเวลาไม่มาก จะใช้ระบบการทำงานของเครือข่ายเป็นตัวฟูมฟักให้มีพลังการจุดระเบิด

นี้เป็นตัวอย่างที่ผมทำจริงๆครับ

การทำนาแบบประหยัด ลคค่าใช้จ่าย และระบบการเกษตรพึ่งตนเอง ปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 

  • เป็นแนวทางเดียวกับที่โคกเพชรกำลังลุยอยู่พอดีครับ เพราะเห็นว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสังคมชนบท  ถ้าชาวนาทำนาได้ข้าวสมน้ำสมเนื้อกับที่นา ในขณะที่ลงทุนต่ำ พึ่งตัวเองเป็นสำคัญ มีพืชและสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆเป็นตัวเสริมเติมเต็ม  รับรองเศรษฐกิจมวลรวมไปโลดแน่ๆ (3 เรื่องล่าสุดของเว็บไซต์โคกเพชร  ว่าด้วยเรื่องนาข้าวเป็นหลัก  เพราะประจักษ์ในพลังปรมาณูของนาข้าวชาวนา)  แต่ยังขยายผลองค์ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริงในเรื่องดังกล่าวได้ไม่มากนัก  เพราะชาวนาตั้งหลักตั้งลำยังไม่ใคร่ได้ (เมาหนี้กรุงเทพฯกันอยู่) แต่คาดว่าหลังฤดูเก็บเกี่ยวปีนี้  จะมีชาวนาร่วมลุยกับโคกเพชรหลายสิบราย เพราะเห็นจริงกับตามาหลายครั้งแล้ว  ว่าทำนาแบบโรงเรียนโคกเพชรนั้น  เชื่อขนมกินล่วงหน้าได้เลย  ไม่ว่าฝนจะตกแบบลานีญ่า หรือเอลนีโน่  นาโคกเพชรก็ได้ข้าวเต็มที่ ในขณะการลงทุนก็ถูกกว่ากันเยอะเลย)
  • สวัสดีครับ

ขอบคุณครับ จะตามไปดูครับ

ผมกำลังสร้างเครือข่าย

ทำได้สัก ๒-๓ ครัวเรือนก่อนก็ได้ แล้วค่อยปล่อยให้ระเบิดทีหลัง

ทำไมเรารู้จักกันช้าจัง!!!!!!!!!

  • ขอบพระคุณพ่อครูบา  ขอบคุณ อ.ขจิต ขอบคุณ G2K  และน้องRak-na  ที่ทำให้ผมไดรู้จักท่านอาจารย์  คงไม้ช้าจนเกินไปนะครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์แสวง

  • เรื่องนี้ นิวตรอน โปรตอน อิเลคตรอน ทำให้ผมนึกถึงเรื่อง การชนของอนุภาคขึ้นมาเลยครับ ว่าด้วยเรื่องของการถ่ายเทประจุ Charge Transfer
  • เป็นการทดลองยิงโปรตอนไฮโดรเจน เข้าไปยัง ไฮโดรเจนอะตอมที่มี โปรตอนของ H และ electron วิ่งหมุนอยู่รอบๆ
  • การทดลองอยากจะทราบว่าเปอร์เซนต์ของการเกิดการถ่ายเทของประจุ เกิดกี่เปอร์เซนต์
  • ซึ่งมีกรณีที่เป็นไปได้ในการเกิดหลังจากโยนเข้าไปแล้ว เช่น การแลกเปลี่ยนของประจุ หรือการเกิดการชนแล้วกระเด็นกระจาย หรือการไม่เกิดการเปลียนแปลงใดๆ
  • อาจจะมองแล้วไม่เกี่ยวหรือเกี่ยวกับบทความก็ได้นะครับ
  • และมีคนกล่าวพาดพิงอาจารย์ไว้ในนี้นะครับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามแนวทางโมเดลหินสองก้อน
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

คุณเม้ง

มองภาพหินซ้อนกันแล้วเพิ่งเข้าใจความคิดของคุณมากกว่าที่คุยกัน

คุณคิดว่าแค่หินซ้อนกันก้พอใช่ไหม

แต่ผมกำลังมองวงกลมซ้อนกัน ที่อาจเข้าใจยาก แต่อธิบายเชิงแนวคิดได้ง่าย

OK ผมพอตามความคิดคุณได้ทัน

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • ผมเพียงเบิกโรงเอาไว้นะครับ
  • ในกรณีอื่นๆ ให้ร่วมกัน ลปรร. แล้วผมจะสรุปอีกทีครับ ว่าหน้าหินหรือจุดสัมผัสของหินนั้นคืออะไร
  • แล้วหน้าหินสัมผัสจะคงที่เปลี่ยนแปลงอย่างไร
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ สำหรับความเห็น ผมชอบมากๆ เลยครับ ผมยังไม่ตอบก่อนนะครับ บ่มไว้ให้คนอื่นต่อยอดก่อนครับ
  • จิบไวน์ดีๆ ต้องใส่ปากแล้วตวัดลิ้นให้ทั่วสารละลายก่อนจะกลืนลงท้องใช่ไหมครับ เค้าว่าจะได้รสกว่า (เค้าว่ามาอย่างนั้น ทำตามแล้วก็น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ) แต่ไว้นานไปก็ไม่ได้ครับ ตุ่มรับรสจะชาไปครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับคำถามสองข้อที่ฝากไว้ ผมชอบแนวทางการกระตุกต่อมคิดแบบนี้เยอะๆ ครับ
  • เพราะนั่นคือ แนวทาง...หนึ่งในการต่อยอดเพื่อขยับเคลื่อนหินนะครับ...เพื่อหาหน้าสัมผัสที่เหมาะสมและยั่งยืนครับ
  • ขอบคุณมากครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท