50เคล็ดลับช่วยเด็กสมาธิสั้น


add

 

 

มีพี่ๆท่านหนึ่งได้พยายามค้นคว้าหาความรู้และสิ่งใหม่ๆเพื่อเผยแพร่ให้เพื่อนๆได้รับรู้สิ่งต่างๆเพื่อไปใช้ในอาชีพครู ดิฉันเห็นว่าน่าจะลองนำไปใช้สำหรับท่านที่พบกับปัญหานี้ค่ะ

เคล็ด 50 อย่างในการช่วยเด็กสมาธิสั้น (ADD) ในห้องเรียน

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ สุคนิชย์ add ย่อมาจากคำว่า attention deficit disorder หมายถึงโรคสมาธิสั้น ครูอาจารย์รู้หลายอย่างที่แพทย์ไม่รู้ นั่นก็คือ อาการของ ADD ปรากฏ ได้หลายแบบมาก ซ้ำยังเกิด ร่วมกับ ความผิดปกติอื่นๆ อีก เช่น learning disabilities หรือปัญหา ทางอารมณ์ ราวกับว่า ปัญหาของ ADD เปลี่ยนตาม สภาพอากาศ ไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ แม้วิธีการรักษา ADD จะมี ปรากฏ ในหนังสือ มากมาย แต่ก็ยังคง เป็นงานยาก และหนัก กับผู้ปฏิบัติเสมอ ไม่มีทางออกง่ายๆ สำหรับ การแก้ปัญหา ของ ADD ในห้องเรียน หรือที่บ้าน ความสำเร็จ ของการรักษา ในโรงเรียน ขึ้นอยู่กับ ความรู้ และความหนักแน่น สม่ำเสมอ ของครู และโรงเรียน เป็นอย่างมาก ต่อไปนี้เป็นเคล็ดบางประการในการช่วยเด็ก ADD ในโรงเรียน โดยมุ่งให้ครูอาจารย์ช่วยเด็กได้ ในทุกวัย แต่ครูอาจเห็นว่า บางข้อเหมาะสำหรับเด็กบางวัยมากกว่า อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่อง การมีกรอบ, การให้ความรู้ และการชักจูงสนับสนุน ยังคงเป็น แนวคิดหลักเสมอ 1) ข้อแรกคือ ท่านต้องมั่นใจว่าท่านกำลังช่วยเด็ก ADD มิใช่เป็นปัญหาของการได้ยิน การมองเห็น
2) หาผู้สนับสนุนท่านคือโรงเรียนและผู้ปกครอง การมีเด็ก ADD อยู่ในชั้น 2-3 คนก็เป็นเรื่องเหนื่อย มากอยู่แล้ว หาผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาได้ เช่น นักการศึกษาพิเศษ จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาประจำ โรงเรียน หรือกุมารแพทย์ หาความร่วมมือจากผู้ปกครอง และหาเพื่อนครูมาช่วย
3) จงรู้จักข้อจำกัดของตนเอง อย่ากลัวที่จะขอความร่วมมือ ครูคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ADD
4) ถามเด็กว่าจะให้ช่วยอย่างไร เด็กเหล่านี้มักบอกได้ว่า อยากให้ท่านช่วยอย่างไรเมื่อถูกถาม อย่า อายที่จะถามเด็ก พยายามหาเวลาคุยกับเด็กตามลำพังและถามเขา คนที่ตอบได้ดีที่สุดเสมอคือตัว เด็กเอง ซึ่งเรามักละเลยมองข้ามไม่ถามจากเขา ในเด็กโตควรช่วยให้เด็กเข้าใจด้วยว่า ADD คือ อะไร ซึ่งจะช่วยท่านได้มาก
5) ระลึกเสมอว่า การมีกรอบจะช่วยเด็ก ADD กรอบคือสิ่งรอบตัวที่ช่วยควบคุมตัวเขา เพราะเขาคุม ตน เองไม่ได้ การมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำช่วยเด็ก ADD ที่หลงออกไปกลับเข้ากรอบได้ พวกเขาต้องการสิ่งเตือน ต้องการการแนะ ต้องการการย้ำ ต้องการคำสั่ง ต้องการคนให้ ขีดจำกัด และต้องการกรอบที่ชัดเจนแน่นอน
6) อย่าลืมการเรียนกับความรู้สึก เด็กเหล่านี้ต้องการห้องเรียนที่สนุก รู้สึกว่าเขาทำได้ ไม่ใช่ล้มเหลว ต้องการความตื่นเต้นมากกว่าความเบื่อหรือความกลัว ควรให้ความสนใจกับเรื่องความรู้สึกคู่ไป กับการเรียนเสมอ
7) ให้เด็กเขียนกฎ ข้อตกลง แล้วติดในที่ที่มองเห็นได้ เป็นการแสดงให้เขารู้ว่า เขาควรทำอะไรบ้าง
8) ย้ำคำสั่ง เขียน พูดคำสั่งหลายๆครั้ง คนที่เป็น ADD ต้องการให้คนพูดย้ำหลายๆครั้ง
9) พยายามสบตาเด็กบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นวิธีดึงเด็กกลับมาจากความคิดว่อกแว่ก ทั้งเป็นการให้ขั้นตอน เด็กว่าถามได้ หรือแสดงว่าท่านสนใจเขาอยู่
10) ให้เด็กนั่งใกล้โต๊ะ หรือที่ที่ท่านยืนอยู่มากที่สุด
11) ให้ขอบเขตและข้อจำกัด โดยวิธีละมุนละม่อม ไม่ใช่ลงโทษ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้ง ทันท่วงที และง่ายๆ ไม่ต้องเข้าไปถกเถียงกับเด็กมากมายเหมือนทนายทำในศาล การพูดยิ่งยาวยิ่งไม่ได้ผล
12) ทำตารางเวลาให้สม่ำเสมอที่สุดที่ทำได้ ติดตารางบนโต๊ะเด็กหรือกระดาน ชี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ ถ้า ท่านจะเปลี่ยนตาราง ควรเตือนให้เด็กทราบก่อนหลายครั้ง การเปลี่ยนโดยไม่บอกล่วงหน้าทำให้ เด็กปฏิบัติตัวยากจนเหมือนไม่ร่วมมือ
13) พยายามให้เด็กจัดตารางเวลา หลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผัดผ่อน
14) พยายามลดการทดสอบย่อยๆกับเด็กเหล่านี้ เพราะไม่สามารถวัดความรู้จากเด็ก ADD ด้วยวิธีนี้ ได้
15) ปล่อยให้เด็กมีอิสระบ้าง เช่นให้ออกนอกห้องเป็นครั้งคราว ดีกว่าจำกัดไว้ แล้วเด็กหนีหายไปเลย เขียนไว้เป็นกฎ แล้วให้เด็กหัดควบคุมตนเอง
16) ให้การบ้านที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เด็ก ADD อาจทำไม่ได้มากเท่าคนอื่น ควรสอนวิธีคิดให้ เด็กในระยะเวลาเรียนเท่าเดิม แต่ไม่ให้งานมากจนเด็กทำไม่ได้
17) ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด และช่วยเตือนให้เด็กอยู่กับร่องกับรอย เขาจะรู้ว่าเขาควรทำอะไร และหากทำตามเป้าหมายได้ จะเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจเด็กอย่างมาก
18) ย่อยงานใหญ่ๆให้เป็นงานย่อยๆ ถือเป็นหัวใจหลักในการที่ครูจะสอนลูกศิษย์ ADD ได้ เด็ก ADD เมื่อเผชิญกับงานใหญ่มากๆ จะท้อก่อนทำว่า “ฉันไม่มีทางทำได้” แต่หากย่อยงานใหญ่มากๆ จะ เป็นงานย่อยๆที่เขารู้สึกทำได้ จะช่วยให้เขามั่นใจขึ้น โดยทั่วไปเด็กมีความสามารถที่จะทำงานได้ มากกว่าที่เขาคิดเองอยู่แล้ว แต่การย่อยงานให้เขาทำ จะช่วยพิสูจน์สิ่งนี้แก่เขา ในเด็กเล็กวิธีช่วย ให้เด็กหงุดหงิดอาละวาดลดลงได้มาก แต่ในเด็กโต ความรู้สึกเป็นคนแพ้จะลดลง ท่านควรทำเช่นนี้เป็นประจำ
19) ทำตัวในรื่นเริง ง่ายๆมีอารมณ์ขัน หาสิ่งแปลกใหม่เรื่อยๆเพื่อทำให้เด็กกระตือรือร้น และคง ความสนใจ เด็กเหล่านี้มีชีวิตชีวา ชอบเล่น เกลียดสิ่งน่าเบื่อ รวมทั้งกฎเกณฑ์ ตาราง รายการ และครูที่น่าเบื่อ ควรแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ จงลองทำตัว สนุกๆเป็นครั้งคราว จะช่วยได้มาก
20) ป้องกันการเกิดสิ่งเร้าที่มากเกินไป เด็ก ADD เหมือนหม้อตั้งไฟมีโอกาสเดือดล้นได้ตลอดเวลา หากเห็นห้องไม่มีระเบียบ จัดการเสียตั้งแต่ต้น อย่ารอให้เป็นจลาจล
21) หาสิ่งสำเร็จเล็กๆน้อยๆ ในตัวเขาเสมอ เด็กเหล่านี้เคยพบแต่ความล้มเหลว และเขาต้องการคน ให้กำลังใจ แต่อย่าทำจนเกินไป เด็กต้องการและได้ประโยชน์จากคำชม การให้กำลังใจ เหมือน ให้น้ำกับคนกระหาย หากมีน้ำก็รอดและเติบโต หากขาดน้ำมีแต่จะแย่ลง บ่อยครั้งที่ความเสียหายจาก ADD เองไม่รุนแรงเท่าความเสียหายจากความไม่มีความมั่นใจในตนเอง ให้น้ำแต่พอดีแล้วเด็กจะสำเร็จ
22) เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาความจำ ช่วยเด็กโดยแนะเคล็ดการช่วยจำ เช่น การย่อ ทำรหัส ผูกเป็น โคลง ทำสัญลักษณ์ หาเสียงคล้ายกัน จะช่วยเด็กได้มาก

23) สอนเด็กในการจำหัวข้อ ขีดเส้นใต้ ซึ่งเด็ก ADD มักไม่ทำ ถือเป็นการช่วยเตือนสติเด็กให้เรียนได้ ขณะกำลังเรียน อยู่จริง ซึ่งสำคัญที่สุกกว่าการให้ไปเรียนพิเศษเพิ่มทีหลัง
24) บอกเด็กก่อนว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรต่อไป บอกหัวข้อ แล้วค่อยตามด้วยเนื้อเรื่อง เด็ก ADD มัก เรียนจากการมองเห็นได้มากกว่าการฟัง ท่านอาจพูดไปเขียนไป เหมือนช่วยเติมกาวให้ความจำ
25) ใช้คำสั่งง่ายๆ ให้ทางเลือกง่ายๆ ให้ตารางง่ายๆ ยิ่งง่ายยิ่งเข้าใจได้ดี ใช้ภาษาให้น่าสนใจ เหมือน มีสีสัน จะช่วยดึงความสนใจ
26) เตือนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้มักไม่สามารถติดตามได้ว่าตนเองกำลังคิดหรือทำ อะไร การเตือนควรใช้คำถามที่สร้างสรรค์ เช่น “เมื่อกี้ หนูเพิ่งทำอะไร” “ถ้าให้ลองพูดอีกครั้งหนู จะพูดใหม่ว่าอะไร” “ทำไมหนูถึงว่าเด็กคนนั้นหน้าเสียตอนหนูพูดอย่างนั้น” คำถามเหล่านี้จะ ช่วยให้เขาสังเกตตนเองเป็น
27) ทำสิ่งที่คาดหวังจากเด็กให้ชัดเจน
28) การให้สะสมคะแนนเอารางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม เด็ก ADD ตอบสนองดีกับ การให้การจูงใจและรางวัล เขาชอบการท้าทาย
29) ถ้าเด็กเข้าใจภาษากาย เช่น ท่าทาง, น้ำเสียง, หรือกาลเทศะ ได้จาก ควรช่วยเด็กให้เข้าสังคม ได้ง่ายขึ้น เช่น สอน “ก่อนที่หนูจะเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง ถามว่าเขาอยากเล่าอะไรก่อน” “มอง หน้าคนอื่นด้วยในเวลาพูด” เด็ก ADD มักถูกมองว่า หยิ่ง เห็นแก่ตัว ซึ่งที่จริงเขาไม่รู้วิธีเข้า สังคม ทักษะพวกนี้แม้ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ก็สอนได้
30) สอนวิธีการทำข้อสอบให้เด็ก
31) ทำการเรียนให้เหมือนเล่นเกมส์ การสร้างแรงจูงใจช่วย ADD ได้มาก
32) แยกเด็ก ADD ออกจากกัน ไม่ให้เป็นคู่หรือกลุ่ม เพราะมักทำให้เด็กแย่ลง
33) ให้ความสนใจกับการมีส่วนร่วม เด็กเหล่านี้อยากเข้าร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ ตราบใดที่เด็กอยู่ใน ภาวะที่มีส่วนร่วม เด็กจะอยากทำและไม่ว่อกแว่ก
34) มอบความรับผิดชอบให้เด็กทำเองเสมอเมื่อเป็นไปได้
35) ลองทำบันทึกจากบ้าน โรงเรียน บ้าน ทุกวัน เพื่อช่วยให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจกัน และช่วยให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการ
36) ลองทำรายงานประจำวัน
37) ช่วยเด็กให้ทำรายงาน และให้เด็กสังเกตตนเอง แล้วพบอาจารย์หลังเลิกเรียนทุกวัน
38) จัดเวลาพักสบายให้เด็กไว้ โดยให้เด็กทราบล่วงหน้าเพื่อเด็กจะได้เตรียมใจ การให้เวลาพัก
โดย เด็กไม่ได้คาด จะทำให้เด็กตื่นเต้นและถูกกระตุ้นมากเกินไป
39) พึงชมเชย ให้กำลังใจ ยอมรับ ทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าเสมอ
40) สำหรับเด็กโต ให้เด็กจดคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างฟังไว้ นอกเหนือจากจดสิ่งที่ครูพูดให้ฟัง จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น
41)
ลายมือเด็กเหล่านี้ อาจไม่ดีนัก ให้เด็กหัดใช้แป้นพิมพ์ หรือตอบคำถามปากเปล่าบ้าง
42) ทำตัวเหมือนผู้ควบคุมวงดนตรี ทำให้ลูกวงสนใจก่อนเริ่มเล่น โดยอาจทำตัวเงียบ เคาะโต๊ะ แบ่ง เวลาให้แต่ละคนในห้อง โดยอาจชี้ให้เด็กช่วยตอบ
43) จัด “คู่หู” เพื่อนช่วยเรียน และให้เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อไว้
44) ช่วยอธิบาย ทำให้การรักษาดูเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อลดความอายของเด็ก
45) พบผู้ปกครองบ่อยๆ ไม่ใช่พบแต่เมื่อเกิดปัญหา
46) ให้อ่านออกเสียงที่บ้าน และในห้องเรียนเท่าที่เป็นไปได้ อาจให้อ่านนิทาน จะช่วยให้เด็กมี
ทักษะในการคงความสนใจอยู่กับเรื่องๆเดียวได้
47) พูดย้ำ ย้ำ และย้ำ
48) การออกกำลังกาย ช่วย ADD ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ การออกกำลังกายหนักๆ เพราะช่วย ทำลายพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิ และเป็นการกระตุ้นสารต่างๆในร่างกายซึ่งเป็น ประโยชน์และสนุก และเขาจะทำตลอดไป
49) สำหรับเด็กโต ช่วยเด็กเตรียมตัวเรียนสำหรับวันรุ่งขึ้น โดยคุยกับเด็กว่าเขาจะเตรียมตัวอย่างไร
50) มองหาส่วนดีที่ปรากฏขึ้นในเด็กเสมอ เด็กเหล่านี้มักฉลาดกว่าที่เราเห็น มีความสร้างสรรค์
 ขี้เล่น และเป็นกันเอง เขาพยายามจะ “กลับ” มาสู้เสมอ เขาต้องการกำลังใจและดีใจที่มีคนช่วย จำไว้ ว่าต้องมีทำนองก่อนจะเขียนโน้ตประสานเสียงเสมอ

 

หมายเลขบันทึก: 129680เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
สวัสดีครับ
50 เคล็ดลับที่นำมาฝากนี้ มีประโยชน์มากครับ
แต่แหม ใช้สีสันซะเพ่งอ่านยากเหมือนกันนะครับ

หากเด็กมีลักษณะในข้อดังกล่าวรวมกันมากกว่า 6 อาการด็กของท่านมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น

เด็กสามารถนั่งดูทีวี หรือเล่นวีดีโอเกมส์ได้เป็นชั่วโมง ทำไมหมอถึงบอกว่า เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น

ในขณะที่เด็กดูทีวี หรือเล่นวีดีโอเกมส์ เด็กจะถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาพบนจอทีวี หรือ วีดีโอเกมส์ที่เปลี่ยน

ทุก 2-3 วินาที จึงสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ สมาธิของเด็กมีขึ้นได้จากสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งตรงกันข้ามกับสมาธิ

ที่เด็กต้องสร้างขึ้นมาเอง ระหว่างการอ่านหนังสือ หรือทำงานต่าง ๆ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะขาดสมาธิอันนี้


โรคสมาธิสั้นมีสาเหตุจากอะไร    

การวิจัยในปัจจุบันพบว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมอง โดยมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ประมาณ 30-40% ของเด็กสมาธิสั้น จะมีคนในครอบครัวคนใด คนหนึ่งมีปัญหาอย่างเดียวกัน ปัจจัยจากการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการ หรือความผิดปกติดีขึ้น หรือแย่ลง

มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่ว ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น การวิจัยในปัจจุบันไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาล หรือช็อกโกแลตมากเกินไป การขาดวิตามิน  โรคภูมิแพ้ การดูทีวี หรือเล่นวีดีโอเกมส์มากเกินไปเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น

การดูแลรักษา

การดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกัน อาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ทั้ง ครอบครัว ครู และบุคลากรสาธารณสุข                        

การดูแลรักษาประกอบด้วย

1. เสริมสร้างศักยภาพครอบครัว ครอบครัวควรมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับธรรมชาติของโรค และแนวทางช่วยเหลือ มีทักษะในการดูแลอย่างเหมาะสม และมีเจตคติเชิงบวกต่อตัวเด็ก ควรมองว่าเป็นความบกพร่องที่ต้องช่วยกันแก้ไข แทนที่จะมองว่า เด็กขี้เกียจ ไม่สนใจเรียน ผู้ปกครองของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก การตี หรือการลงโทษทางร่างกาย เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล และจะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธ หรือแสดงพฤติกรรม คือ ต่อต้าน และก้าวร้าวมากขึ้น วิธีการที่ได้ผลดีกว่า คือ การให้คำชมหรือรางวัล (positive reinforcement) เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง และเหมาะสม รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิอื่น ๆ (negative reinforcement)

2. การใช้ยา

ในปัจจุบัน การใช้ยา ถือว่าเป็นมาตรฐานการรักษา ยาที่ใช้มีความปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ การเรียนดีขึ้น ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้น  ผลที่ตามมาเมื่อเด็กได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี คือ เด็กจะมีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) ดีขึ้น

3. การปรับพฤติกรรม

การจัดการกับปัญหาพฤติกรรม โดยใช้เทคนิควิธีที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาในเด็กลงได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดอุปสรรคในการเรียนรู้ ฝึกให้เด็กสามารถจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆได้นานขึ้น รู้จักการตั้งใจฟังคำสั่งที่มอบหมายให้ทำ รู้จักการรอคอย  การชมเชย หรือให้รางวัลเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการตัดสิทธิ หรืองดกิจกรรมที่เด็กชอบ จะเป็นวิธีการที่ได้ผลดี

4. การช่วยเหลือด้านการเรียนรู้

เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเรียน หรือเรียนได้ไม่เต็มศักยภาพร่วมด้วย ดังนั้น ครูจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้เรียนได้ดีขึ้น

 

เมื่อโตขึ้นเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีโอกาสหายมั้ย

มื่อผ่านวัยรุ่นประมาณ 30% ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากโรคนี้ และสามารถเรียนหนังสือ หรือทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องรับประทานยา ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้น จะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าเด็กดูเหมือนจะซนน้อยลง และมีความสามารถในการควบคุมตนเองดีขึ้น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว บางคนหากสามารถปรับตัว และเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนักก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ บางคนอาจจะยังคงมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการศึกษาต่อการงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

                                                                                                รวบรวมเรียบเรียงโดย อ.นันทา  เดชชัย งานแนะแนว

ค้นหาเพิ่มเติมให้นะครับอาจมีประโยชน์กับทุกท่าน

ข้อมูลเพิ่มเติมครับเพื่อประโยชน์สำหรับผู้อ่าน

เด็กสมาธิสั้น


เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น ได้รับการบรรยายในวารสารการแพทย์อย่างเป็นทางการเมื่อเกือบ 100 ปีแล้ว คือ ในปี ค.ศ. 1902 นายแพทย์ Still ได้บรรยายถึงเด็กกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีปัญหาซนและสมาธิสั้น เขาพบว่าสาเหตุเกิดจาก ปัญหาทางสมองและไม่ได้มีสาเหตุจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ต่อมาประมาณ ปี ค.ศ.1937 ได้มีการใช้ยากระตุ้นสมาธิในการรักษาโรคสมาธิสั้น จากนั้นถึงปัจจุบัน โรคนี้ก็ได้รับการศึกษามากขึ้น บางคนเชื่อว่า เกิดจากการกินอาหารบางชนิด เช่น สีแต่งอาหาร น้ำตาล ฯลฯ บางคนคิดว่าเกิดจากการเลี้ยงดู บางคนก็ว่าโรคนี้ไม่มีจริง เราลองมาดูว่า ในปัจจุบันวงการแพทย์เชื่อกันว่าอย่างไร
ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์ได้ศึกษาและพบว่าโรคนี้มีจริง และมีมากด้วยคือประมาณ 2-5% ของเด็กวัยเรียนเป็นโรคนี้ นั่นคือ ห้องเรียนหนึ่งจะมีเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นประมาณ 1-2 คน คำว่า
" สมาธิสั้น " ทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่าเด็กมีปัญหาสมาธิ แต่ในความเป็นจริงแล้ว งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าปัญหาของเด็กที่เป็นโรคนี้มิใช่อยู่ที่การควบคุมสมาธิเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่การควบคุมตนเองในหลายด้าน เช่น สมาธิอารมณ์การเคลื่อนไหว ฉะนั้นเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น " โรคสมาธิสั้น" จึงมักมีอาการร่วมหลายอย่างนอกจากสมาธิบกพร่อง เด็กมักจะซนใจร้อน ไม่เป็นระเบียบ ฯลฯ
โรคสมาธิสั้นและ/หรือซน ( Attention Deficit Hyperactive Disorder )ADHD
สมาคมจิตแพทย์ของสหรัฐอเมริกาได้ให้เกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้
อาการของโรค
1. สมาธิสั้น
1.1 อาการมักปรากฏออกมาในรูปของการไม่ใส่ใจในรายละเอียดเวลาทำงานหรือเรียน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ มักทำผิดบ่อยๆ ไม่ค่อยระวัง เลินเล่อ
1.2 ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมใดได้นาน ยกเว้นกิจกรรมที่ชอบมาก เช่น ดูวีดีโอ เป็นต้น
1.3 ดูเหมือนไม่ฟังเวลาผู้อื่นพูดด้วย ทำให้ดูเหมือนไม่ใส่ใจหรือดื้อ
1.4 เวลาทำอะไรมักทำไม่สำเร็จ เพราะว่าลืมหรือไม่ใส่ใจ ไม่ใช่เกิดจากการต่อต้านหรือไม่เข้าใจคำสั่ง
1.5 มีปัญหาในการจัดลำดับหรือระเบียบในกิจกรรมต่างๆ
1.6 มักหลีกเลี่ยงไม่ชอบหรือไม่อยากทำงานที่ต้องใช้สมาธินาน เช่น การบ้าน หรืองานที่ครูให้ทำ
1.7 มักทำของหายเป็นประจำ เช่น ของเล่น ปากกา ดินสอ หนังสือ ฯลฯ
1.8 วอกแวกตามสิ่งเร้าภายนอกง่าย เช่น เวลาอยู่ในห้องเรียนจะหันตามเสียงภายนอก เช่น เสียงรถได้ง่าย
1.9 หลงลืมง่าย สอนไม่ค่อยจำ
2. ซน - รอไม่ได้ - ไม่คิดก่อนทำ
2.1 มักขยุกขยิก แขนขาอยู่ไม่สุข เคาะโน่น เกานี่ ขณะนั่งเรียน
2.2 มักลุกเดินหรือไม่สามารถอยู่นิ่งได้ แม้ในเวลาที่จำเป็นต้องนั่งเฉยๆ
2.3 วิ่งหรือปีนป่ายเกินความจำเป็น
2.4 เล่นไม่เป็น เพราะทำตามกฎเกณฑ์ไม่ได้ รอไม่ได้ เล่นแรงเกินไป
2.5 เคลื่อนไหวตลอดเวลามีแต่จะไปไม่ยอมหยุด
2.6 มักพูดมาก
2.7 มักตอบคำถามก่อนที่ครูหรือพ่อแม่จะถามเสร็จ
2.8 รอคิวตัวเองไม่ได้ มักแซงคิว
2.9 ชอบแทรกเวลาพูดคุยหรือชอบแซงเวลาเล่นกับผู้อื่น
อาการข้างต้นจะต้องพบมากกว่า 1 สถานการณ์ เช่น พบทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านและจะต้องมีผลขัดขวางการเรียน การคบเพื่อนจะทำให้เกิดปัญหา เด็กบางคนมีอาการมากโดยเฉพาะข้อ 1 คือ สมาธิสั้นอย่างเดียว บางคนอาการมากในข้อ 2 คือซนด้วย บางคนมีอาการมากทั้ง 2 ข้อ
สาเหตุของโรค
1. พันธุกรรม มักพบว่าเด็กมีพ่อหรือญาติที่ตอนเด็กๆ ซน ใจร้อน หรือเป็นโรคนี้ ถ้าเป็นฝาแฝดก็มักเป็นโรคนี้ทั้งคู่
2. มีปัญหาทางสมองมาก่อน เช่น เคยเป็นไข้สมองอักเสบ มีอุบุติเหตุทางสมอง โรคลมชัก ฯลฯ
3. หาสาเหตุไม่ได้แน่ชัด การศึกษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่พบว่า เด็กที่ป่วยเหล่านี้มีความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ( Frontal lobes) ทำให้เด็กมีความผิดปกติในการหยุดยั้งหรือควบคุมตนเองคล้ายกับรถทีห้ามล้อ(เบรก) ไม่ดี ทำให้หยุดไม่ได้ หุนหัน หรือคุมสมาธิให้จดจ่อกับงานใดงานหนึ่งได้ไม่นาน, หงุดหงิดง่าย
โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ดี แต่การเลี้ยงดูที่ไม่ดี ทำให้เด็กมีอาการคล้ายโรคนี้ และในเด็กที่เป็นโรคนี้ การเลี้ยงดูอย่างไม่ถูกต้องจะทำให้เด็กมีอาการมากขึ้น
เด็กไม่เข้าใจว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เขาเป็นมาตั้งแต่เกิด ถามคุณแม่ดู คุณแม่หลายคนจะบอกว่า " ดิ้นเก่งตั้งแต่อยู่ในท้อง เดินเร็ว พอเดินได้ก็ซนมาก " " ไปโรงเรียนอนุบาลเขาก็ไม่อยากรับ เพราะซนมาก พอเข้าเรียนประถมก็เรียนแย่ ครูบอกว่าดื้อ ไม่ตั้งใจเรียน "
ส่วนมากพ่อแม่ คุณครูหรือเพื่อนไม่เข้าใจว่าแท้จริงแล้วเด็กป่วย เด็กไม่ได้อยากเป็นไม่ได้แกล้ง ผู้ใหญ่มักจะโทษเด็ก เข้มงวดมากเกินไป บางครั้งเกิดความเครียด และส่งเสียงดังกับเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่ดี ประเมินค่าตัวเองต่ำ ทำให้มีโรคซึมเศร้าหรือเกเรตามมาอีกยิ่งทำให้เป็นปัญหามากขึ้น
พ่อแม่ที่มีลูกสมาธิสั้นมักจะบ่นดังนี้
• พูดเข้าหูซ้าย ออกหูขวา สงสัยหูไม่ดี ขอหมอช่วยตรวจการได้ยินหน่อย
• สอนสูตรคูณ สะกดคำเมื่อคืน ตอนเช้าลืมหมด
• ของเอาไปโรงเรียน หายทุกวัน
• จะว่าสมาธิสั้นก็ไม่ใช่ ดูรายการการ์ตูนได้เป็นชั่วโมง
• เหมือนเหม่อลอยเก่ง ฝันกลางวัน
• ถ้าทำการบ้านแล้วไม่เฝ้าอยู่ใกล้ๆ ก็ไม่มีวันเสร็จ
• ตอนเด็ก ๆ อยู่อนุบาลซนมาก คลาดสายตาไม่ได้เลย
• ไม่รู้จักจดจำ เกิดเรื่องซ้ำแล้วซ้ำอีก
• เหมือนไม่รู้สึกเจ็บปวด
• ไปบ้านคนอื่นทำของเขาพังหมด ของเล่นที่บ้านก็พังทุกชิ้น
• ถูกชักจูงง่าย มักจะถูกกล่าวโทษอยู่เรื่อย
• ที่โรงเรียนเด็กคนอื่นมักล้อเขา เพราะรู้ว่าจะโกรธง่าย
• อารมณ์เสียง่ายมาก
• เหมือนพ่อเลย
• ตอนอยู่ในท้องดิ้นมาก พอเกิดมาเดินได้ก็ซนมากเลย
• เสียงดัง ชอบขัดจังหวะ
• ไม่กล้าพาไปตลาด หรือห้างสรรพสินค้า
• ชอบออกไปเล่นข้างนอก ไม่ชอบเล่นอะไรนิ่งๆ
• ย่าบอกว่าเหมือนผมตอนเด็กๆเลย
• ไม่รู้จักพอ ขอไม่หยุด
• ถ้าบอกว่าวันเสาร์หน้าจะพาไปเที่ยว ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์จะถามเซ้าซี่ไม่หยุดหย่อนซ้ำซาก
• เวลาฉันอยู่กับเขา อารมณ์เสียง่ายมาก เครียดมาก
• เล่นกับเพื่อนไม่เป็น เด็กคนอื่นไม่เล่นด้วยหนีหมด
• ทุกคนที่โรงเรียนรู้จักเขาหมด แต่ไม่มีใครชอบเขา
• วุ่นวาย การวิ่ง การเดินไม่เหมือนเด็กอื่น สะดุดหกล้มง่ายมาก
• เลอะเทอะ ไม่มีระเบียบ เสื้อหลุดลุ่ย ชอบทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมๆกัน
• บางวันก็ดี บางวันก็แย่มาก
• ต้องคอยอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา เวลาที่ทำการบ้าน
• ครูเขาว่าฉลาดทำได้ แต่ไม่ยอมทำ
• ดื้อจริงๆสอนเท่าไรก็ไม่จำ
• เขาชอบคิดว่าตัวเองโง่ ไม่เก่ง ไม่ดี
• ไม่ค่อยพยายามทำ ท้อใจง่าย ใจไม่สู้
เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น อาจมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วยได้ง่ายคือ
1. มีปัญหาเรื่องการเรียนเฉพาะอย่าง เช่น การอ่าน การคำนวณ หรือภาษา มีปัญหาเรื่องความประพฤติไม่ดี เช่น ต่อต้าน ก้าวร้าว เกเร
2. มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า
เด็กเป็นหรือเปล่า
ความจริงเด็กเป็นมาตั้งแต่ยังเล็ก แต่มาแสดงปัญหาชัดเจนในวัยเรียน เพราะตอนเด็กถ้าไม่ซนมากจนเกินไป ผู้ใหญ่มักยอมรับได้ ประกอบกับในวัยเด็กเล็กยังไม่จำเป็นต้องอยู่นิ่งเหมือนกับในวัยเรียนหากผู้ปกครองหรือครูสงสัยว่าเด็กจะเป็นโรคนี้ อาจจะลองทำ แบบประเมินพฤติกรรมดู
ถ้ารู้สึกว่าเด็กอาจเป็นโรคนี้ คงต้องพาไปหาจิตแพทย์เด็ก หรือหมอเด็ก จะช่วยวินิจฉัยได้ การวินิจฉัยได้จากประวัติข้างต้น แพทย์อาจต้องสอบถามประวัติจากครูด้วย อาจต้องอาศัยนักจิตวิทยาทดสอบสติปัญญาเด็ก และตรวจดูว่ามีความผิดปกติด้านอื่นหรือไม่ ที่สำคัญคือ แพทย์ต้องวินิจฉัยแยกโรคให้ได้ว่า อาการสมาธิสั้นหรือซน ไม่ได้เกิดจากภาวะอื่น เช่น เป็นเด็กซนปกติ ปัญญาอ่อน ออทิสติก ครอบครัวแตกแยก มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น วิตกกังวล หรือซึมเศร้า ฯลฯ ดังนั้น การวินิจฉัย ต้องอาศัยประวัติเป็นสำคัญ
เด็กอาจไม่แสดงอาการ ถ้าอยู่ในสถานการณ์ ดังต่อไปนี้
1. อยู่ด้วยกันหนึ่งต่อหนึ่ง ทำให้ไม่พบเห็นอาการขณะที่แพทย์ตรวจ
2. อยู่ในสถานการณ์ที่แปลกใหม่
3. ถูกขู่ให้หยุด
การรักษาโรคสมาธิสั้น ( ADHD)
พ่อแม่ที่มีลูกเป็นโรคนี้มักจะเครียด รู้สึกผิด รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถในการดูแลเด็กที่เป็นโรคนี้ พ่อแม่มีทางเลือก 3 ทาง
1. อยู่เฉยๆ เพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
2. ปฏิบัติกับลูกเหมือนเด็กคนอื่น ไม่ยืดหยุ่น ฝึกวินัยให้เข้มต่อไปเด็กก็ดีเอง
3. ยอมรับว่าเขาป่วย ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเด็กที่เป็นโรคนี้
การักษาด้วยยา
ยาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของการรักษา ร่วมกับการทำพฤติกรรมบำบัด และความร่วมมือในการปฏิบัติต่อเด็ก จากครูที่โรงเรียนและพ่อแม่ที่บ้าน เด็กสมาธิสั้นที่รับประทานแต่ยา แต่พ่อแม่หรือครูไม่ช่วยเด็กทางอื่นเลย ยาก็ได้ผลไม่เต็มที่
ส่วนมากถ้าเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย พ่อแม่มักจะยอมรับและเต็มใจให้เด็กรับประทานยา แต่ถ้าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น พ่อแม่มักคิดว่าเด็กไม่สมควรรับประทานยา เพราะยังไม่เข้าใจว่า สมองก็เป็นอวัยวะหนึ่งซึ่งเจ็บป่วยได้เหมือนกัน ดังนั้นพ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาต่อไป
ยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นมีหลายชนิด ชนิดที่ใช้บ่อยและได้ผลดีที่สุด คือ ยากระตุ้นสมาธิ ( CNS Stimulants) ซึ่งมีหลายอย่าง
ยาที่ใช้กันบ่อยที่สุด คือ Methylphenidate ยานี้ไม่ใช่ยากล่อมประสาท ไม่ทำให้เกิดการเสพติด ในเด็กที่เป็นโรคนี้ ถ้าเลิกใช้ก็ไม่สะสมในร่างกาย มีความปลอดภัยสูงผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ เบื่ออาหาร นอนยาก ซึ่งเป็นไม่นานก็หาย ยานี้ไม่ได้รักษาความดื้อหรือความก้าวร้าว แต่ทำให้เด็กมีสมาธิดีและนานขึ้น อยู่นิ่งมากขึ้น โดยออกฤทธิ์ผ่านสมอง เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ จะตอบสนองตัวยานี้ได้ดี ยาอยู่ในร่างกายประมาณ 3-5 ชั่วโมง ก็ถูกขับออกหมด โดยปกติแพทย์จะให้ยาเด็กตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน ผู้ปกครองบางท่านมักจะบอกว่า ใช้ยาไม่ได้ผล เพราะเห็นเด็กตอนบ่ายหลังกลับจากโรงเรียน ซึ่งยาหมดฤทธิ์ไปแล้ว การประเมินผลการรักษา จึงต้องอาศัยรายงานจากครูซึ่งอยู่กับเด็กในขณะที่ยากำลังออกฤทธิ์ ฉะนั้นในการรักษาแพทย์อาจจะค่อยๆปรับยา โดยให้ตอนเช้าและตอนกลางวัน อาจเพิ่มตอนบ่ายอีกเล็กน้อย ขอให้ผู้ปกครองปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด หากเด็กไม่ตอบสนองต่อยานี้ ก็ยังมียาตัวอื่นอีกหลายตัวซึ่งใช้ได้ดี
การวิจัยพบว่า การปรับหาขนาดยาที่เหมาะสมในเด็กแต่ละคนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กจึงควรประเมินผลการรักษาอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม
พ่อแม่ช่วยเหลือเด็กที่บ้านได้อย่างไร
1. ยอมรับและเข้าใจว่าเด็กป่วย มีความยืดหยุ่น คาดหวังเด็กตามความเป็นจริง
2. มีตารางเวลาที่แน่นอน เด็กเหล่านี้จะยิ่งสมาธิสั้นลง ถ้าหากที่บ้านปล่อยปละละเลย ไม่มีตารางเวลาหรือกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
3. คงเส้นคงว่าในการปฏิบัติต่อเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการฝึกวินัย
4. อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
5. ตั้งอยู่ในความสงบอย่าหงุดหงิดง่าย
6. อย่าต่อล้อต่อเถียงกับเด็ก ให้รางวัลเมื่อเด็กทำดีทันที
7. ให้ทำกิจกรรมครั้งละสั้นๆ ให้เหมาะกับสมาธิเด็ก แล้วค่อยๆเพิ่มระยะเวลาขึ้น
8. ท่องคาถาว่า " อดทนเข้าไว้ " เด็กเหล่านี้ฝึกไม่ง่ายแต่ก็ฝึกได้ ขอให้มีความมั่นคงทางใจและอดทน
9. ปรึกษาจิตแพทย์เด็กอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมของเด็ก เพราะการรักษาและคำแนะนำที่ให้กับเด็กแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป
คำแนะนำสำหรับครูในการปฏิบัติต่อเด็กสมาธิสั้นที่โรงเรียน
ขณะอยู่ในห้องเรียนเด็กมักสนใจเรียนไม่ได้นาน เหม่อลอย วอกแวก แหย่เพื่อน รบกวนคนอื่นๆ ไม่ตั้งใจเรียน ผลการเรียนไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งที่เด็กบางคนฉลาด ถูกตักเตือนหรือลงโทษบ่อย ถูกตำหนิว่าเป็นเด็กดื้อ
คุณครูสามารถให้ความช่วยเหลือเด็กได้ดังนี้
การช่วยเรื่องปัญหาเรื่องสมาธิสั้น
1. ตำแหน่งโต๊ะเรียน ไม่ควรให้เด็กนั่งติดหน้าต่างหรือประตู เพราะเด็กวอกแวกเสียสมาธิง่าย ควรให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู เพื่อคุณครูจะได้สามารถเตือนเรียกสมาธิเด็กได้ และให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่เรียบร้อย ไม่ชอบเล่นไม่ชอบคุยระหว่างเรียน
2. เมื่อเห็นว่าเด็กหมดสมาธิจริงๆ ควรให้เด็กมีกิจกรรมที่เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ควรอนุญาตให้เด็กลุกจากที่ได้บ้าง แต่ในทางสร้างสรรค์ เช่น ให้ไปล้างหน้า หรือมาช่วยคุณครูลบกระดาน หรือช่วยแจกสมุด เป็นต้น จะช่วยลดความเบื่อของเด็กลงและเรียนได้นานขึ้น
3. ในกรณีที่เด็กสมาธิสั้นมาก สามารถใช้วิธีลดระยะเวลาในการทำงานให้สั้นลง แต่ทำบ่อยกว่าคนอื่น โดยเน้นในเรื่องความรับผิดชอบ และความสามารถในการทำงานให้สำเร็จแม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายครั้ง
4. การสื่อสารกับเด็ก ควรสังเกตว่า เด็กอยู่ในภาวะที่พร้อมหรือมีสมาธิที่จะให้ความสนใจสิ่งที่คุณครูกำลังจะพูดอยู่หรือไม่ หากสนใจอยู่ก็สามารถพูดกับเด็กโดยใช้คำพูดที่กระชับได้ใจความชัดเจนได้ทันที หากเด็กกำลังอยู่ในช่วงเหม่อ วอกแวก หรือไม่ได้สนใจควรเรียกหรือแตะตัวอย่างนุ่มนวลให้เด็กรู้สึกตัว และหันมาสนใจเสียก่อนจึงสื่อกับเด็ก ในเด็กทีมีสมาธิสั้นบางครั้งเพียงใช้การบอก เรียก หรืออธิบายอย่างเดียว เด็กอาจไม่ฟังหรือไม่ทำตาม คุณครูจะต้องเข้าไปหาเด็กและใช้การกระทำร่วมด้วย เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมตามที่ครูต้องการ เช่น เมื่อต้องการให้เด็กเขามาในห้องเรียน หากใช้วิธีเรียกประกอบกับการโอบหรือจูงตัวเด็กให้เข้าห้องด้วย จะได้ผลดีกว่าการเรียกเด็กอย่างเดียว ซึ่งวิธีนี้เป็นการฝึกให้เด็กรับฟังและปฏิบัติตามผู้ใหญ่ได้ดีขึ้นในเวลาต่อมา
การช่วยเรื่องปัญหาพฤติกรรม
1. บรรยากาศที่เข้าใจและเป็นกำลังใจจะช่วยให้เด็กพยายามปรับปรุงตัวเองมากขึ้น ควรให้ความสนใจและชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี เช่น สนใจเรียนได้นาน ไม่รบกวนเพื่อน ช่วยงานครู พยายามทำงาน และเมื่อเด็กทำผอดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ควรใช้คำพูดปลอบใจ มีท่าทีเห็นใจ แนะนำวิธีแก้ไข
2. ไม่ประจาน ประณามหรือตราหน้าว่าเป็นเด็กไม่ดี และไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง หากเป็นพฤติกรรมจากโรคสมาธิสั้น/ซน เพราะเด็กคุมตัวเองได้ไม่ดี เช่น ซุ่มซ่าม ทำของเสียหาย หุนหันพลันแล่น แต่ควรจะปราม เตือนและสอนอย่างสม่ำเสมอว่าพฤติกรรมใดไม่เหมาะสม และพฤติกรรมที่เหมาะสมคืออะไร เปิดโอกาสให้เด็กได้แก้ไขด้วยตนเอง เช่น เก็บของเข้าที่ใหม่ ชดใช้ของที่เสียหาย หรือลงโทษเมื่อทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
3. เด็กอาจมีปัญหาการปรับตัวเข้ากับเพื่อน เพราะเด็กมักจะใจร้อน หุนหัน เล่นแรง ในช่วงแรกอาจต้องอาศัยคุณครูช่วยให้คำตักเตือน แนะนำด้วยท่าทีที่เข้าใจ เพื่อให้เด็กปรับตัวได้และเข้าใจกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
การช่วยเรื่องปัญหาการเรียน
เด็กสมาธิสั้นมักมีปัญหาการเรียนจากภาวะสมาธิสั้นเอง หรือ จากภาวะที่สมองมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้วย นอกเหนือจากสมาธิสั้น เนื่องจากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น/ซน นี้พบว่าประมาณ 25- 50% จะมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้เฉพาะด้านได้ เช่น การอ่าน การสะกดคำ การคำนวณเป็นต้น เด็กต้องการความเข้าใจและช่วยเหลือจากคุณครูเพิ่มเติมเป็นพิเศษ
สรุปการรักษา
1. การให้ยาเพิ่มสมาธิ มีความสำคัญมากในเด็กที่เป็นโรคนี้
2. การส่งเสริมให้มีสมาธินาน โดยไม่ใช้ยาโดยวิธีการต่างๆ ไม่ทำหลายกิจกรรมในเวลาเดียวกัน เช่น ไม่ดูทีวีและกินข้าว เล่นของเล่นทีละอย่าง เล่นเสร็จอย่างหนึ่งจึงจะเปลี่ยนไปเล่นอีกอย่างหนึ่ง แจกกระดาษให้เด็กวาดหรือเขียนทีละแผ่น ฯลฯ ถ้าเด็กทำได้ดีก็ให้คำชมเชยหรือให้รางวัล
3. ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสมาธิเด็ก เช่น ให้นั่งแถวหน้าใกล้ครู ให้งานทำทีละน้อยแล้วค่อยๆเพิ่ม
4. ฝึกให้รู้จักรอคอย คิดก่อนทำ ไม่วู่วาม ให้ใจเย็น หุนหันพลันแล่นให้น้อยลง เช่น ให้เด็กพูดกับตัวเองในใจก่อนจะมีการกระทำ
5. บอกเด็กล่วงหน้า มีตารางเวลาที่แน่นอน และปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา
6. ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง ด้วยความเข้าใจ รับฟัง ไม่ตำหนิ ประณามหรือดุด่า สอนให้มีทักษะในการเข้าสังคมและมารยาทให้ดีขึ้น
7. อาจต้องสอนพิเศษ ให้ความสนใจในวิชาที่อ่อน ในเด็กที่มีปัญหาการเรียนร่วมด้วย
8. แก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ความก้าวร้าว ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลเป็นต้น
9. ทั้ง 8 ข้อข้างต้น ต้องทำร่วมกันในบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เมื่อเด็กสมาธิสั้นโตขึ้นจะเป็นอย่างไร

ถ้ารักษา เด็กก็มีโอกาสเรียนหนังสือได้ดีขึ้น รู้สึกต่อตัวเองดีขึ้น เข้าสังคมได้มากขึ้น
จะต้องรับประทานยานานเท่าไร? ยังไม่มีใครตอบได้ แพทย์จะใช้วิธีหยุดยาแล้วดูอาการ ถ้าเป็นอีกก็คงต้องรับประทานต่อไปเรื่อยๆ เด็กที่เป็นโรคนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง อาการสมาธิสั้นยังคงติดตัวไปจนเป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ส่วนมากแล้วอาการซนจะหายไป
แต่ถ้าไม่รักษา เด็กมีแนวโน้มเติบโตไปในเส้นทางของความก้าวร้าว เกเรและติดยาเสพติดได้มาก
ปัญหาของเด็กสมาธิสั้น
เด็กสมาธิสั้นมีลักษณะไม่อยู่นิ่ง วอกแวกง่านหยุกหยิก จับโน่นจับนี่ ลุกไปมาบ่อยๆ ซนมาก ชอบแซงคิวทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ อารมณ์วู่วามหุนหันพลันแล่น ลักษณะเหล่านี้มีมาตั้งแต่เกิด ซึ่งสร้างความเครียดความกดดันให้พ่อแม่ไม่น้อย เมื่อเด็กเข้าโรงเรียน พ่อแม่และครูมักจะพยายามตีกรอบให้เด็กปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ทำให้เด็กมีความอึดอัดมากพ่อแม่และครูควรเข้าใจว่าลักษณะเหล่านี้เป็นธรรมชาติของเด็กสมาธิสั้น หากต้องการให้เด็กทำงานได้สำเร็จหรือเรียนได้ดีขึ้นควรหาที่เงียบ ๆ ให้เด็กได้ทำงานและแบ่งงานให้เด็กทำใช้เพียงสั้น ๆ ในสายตาของพ่อแม่และครูมักจะมองว่าเด็กเป็นคนก้าวร้าวไม่เชื่อฟัง การดุด่าว่ากล่าวรุนแรงจะทำให้เด็กขาดความภาคภูมิใจในตนเองและโตขึ้นอาจจะชอบต่อต้านคนอื่น ทำตัวเป็นนักเลงอันธพาลได้ ดังนั้นหากพบเด็กสมาธิสั้นควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ซึ่งเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาปกติ หากเด็กได้รับการรักษาและส่งเสริมที่ดี ก็จะทำให้เด็กมีอนาคตที่ดีได้

แวะมาเยี่ยมค่ะ ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้

พี่ครูอ้อยค่ะ ได้เบอร์โทรครูเอหรือยังค่ะ เขียนส่งอีเมล์ไปใหแล้วค่ะ

มาขอบคุณครับ งงงงรูปหายไป ผู้ใหญ่สมาธิสั้นได้ไหมครับ อิอิๆๆ

แจ้งพี่สาว เราถูกแซวในบล๊อกค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต

ขอบคุณค่ะที่สนใจเรื่องสมธิสั้น

ผู้ใหญ่สมาธิสั้นกว่าเด็กๆเป็นบางกรณี ค่ะ เช่น เห็นสาวสวยก็ดูนานๆหน่อย ถ้าไม่สวยก็นิดเดียว

ใครบังอาจแซวเรา จัดการได้เลยค่ะน้องสาว

อิจฉาเราอะจิ.. จ้างก็ไม่บอกว่าคุยอะไรกัน เนอะๆๆ

เตรียมตัวไปเตรียมการก่อนนะคะ ตอนนี้ใช้ Dtac Ais ถูกกวน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท