นาง วิมลรัตน์ อำพันเขียนเมื่อ 21 มกราคม 2549 17:32 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:20 น. ()
จุดประกายความคิด
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549 ได้รับเกียรติจากอาจารย์วชิรา
บุตรวัยวุฒิมาให้ความรู้ในเรื่องกิจกรรมบำบัด Art feeling
ซึ่งคือการสื่อสารความรู้สึกออกมาในรูปของศิลปะ
เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและนำไปพัฒนางานด้านกิจกรรมกลุ่มได้ดี
เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์และน่าสนใจทีเดียว
ความเห็น
น่าสนใจมากครับ
อยากให้เล่ารายละเอียดมากกว่านี้หน่อยครับ ว่า Art feeling
เนี่ย มีตัวอย่างกิจกรรมอย่างไรครับ
ไม่ทราบ art therapy กับ Art feeling
แตกต่างกันยังไงครับ
ผมมีบทความ Art therapy มาบทความหนึ่ง
เวลาที่คุณแม่มองภาพเขียนหรือผลงานศิลปะสักภาพ
ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะแบบเด็กๆ ของลูก หรือผลงานศิลปะของศิลปินชื่อดัง
คุณเห็นอะไรในภาพเหล่านั้นบ้างค่ะ บางคนบอกว่า
“ลายเส้นสวยดี” “ความคิดสร้างสรรค์”… “ใช้สีสวย”
… หรือบางคน อาจจะบอกว่า
“ดูไม่รู้เรื่อง” แต่สำหรับนักศิลปบำบัด
ผลงานศิลปะหนึ่งชิ้นบอกอะไรได้มากกว่านั้นค่ะ
งานศิลปะเป็นสื่อที่ผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานสามารถถ่ายทอดอารมณ์
ความรู้สึกนึกคิดของตนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นภาพ
เพราะบางครั้งรูปภาพสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าการบอกเล่าด้วยถ้อยคำนับพันคำ
และนี่ก็คือหลักการของ Art Therapy หรือ
ศิลปบำบัด นั่นเองค่ะ
ศิลปบำบัดเป็นการนำศิลปะและจิตบำบัดมาเชื่อมรวมกันเพื่อใช้ในการช่วยเหลือบุคคล
ที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจให้ได้ค้นพบความรู้สึก
ความต้องการ และปมต่างๆ ที่ซ่อนภายในใจ
สำหรับเด็กทั่วไป
ศิลปะจะช่วยสนับสนุนให้เด็กได้แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และได้พัฒนาทักษะด้านศิลปะ
อารมณ์ และสังคมไปพร้อมๆ กัน
แต่สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ
ศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและสามารถแสดงออกทางอารมณ์ทั้งในเชิงก้าวร้าว
และเพ้อฝันได้อย่างเต็มที่ เด็กๆ ที่มีปัญหาด้านร่างกาย อารมณ์
และจิตใจส่วนใหญ่มีผลมาจากประสบการณ์ในอดีต
ที่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกคับข้องใจ
และไม่สามารถจะระบายออกมาให้ใครรู้เป็นคำพูดได้
อาจจะเป็นเพราะความหวาดกลัว
ความกดดันหรืออาจจะไม่รู้ว่าจะถ่ายทอดความคับข้องใจนั้นออกมาอย่างไร
ผลที่ตามมาก็คือ เด็กจะเกิดความหวาดกลัว รู้สึกผิด ท้อแท้ โกรธตัวเอง
กลายเป็นเด็กเก็บกด และมีอารมณ์แปรปรวน
ศิลปบำบัดจะเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กๆ
ได้ถ่ายทอดความรู้สึกต่างๆ
ผ่านภาพวาดซึ่งสามารถสื่อความรู้สึกได้ง่ายและเข้าใจได้มากกว่า
การที่เด็กได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจออกมา
จะช่วยให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีขึ้น
นักศิลปบำบัดจะตั้งเป้าหมายของการบำบัดไว้ 2 แบบคือ
·
ทำศิลปบำบัดเพื่อคลายความเครียด ความคับข้องใจ
และความกดดันจากสาเหตุต่างๆ ให้ทุเลาลง
เมื่อความทุกข์ในทั้งหลายเบาบางลงแล้ว
ผู้เข้ารับการบำบัดก็จะรู้สึกสบายใจ มีกำลังใจที่เข้มแข็ง
พร้อมที่จะต่อสู้กับความทุกข์และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง
·
ทำศิลปบำบัดเพื่อขจัดความทุกข์ใจหรือปัญหาต่างๆ
ให้หมดไป เช่น ขจัดความกลัวที่ไร้เหตุผล เป็นต้น
นักศิลปบำบัดจะให้ความสนใจกับวิธีการสร้างสรรค์งานศิลปะมากกว่าชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
การเลือกใช้สี การวาดเส้น ความหนักเบาของเส้นที่วาด
และองค์ประกอบต่างๆ ที่มีในภาพ
สามารถบ่งบอกถึงสภาวะจิตใจของเด็กได้เป็นอย่างดี
เพราะนักบำบัดเชื่อว่าภาพที่วาดชิ้นนั้นเป็นเสมือนภาพถ่ายที่บันทึกภาวะจิตใจของผู้วาด
วิธีที่ผู้วาดมองชีวิตของตนเอง และบุคคลที่อยู่รอบข้าง ในขณะนั้น
ซึ่งสามารถย้อนกลับมาดูได้ทุกเวลาและต่อเนื่องกับภาพที่จะวาดต่อๆ ไป
ภาพแต่ละภาพจะแสดงถึงทัศนคติและความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป
การให้เด็กได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
ผ่านการวาดรูปผนวกกับการได้พูดคุยกับเด็กอย่างใกล้ชิดก็จะทำให้นักศิลปบำบัดได้ทราบถึงภูมิหลังของเด็ก
ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
เมื่อสามารถค้นหาต้นตอที่แท้จริงของปัญหาได้
ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
นอกจากศิลปะจะช่วยให้เด็กๆ ที่มีปัญหาได้ระบายความคับข้องใจแล้ว
ศิลปะยังช่วยให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดี มีอารมณ์แจ่มใส
มีการรับรู้เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้น
และรู้สึกนับถือตัวเองมากขึ้นด้วย
ประการต่อมาจากการวิจัยพบว่า
การที่คนเรามีใจจดจ่อกับกิจกรรมที่ตนเองชอบจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกายทำงานดีขึ้น เช่น
อัตราการเต้นของหัวใจและระบบการหายใจจะช้า ความดันโลหิตก็จะลดลง
เป็นต้น นอกจากนี้ในขณะที่เด็กๆ กำลังสนุกกับการวาด การระบายสี
เด็กจะได้บริหารกล้ามเนื้อตา และมือไปในตัว ทำให้อวัยวะทั้งสองส่วนนี้
ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทที่เชื่อมต่อ
ระหว่างสมองกับสองมือของเด็กอีกด้วยค่ะ
ถึงแม้ว่าการใช้ศิลปบำบัดจะสามารถช่วยเยียวยารักษาอาการเครียดและความรู้สึกทุกข์ใจของลูกได้
และยังให้ประโยชน์กับเจ้าตัวดีอีกหลายประการด้วยกัน
แต่ทางที่ดีคุณควรจะให้ความรัก ความเข้าใจ
และเอาใจใส่ลูกรักของคุณให้มากพอจะดีกว่า
เพื่อที่ลูกจะได้ไม่ต้องเผชิญกับความรู้สึกคับข้องใจใดๆ
เด็กในวัยนี้ควรจะมีโลกที่สดใส ร่าเริง ปราศจากปัญหาใดๆ
เพราะเมื่อโตขึ้นลูกก็จะต้องออกไปเผชิญโลกกว้าง
ต้องแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีกมากอยู่แล้ว
ความรักความอบอุ่นจากครอบครัวจะเป็นเสมือนเกราะป้องกัน
และเป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยให้ลูกสามารถฟันฝ่าอุปสรรคทุกอย่างให้ผ่านไปได้
ขอให้การใช้เวลาสร้างสรรค์งานศิลปะของลูกเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
หรือเพื่อพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ
จะดีกว่าการใช้ศิลปะเพื่อการบำบัดจิตใจ
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเครียดนะคะ
(update 28 มีนาคม 2005)
[ ที่มา... นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 11 ตุลาคม 2547