ใครเป็นผู้รายงาน “มารดาเสียชีวิต”


สำคัญมากครับ หากเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องระบบรายงานก็จะนำไปสู่การวิเคราะห์ แปรผล และการนำมาใช้ผิดไปด้วย

     เมื่อปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ 2548) ผมได้ตรวจสอบคุณภาพรายงานในฐานะผู้รับผิดชอบระดับจังหวัด เพื่อยืนยันข้อมูลในระบบรายงาน 0110 รง.5 ในแต่ละเดือน มีอยู่เดือนหนึ่ง ก็ได้พบความผิดปกติของตัวเลขมารดาเสียชีวิตที่รายงานเข้ามา 2 ราย จาก รพ.X 1 ราย และ รพ.Y 1 ราย ในเดือนเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าสังเกตมาก กล่าวคือไม่ข้อมูลผิดพลาด ก็แสดงว่าต้องมีการตรวจสอบการจัดบริการของ รพ.ที่เกิดกรณีมารดาเสียชีวิต เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

     เมื่อตรวจสอบไปก็พบว่าเป็นรายเดียวกันที่ถูกส่งตัวมาจาก รพ.X และเป็นคนในเขต CUP X ฉะนั้นรายนี้ รพ.X จะเป็นผู้รายงานว่ามารดาเสียชีวิต (โดยใช้ข้อมูลการ Refer กลับ หรือการตรวจสอบผลการ Refer) ส่วน รพ.Y จะรายงานว่าผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกเสียชีวิต แล้วแต่กรณี โดยถือเอาการได้รับเลขที่ผู้ป่วยใน (AN) เป็นสำคัญ หากได้รับแล้วแม้จะยังไม่เข้าไปถึงตึกผู้ป่วยในก็ถือว่าเป็นผู้ป่วยในเสียชีวิต ครับ

     อนึ่งการจะรายงานว่ามารดาเสียชีวิตนั้น จะต้องเป็นมารดาตั้งครรภ์ที่มาคลอดโดยมีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป และเสียชีวิตขณะคลอด หรือหลังคลอดไม่เกิน 6 สัปดาห์ เนื่องจากโรคแทรกซ้อนทางการคลอด ฉะนั้นการเสียชีวิตของมารดาด้วยสาเหตุที่ไม่ใช่เรื่องการคลอด เช่น อุบัติเหตุ หรือมารดามีอายุครรภ์ไม่ถึง 28 สัปดาห์ ไม่ถือว่าเป็นมารดาเสียชีวิตในระบบรายงาน 0110 รง.5

     สำคัญมากครับ หากเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องระบบรายงานก็จะนำไปสู่การวิเคราะห์ แปรผล และการนำมาใช้ผิดไปด้วย อย่างกรณีที่ยกขึ้น จะเห็นว่ามุมมองต่อ รพ.ทั้ง 2 แห่งต่างกัน ในฐานะที่ต้องดูแลสุขภาพของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งก็ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าที่แท้จริงแล้ว เกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งก็ได้ดำเนินการไปแล้ว และขอที่จะไม่ยกเป็นประเด็นขึ้นมาบันทึกไว้ที่แห่งนี้

หมายเลขบันทึก: 12888เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2006 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท