GotoKnow

ถอด 23 กระบวนท่า วิชาฟื้นฟูท้องถิ่น

น.ส. หทัย เหมทานนท์
เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2549 10:43 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:20 น. ()

เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ของหนู KM ทั้ง 2 คน ก็ได้นำหนังสือ 1 เล่ม เรื่อง ถอด 23 กระบวนท่าวิชาฟื้นฟูท้องถิ่น หยิบขึ้นมาอ่านดู เพราะดูจากปกหนังสือแล้ว เหมือนกับการฝึกวิทยายุทธ์ (สำนักเส้าหลิน) ซึ่งดูภาพจากปกแล้วก็ดึงดูความสนใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี

ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมด 23 ท่าด้วยกัน ดังที่ได้เขียนไว้แล้วในตอนต้น ซึ่งเมื่อพูดถึงการอ่านหนังสือ หนู KM รู้ว่ามันมีประโยชน์ ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มาก แต่ไม่รู้เป็นอย่างไร พอจับหนังสืออ่านก่อนนอนทีไร ง่วงนอนทุกที ต่อไปหนู KM จะต้องพยายามฝึกตนเองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเคยชิน เพราะเมื่อเราเกิดความเคยชินแล้วก็จะทำเป็นกิจวัตรประจำวัน (แล้วมันก็จะชินไปเอง)

ซึ่งในการอ่านหนังสือเล่มนี้หนู KM ก็ยังอ่านไม่ทันจบเล่มเลยคะ อ่านได้ถึงท่า 4 ซึ่งเมื่ออ่านดูแล้วก็ให้ความรู้เกี่ยวชุมชนมาก เดี๋ยวหนู KM จะสรุปคร่าวให้ฟังนะคะว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างที่สำคัญ

ท่าที่ 1 พัฒนาอย่างยั่งยืนบนฐานองค์ความรู้และภูมิปัญญา

การพัฒนาที่จะยั่งยืนต้องตั้งอยู่บนฐานขององค์ความรู้ ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมของชุมชนนั้น ๆ ความหวังดีของคนนอก ถ้าไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ประสบการณ์ ภูมิปัญญาของชาวบ้าน สุดท้ายมักกลายเป็น การพัฒนาแบบอนุสาวรีย์ที่แห้งแล้ง” ไม่ยั่งยืน ไม่ต่อเนื่อง เพราะไม่ได้อยู่บนพื้นฐานชีวิตของชาวบ้าน ส่วนการทำงานเชิงเคลื่อนไหวมากแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าฐานชุมชนไม่แน่น การเคลื่อนไหวก็ไม่ยั่งยืนอยู่ดี แนวทางในการทำงานต่อจากนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้งมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งที่ฐานมากขึ้น ไม่ยั่งยืน ไม่ต่อเนื่อง เพราะไม่ได้อยู่บนพื้นฐานชีวิตของชาวบ้าน ส่วนการทำงานเชิงเคลื่อนไหวมากแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าฐานชุมชนไม่แน่น การเคลื่อนไหวก็ไม่ยั่งยืนอยู่ดี แนวทางในการทำงานต่อจากนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้งมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งที่ฐานมากขึ้น

ไม่ยั่งยืน ไม่ต่อเนื่อง เพราะไม่ได้อยู่บนพื้นฐานชีวิตของชาวบ้าน ส่วนการทำงานเชิงเคลื่อนไหวมากแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าฐานชุมชนไม่แน่น การเคลื่อนไหวก็ไม่ยั่งยืนอยู่ดี แนวทางในการทำงานต่อจากนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาชุมชนเป็นตัวตั้งมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งที่ฐานมากขึ้น ท่าที่ 2 การฟื้นฟูชีวิตชุมชนท้องถิ่นต้องเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง การฟื้นฟูชีวิตชุมชนท้องถิ่นต้องเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง

การฟื้นฟูชีวิตชุมชนท้องถิ่นต้องเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เพราะชีวิตเป็นภาพรวมที่มีมิติของการเชื่อมโยง มีความเป็นมนุษย์ มีชีวิตจิตใจ มีสีสันของมันเอง สองสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ 1) ระบบนิเวศของท้องถิ่นนั้น ๆ และ 2) กลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มมีประวัติศาสตร์ของตนเองมีที่มาที่ไปแตกต่างกัน เมื่อเข้าใจพื้นฐานสองข้อนี้เราจะเห็นว่าชุมชนมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศอย่างแยกไม่ออก ชีวิตที่สัมพันธ์กับท้องถิ่นมีความหลากหลายสูงมาก เพราะแนวทางการฟื้นฟูท้องถิ่นจะไม่มีทางเป็นรูปแบบเดียวกันหมดไปได้เลย

องค์ประกอบของ “ชีวิตชุมชนท้องถิ่น” ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เหมือนเรายืนอยู่บนเนินเขา มองลงไปข้าล่าง เราจะเห็นภูมิทัศน์ถูกแบ่งออกได้เป็นชั้น ๆ

ชั้นบนสุด ความคิดความเชื่อ

ชั้นที่สอง แบบแผนการจัดการทรัพยากร เป็นระบบความรู้เรื่องการจัดการเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ชั้นที่สาม แบบแผนการผลิต หรือ การทำมาหากิน

ชั้นล่างสุด ระบบความสัมพันธ์

ถึงแม้จะมีเครื่องมือในการมอง แต่การจะเข้าใจจริง ๆ ว่าชีวิตชุมชนท้องถิ่นดำรงอยู่อย่างไรคงต้องใช้เวลามองลึกลงไปในรายละเอียดของแต่ละเส้นสายที่ถักถอร้อยรัดกัน จนเกิดเป็นลวดลายที่หลากหลายของชีวิตชุมชนท้องถิ่น

ท่าที่ 3 วิเคราะห์ปัญหาจากล่างขึ้นบน :
จากชุมชนถึงโลกาภิวัฒน์</font></strong> วิเคราะห์ปัญหาจากล่างขึ้นบน
จากชุมชนถึงโลกาภิวัฒน์

กระบวนการวิเคราะห์ต้องเริ่มต้นจากภายใน เห็นปัญหาจากภายใน แล้วจึงเชื่อมโยงให้เข้าใจปัจจัยภายนอก เรียกว่า การประเมินชุมชนในสถานการณ์โลกาภิวัฒน์ ซึ่งหมายความว่าคนทำงานพัฒนาต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงภายนอก ในขณะเดียวกันอย่าเอาการเปลี่ยนแปลงภายนอกไปวิเคราะห์และชี้นำชุมชน จนกระทั่งไป ๆ มา ๆ เป็นการวิเคราะห์ของตัวเองไม่ใช่ของชุมชน

ท่าที่ 4 ไหลข้อมูลข่าวสารกลับสู่ชุมท้องถิ่น

เรื่องชุมชนท้องถิ่นบางเรื่องอาศัยการสื่อสารกันเองในท้องถิ่นจะก่อใไห้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า ขณะที่บางเรื่อง โครงการสื่อสารแนวราบ คนทั่วไปเรียกคือ Local Talks หรือ ท้องถิ่นสนทนา เพราะการสื่อสารระหว่างกันในท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทันใจ ถ้าคนท้องถิ่นพูดคุยแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลาจะทำให้ชุมชนเท่าทันสถานการณ์ แล้วเกิดความเข้มแข็งขึ้นได้ นอกจากนี้ การพูดคุยกันยังเป็นหนทางที่จะช่วยกันคิด แล้วร่วมกันทำอะไรต่อไป

เรื่องที่ชุมชนควรจะรู้

  1. เรื่องที่อยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์แล้วส่งผลกระทบต่อชุมชน
  2. ส่วนของการทำงานทางความคิดกับเครือข่ายต่าง ๆ เช่น กลุ่มผู้หญิง กลุ่มเอดส์ เป็นต้น
  3. การสร้างคนในท้องถิ่นให้เป็นนักสื่อสารที่สามารถสื่อสารกันได้อัตโนมัติผ่านกระบวนการฝึกอบรม

การสื่อสารมันสำคัญอยู่ที่ความคิดมากกว่า เรื่องวิธีคิด เรื่องการมองเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะสื่อสารได้คุณก็ต้องมีวิธีคิดมีมุมมองอะไรบางอย่าง การสื่อสารในแนวราบ เป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย จึงควรเป็นกลุ่มที่รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงเพื่อทีจะตั้งรับและกำหนดให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นได้

นี่ก็เป็นการสรุปแบบสั้น อาจจะได้ใจความกระชับบ้างไม่กระชับบ้าง ถ้าหากสนใจสามารถหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมได้คะ


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย