แผนพัฒนาอาจารย์ ต้องไม่ใช่แผน "ส่งไปเรียนต่อ"


 

          ยิ่งนับวัน  ผมก็ยิ่งเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ  ว่าประเทศไทยต้องเลิกพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยแบบ "ส่งไปเรียนต่อ"

          หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณ  "ให้ทุนเรียนต่อต่างประเทศ"  ควรหันมาคิดใหม่  ว่าวิธี "ส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ" นั้น เป็นวิธีคิดสมัยพระพุทธเจ้าหลวง  ล้าสมัยไป ๑๕๐ ปี

          เวลานี้เราเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์แล้ว   เราต้องพัฒนาคนในรูปแบบวิธีคิดของยุคโลกาภิวัตน์   ไม่ใช่วิธี   "ส่งไปศึกษาต่อ"  แต่ใช้วิธี  "พัฒนาด้วยเครือข่ายวิชาการ"   ที่ทั้งเป็นเครือข่ายวิจัยและพัฒนาภายในประเทศ  เชื่อมโยงกับนานาชาติ

          เครือข่ายวิชาการนี้ จะให้ผลพัฒนาแบบบูรณาการ   คือ พัฒนาอาจารย์ใหม่  พัฒนาอาจารย์เก่า  พัฒนางานวิจัย  พัฒนางานบริการวิชาการ  พัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ   พัฒนาบ้านเมือง ชุมชน และพัฒนาวัฒนธรรมวิชาการในสถาบัน

          ความท้าทาย  คือ เราจัดการเครือข่ายวิชาการแบบนี้เป็นหรือไม่  เรากล้าที่จะทดลองสร้างเครือข่ายวิชาการแบบนี้หรือไม่

วิจารณ์  พานิช
๘ ก.ย. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 127400เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2007 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่าน อ.หมอวิจารณ์ค่ะ

  • หนูทึ่งกับความคิดนี้ของอาจารย์ค่ะ   หากทำได้อย่างอาจารย์กล่าวคงเป็นนวัตกรรมยิ่งใหญ่  ประหยัดงบประมาณแล้วนำไปพัฒนาแบบคุ้มค่า...ได้อีกโขค่ะ....
  • สาธุ..ขอให้เกิดขึ้นได้จริงๆทีเถอะค่ะ

 

เรียน อาจารย์หมอ ครับ . แนวคิดนี้น่าสนใจมากครับ . ผู้บริหารฯ ของมหาวิทยาลัยของผม ยังคงส่งเสริมและผลักดันเรื่องการไปศึกษาต่อของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ครับ ส่วนด้านพัฒนาบุคลากรนั้น มีแต่อยู่ประกาศ ในทางปฏิบัติหามีไม่ . เรายึดนโยบายความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสอนครับ .. สอนจริง ๆ ครับ 7 วัน ภาคปกติ ภาคพิเศษ ป.บัณฑิต . การพัฒนาสำหรับผู้บริหารหลายคน หมายถึง การสร้าง สร้าง แล้วก็สร้างครับ .. ทรัพยากรคน ยังไม่เป็นรูปธรรมครับ ขอบคุณอาจารย์หมอนะครับ เป็นแนวคิดที่ผมรู้สึกดีมาก ๆ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท