คุณธรรม ๘ ประการ


คุณธรรม

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายที่จะเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้  สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ความสมานฉันท์  สันติวิธี  วิถีประชาธิปไตย  พัฒนาคนโดยใช้พื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน  สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา  เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี  มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข                ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม  8 คุณธรรมพื้นฐาน ที่ควรเร่งปลูกฝัง  ประกอบด้วย                1. ขยัน  มีความตั้งใจ  เพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร  สู้งาน  มีความเพียรพยายาม  ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค  รักงานที่ทำ  ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง            2. ประหยัด  ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย  รู้จักฐานะการเงินของตน  คิดก่อนใช้  คิดก่อนซื้อ  เก็บออม  ถนอมใช้ทรัพย์สินอย่างคุ้มค่า  ไม่ฟุ่มเฟือย  ฟุ้งเฟ้อ  รู้จักทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ                3. ซื่อสัตย์  ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา  ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ  มีความจริงใจ  ปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม  รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง                4. มีวินัย  ผู้ปฏิบัติตนในขอบเขต  กฎ  ระเบียบของสถานศึกษา  สถาบัน  องค์กร  สังคมและประเทศ  โดยที่ตนเองปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ    ยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับและข้อปฏิบัติ  รวมถึงการมีวินัยต่อตนเองและสังคม            5. สุภาพ  ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ  มีสัมมาคารวะ  เรียบร้อย  ไม่ก้าวร้าว  รุนแรง  หรือวางอำนาจ ข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง เป็นผู้มีมารยาทดีงาม  วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย6. สะอาด ผู้ที่รักษาร่างกาย  ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ  ฝึกฝนจิตใจมีให้ขุ่นมัว  มีความแจ่มใสอยู่เสมอ  ปราศจากความมัวหมองทั้ง กาย  ใจ  และสภาพแวดล้อม  มีความผ่องใสเป็นที่เจริญตา  ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น            7. สามัคคี  ผู้ที่เปิดใจกว้าง  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  รู้บทบาทของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี  มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง  สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้  เป็นผู้มีเหตุผล  ยอมรับความแตกต่าง  ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ความคิด  ความเชื่อ  พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์            8. มีน้ำใจ  ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม  เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  เห็นอกเห็นใจและเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์และผู้ที่มีความเดือดร้อน  มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่  อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญา  ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา  หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

คำสำคัญ (Tags): #กศน.
หมายเลขบันทึก: 127192เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ท่าน ผอ.หยุดไปหลายวันเหมือนกันนะครับ
  • มาครั้งนี้พร้อมกับคุณธรรม ๘ ประการ
  • ขอบคุณสำหรับคุณธรรมนำความรู้ครับ

สวัสดีครับ...อาจารย์ประยนต์

  • เข้ามาเยี่ยมครับ...
  • ขอบพระคุณมากครับสำหรับคุณธรรม 8 ประการ
  • เป็นสิ่งดีที่พึงปฏิบัติ เหมือนที่ว่าครับ...เริ่มจากครอบครัว แล้วค่อนขยายออกสุ่ชุมชนสังคม

ขออนุญาตเอาไปใช้ด้วยคน

เหมาสมกับยุคสมัยคุณธรรมนำความรู้ครับ

คุณธรรม เป็นสิ่งนำให้คนเดินทางในสายแห่งความดี...คนมีคุณธรรม ตกน้ำไม่ใหล (แต่เปียก)  ตกไฟไม่ใหม้ (อาจแสบร้อนบ้าง)........คุณธรรม 8 ประการนี้ ผู้บริหารควรยึดถือครับ.......

ถ้าทำให้นักศึกษาปฏิบัติได้ จะวิเศษสุด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท