ค่าชดเชย


ค่าชดเชย
ค่าชดเชยจุดประสงค์การเรียนรู้ผู้เรียนสามารถบอกเงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชยได้ ค่าชดเชย1.     การเลิกจ้าง  หมายถึง การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานต่อไปและไม่ได้รับค่าจ้าง  เพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด  หรือนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้2.       การเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ให้ได้รับค่าชดเชย ดังนี้  
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย (วัน)
120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี 30
1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี 90
3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี 180
6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี 240
10 ปีขึ้นไป 300
 3.  การเลิกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต  การจำหน่าย หรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ทำให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้ 3.1  แจ้งวันเลิกจ้าง  เหตุผลของการเลิกจ้าง  และรายชื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่า 60 วันก่อนวันเลิกจ้าง 3.2  ถ้าไม่แจ้งแก่ลูกจ้างล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วัน ให้จ่ายค่าชดเชยพิเศษเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน 3.3  ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายด้วย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติ  ดังต่อไปนี้ 3.3.1  ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีขึ้นไป  ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการทำงานครบ 1 ปี 3.3.2  ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน 3.3.3  เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ  เศษของระยะเวลาทำงานที่มากกว่า180 วัน ให้นับเป็น 1 ปี 4.  ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบ สำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว 4.1 ต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ 4.2  ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 5.  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้ 5.1  ลูกจ้างลาออกเอง  5.2  ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 5.3  พิจารณาจากความเสียหายหรือคาดหมายว่าจะเกิดขึ้น5.4  ลูกจ้างทำผิดโดยตรงทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง5.5  ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงตามความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไป5.6  ลูกจ้างทำผิดข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง5.7  จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 5.8  ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 5.9  ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด 5.10  ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร 5.11  ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 5.12   การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่5.12.1 การจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน 5.12.2 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน 5.12.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น   ซึ่งต้องเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือ ไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
คำสำคัญ (Tags): #ค่าชดเชย
หมายเลขบันทึก: 126773เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2007 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ประวีร์ ลิ้มปวงทิพย์

เรียนคุณวิริตา

เนื่องจากบริษัทฯ ที่ดิฉันทำงานอยู่ในขณะนี้ มีพนักงานสูงอายุ 55-60 ปี บริษัทฯ จึงอยากทราบว่า

1) เราควรระบุในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ชัดเจนไหมว่า เกษียณอายุที่นี่เริ่มตั้งแต่อายุเท่าไหร่เป็นต้นไป

2) การเลิกจ้างเช่นนี้ ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าชดเชยตามก ม กำหนด(ให้การเบิกจ้ากรณีปกติใช่หรือไม่ เช่น 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชย 30 วัน, 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ 90 วัน, 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับ 180 วัน, 6 ปีแต่ไม่รบ 10 ปี ได้ 240 วัน, 10 ปีขึ้นไป ได้ 300 วัน) ใช่หรือไม่

3) ลูกจ้างที่บริษัทฯ มีอายุมากกว่า 60 ปีก็มี เช่นนี้เขาควรได้เงินชดเชย 10 ปีขึ้นไป ได้ 300 วัน (เท่านั้น) ใช่หรือไม่

ในกรณีเกษียณอายุ

4) หากทางบริษัทฯไม่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่าที่บริษัทนี้เกษียณอายุเท่าใด ทางบริษัทควรจะกำหนดไว้ในข้อบังคับให้เป็นที่เรียบร้อยเสียก่อนหรือไม่

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าที่กรุณาตอบข้อซักถามนี้นะคะ

ประวีร์ ลิ้มปวงทิพย์ โทร 02 392 1960 ต่อ 113

ไม่มีท่านผู้รู้มาตอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท