เล่าเรื่องวันเด็ก


รู้ไหมว่าวันเด็กแห่งชาติมความเป็นมาอย่างไร .. เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังครับ

เพื่อน ๆ หลาย ๆคนยังไม่ทราบนะครับว่า ความเป็นมาของวันเด็กนั้นมีความเป็นมาอย่างไร และเพื่อน ๆ คงสงสัยว่าวันเด็กแห่งชาติที่จัดขึ้นในคร้งแรกนั้นจัดขึ้นในสมัยใดและเพราะเหตุใดจึงต้องมีวันเด็กแห่งชาติขึ้น

ด้วยคำที่ว่าเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เด็กทุกคนจึงมีบทบาทและหน้าที่ในการเป็นกำลังสำคัญในการช่วยกันพัฒนาแระเทศชาติบ้านเมือง ในอนาคต เด็กจึงมีบทบาทหน้าที่ในการตั้งใจในการศึกษาหาความรู้ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีระเบียบวินัย รู้จักการเสียสละ และรู้จักสิทธิหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม รู้จักการรักษาความสะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติหากเด็กปฏิบัติได้ตามที่กล้าวมานั้น จะเชื่อได้ว่าเป็นเด็กดีและประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรืองได้ เดิมงานวันเด้กแห่งชาติจัดขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม ในช่วงพศ.2498 - 2506 ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือน มกราคม ในปีพศ.2508 เพราะเป็นช่วงหมดฤดูฝนและยังเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย จึงถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

เพื่อ ๆคงสงสัยกับความหมายของคำว่าว่าเด็กใช่ไหมครับ ความหมายของคำว่าเด็ก / เด็กชาย / เด้กหญิง ตามพจนานุกรมฉบัยราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า

เด็ก คือ คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก / เด็กชาย  คือ คำนำหน้าเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบรบูรณ์ / เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์

ความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาติ


การจัดงานวันเด็กในประเทศไทย
            ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้นตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา
            ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของนาย วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่
            ขณะนั้นสภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติจึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบ นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ.2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
            ดังนั้นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมาทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติสำหรับประเทศไทย และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ.2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้นมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสมด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทยเราเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อไปก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฎิบัติงานของผู้ปกครองจึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้สะดวกสบายขึ้น และมีความเหมาะสมมากกว่า
            จากข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ.2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
            งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาได้ 38 ปีแล้ว (งดจัดในปี พ.ศ.2507 หนึ่งปี)
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
  1. เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ
  2. เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  3. เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตน และอยู่ในระเบียบวินัยอันดี
  4. เพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก

ความเป็นมาของคำขวัญวันเด็ก

            ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อๆมา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมา

และในปีพศ.2549 พณฯ พันตำรวจโทด๊อกเตอร์ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญวันเด็กไว้ว่า อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน  ขยันคิด

 

ขอบคุณที่สละเวลาอ่านครับ . . . ณรงค์ชัย  คงยา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12676เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะที่นำเสนอเรื่องนี้ตามที่อาจารย์ขอให้ขยายความเพิ่มเติมจากเนื้อหาในบันทึกของคุณ 

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งสำหรับคุณและเพื่อนๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เรื่องหลายเรื่องที่คุณบันทึก มีประเด็นที่ควรขยายความออกไปได้  ส่วนนี้คือองค์ความรู้ซึ่งคุณอาจได้มาจากการค้นคว้า เรียบเรียง หรือเขียนจากความเข้าใจของคุณก็ได้

ต่อไปพยายามเขียนบันทึกที่พวกคุณชอบบอกว่า"ไม่มีอะไรจะเขียน" ให้เป็น "มีอะไรเขียน" อย่างนี้นะคะ

ขอบคุณครับและจะพยายามทำอย่างสม่ำเสมอครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท