ภูมิปัญหาท้องถิ่น และเครือข่ายภูมิปัญญาโลก


สวัสดีครับทุกท่าน

         สบายดีกันไหมครับ วันนี้จะคุยเรื่องปัญหา และภูมิปัญหา ของท้องถิ่นหรือในชุมชนต่างๆ กันนะครับ แต่ละที่ก็มีแต่ละปัญหา เหมือนหรือแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ สังคม ขนบธรรมเนียบ การใช้ชีวิต พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต และปัจจัยอื่นๆ ทั้งทางกายภาพและมโนภาพ

        ผมว่าการพัฒนานั้น เราจำเป็นต้องเริ่มต้นกันที่ปัญหาเลยครับ เพราะหากไม่มีปัญหาการพัฒนาอาจจะวิ่งไปไม่ถึงไหนก็ได้ครับ เพราะปัญหาเหล่านั้นจากสิ่งที่พบเห็น ไม่ว่าจะภายในร่างกายเรา หรือรอบตัวเรา ล้วนนำมาสู่การปรับปรุง ต่อสู้ อยู่ร่วม และศึกษาทำความเข้าใจเพื่อการอยู่ร่วมให้ได้ และอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจกันได้ ปัญหามากมายที่ได้เปลี่ยนเป็นปัญญาไปเรียบร้อยแล้ว พร้อมมีนวัตกรรมต่างๆ ออกมาสนับสนุนปัญญานั้นให้เกิด การเปิดภูมิปัญหา จึงเป็นที่มาของภูมิปัญญาเช่นกัน ปัญหาที่ว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พบอยู่ หรือจะเป็นปัญหาทางความคิด ที่นำไปสู่ความขัดแย้งต่างๆ ปัญหาทางการวิจัยที่นำไปสู่การค้นหาคำตอบ ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาอื่นๆ

        หากเราสามารถมีแนวทางร่วมในการแชร์หรือว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาชุมชน หรือภูมิปัญหาท้องถิ่นร่วมกันแล้ว ก็จะเกิดเป็นเครือข่ายของภูิมิปัญหาที่จะนำไปสู่การแก้ไขร่วมกันผ่านเครือข่ายที่เหนียวแน่นได้ โดยที่เครือข่ายนี้ ไม่ได้แบ่งแยกหรือมีกำแพงกั้น หากปัญหาคล้ายๆ กันถูกนำมารวมกัน โดยที่อยู่บนพื้นฐานที่อาจจะต่างสภาพแวดล้อมหรือต่างปัจจัยหรือแม้ว่าจะเหมือนกันบางประการ การมองหาทางออกร่วมนำไปสู่การต่อยอดในการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญาได้

        ถึงเวลานั้น ภูมิปัญหาท้องถิ่น ก็จะกลายเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่น

เครือข่ายภูมิปัญหาท้องถิ่นก็จะกลายเป็น เครือข่ายภูมิปัญญาโลกไปเองในที่สุด

นวัตกรรมทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้น ที่ทำให้เราเห็นว่านี่คือภูมิปัญญาท้องถิ่น ล้วนมีที่มาด้วยกันทั้งสิ้น นั่นคือหาไปค้นหาต้นเหตุหรือที่มาของภูมิปัญญานั้น เราจะเจอว่าเป็นที่มาของภูมิปัญหาก่อน ที่ก่อตัวทางความคิด ทางสังคม กันมาก่อน จึงจะกลายเป็นสิ่งเหล่านั้นได้

อย่างเช่น ถามง่ายๆ ว่าทำไมทางยุโรป มักจะมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่า แถบเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะเค้าก็มีปัญหาในแบบของเค้าที่จะคิดและต้องปรับตัว เพื่อจะอยู่ร่วมหรือทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อม จริงๆ แล้วบ้านเราเองก็มีปัญหาเยอะครับ แต่เรื่องปัจจัยสี่มักจะไม่มีปัญหามากในการปรับตัว แต่ตอนนี้อาจจะไม่ใช่แล้วก็ได้ครับ

อย่างบ้านเราจะมีสองหรือสามฤดูกาล แต่ทางเหนือหรือใต้ของเส้นศูนย์สูตรแบบสูงๆ ไปหน่อยจะมีสี่ฤดูกาล การวางแผนต่างๆ ก็จำเป็น เพราะจะมีภูิิิมิปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นคนได้ชื่อว่ามีสมอง คิดเป็นทำเป็นฝึกเป็น ก็ต้องหาทางออก เปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญาได้

หากเราสามารถเชื่อมโยงแนวทางออกของปัญหาร่วมกัน การต่อยอดและนำไปสู่การแก้ไขก็จะง่ายขึ้น หรือมองจากหลายๆ มุมร่วมกัน จะทำให้การมองปัญหาแตกฉานมากขึ้นนั่นเอง

ปัญหาของหนึ่งชุมชน จะกระทบกับชุมชนอื่นร่วมกันอย่างเป็นวัฏจักรเสมอ 

มีความเห็นแย้งหรือตาม เชิญท่านบรรเลงไว้ได้นะครับ

 

ขอแสดงความนับถือ

เม้ง 

หมายเลขบันทึก: 126328เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 05:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • สวัสดีค่ะ ครูเม้ง
  • คิดดีจังค่ะ ภูมิปัญหากลายเป็นภูมิปัญญา
  • คนที่รู้ว่ามีภูมิปัญหาก็ดีนะคะ แต่บางคนไม่รู้ปัญหานี่สิ จะเปลี่ยนเป็นปัญญาได้ไงคะ

 

 P

1. pa_daeng

สวัสดีครับคุณป้าแดง 

  • สวัสดีครับสบายดีไหมครับ ขอบคุณมากๆนะครับ
  • ครับคนที่รู้ว่ามีภูมิปัญหาแล้วก็ดีครับ ส่วนคนที่ยังไม่รู้อาจจะต้องใช้เวลาครับ เมื่อใช้เวลาผ่านไปแล้วรู้ว่านั่นเป็นภูมิปัญหาของตัวเอง
  • ต่อไปก็คือการเปลี่ยน ปัญหาให้เป็นปัญญา ครับ ขั้นตอนนี้ ต้องอาศัยกระบวนการทางความคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค้นคว้าทดลอง มองอย่างมีเหตุ ปัจจัย มีที่มามีผล มีเส้นทางในการวิ่งไปหาผลลัพธ์ที่ดีกว่า โดยไม่สร้างเหตุใหม่
  • คงแล้วแต่ว่าปัญหาด้านไหนครับ เพราะบางครั้ง ระบบเป็นภูมิปัญญาธรรมชาติอยู่แล้ว แต่คนเราก็ไปทำให้เป็นการเปลี่ยนภูมิปัญญาธรรมชาติ ให้เป็นภูมิปัญหา จากนั้น เราอาจจะไม่รับรู้ว่านั่นเกิดจากตัวเรากระทำ แล้วอาจจะไม่รับรู้ว่าเป็นภูมิปัญหาอย่างที่คุณป้าแดงว่าครับ จากนั้น ก็ต้องรอกว่าจะทราบว่านั่นคือปัญหา แล้วกว่าจะได้คำตอบก็ผ่านกระบวนการคิดกันต่อไปครับ
  • แค่เปลี่ยน ญ เป็น ห  หรือ ห เป็น ญ นี่ก็เหมือนจะง่ายนะครับ แต่ในกระบวนการกระทำ ไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนตัวไหนเป็นตัวไหน ง่า่ยกว่าครับ
  • ขอบพระคุณมากครับผม สนุกในการทำงานหรือพักผ่อนวันหยุดครับ
  •  เวลาเดินทางชอบแวะไปดู ประวัติความเป็นมาของสถานที่นั้นๆเขาจะภาคภูมิใจมากคะ...ที่สำคัญสถานที่พวกนี้มักไม่ค่อยเก็บค่าเข้าชม
  • จะเห็นครูนำเด็กนักเรียนเข้าไปเรียนรู้บ่อยๆคะ
  • แต่ของเรามักไม่ชอบเก็บสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาของตนเอง
  • ได้ไปเห็นหนังสือนิทานร้อยบรรทัด ของเราที่สิงคโปร์ แล้วอึ้ง...เสียดายมากที่ทั้งของเก่าและภูมิปัญญาของเราที่ไม่มีเหลือให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ศึกษา
  • เราจึงเติบโตแบบก้าวกระโดดคะ...บางครั้งรับมาทั้งดุ้นโดยไม่ปรับใช้
  • หลายครั้งที่เราละเลยภูมิปัญญาดีๆ...ของตนเองนะคะ
  • ----------------------
  • เอารูปใบไม้มาให้แล้วนะคะ
  • จึงพบว่า...สองต้นที่มีอยู่เป็นคนละพันธุ์กันคะที่เป็นใบแบบใบโพธิ์ จะได้ดอกที่เป็นช่อเล็กๆ 2- 3 ดอก คะ ถ้าต้องการดูภาพใหญ่กดคำว่าที่นี่ นะคะ
  • Flower003  ที่นี่   ที่นี่
  • อีกต้นคะใบหยัก..ได้ดอกเป็นช่อ บางช่อเกินกว่า 10 ดอก ไม่เคยสังเกตมามาก่อนเลยคะ เริ่มดูทุกวันแล้วคะตอนนี้ เจอช่อใหญ่ๆหลายช่อคะ
  •  ที่นี่  ที่นี่

สวัสดีครับน้องเม้ง เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

  • แบบนี้มันน่าจะเป็นสัจธรรม  นะครับ

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับเพื่อน

กับบันทึกดีๆ อดไม่ได้ต้องมาทักทาย

- - - - - -

ภูมิปัญหา  หรือ อาจเรียกได้ว่า ปัญหาที่มาท้าทายให้เกิดการใช้ "ความรู้" มาแก้ไข กระบวนการต่างๆที่นำมาใช้แก้ไขเกิดทางเลือก เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาอื่นๆได้ กลายมาเป็นสิ่งสั่งสมที่เรียกว่า "ภูมิปัญญา"

บนดอยสูง ...

ผมเคยทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาทางด้านสุขภาพ ผมทำใน หญิงหลังคลอดชาวลีซู (Lisu postpartum)ผมได้ศึกษาและเรียนรู้ กระบวนการดูแลสุขภาพตนเอง (Self health care) ที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ การคลอดบุตร เป็นวิกฤตของชีวิตที่ผู้หญิงชนเผ่า บนดอย ต้องผ่าน และรอดชีวิต ดังนั้นแล้วกระบวนการดูแลสุขภาพตนเอง ภุฒิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองตรงนั้นน่าสนใจมาก

ไม่น่าเชื่อในหลายๆประเด็นที่ผมเก็บข้อมูลมา ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดจากปัญหา โดยตรง ปัญหาที่ว่า "การเจ็บป่วย" และมีผลต่อชีวิตโดยตรง

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งครับ ที่ให้เห็นว่า จากปัญหา ผ่านกระบวนการแก้ไขปัญหา จนกลายมาเป็นปัญญา

ขอบคุณครับ

 

P
3. naree suwan

 

สวัสดีครับคุณนารี

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับผม
  • ภูมิปัญญา บ้านเราก็มีเยอะครับ เครื่องมือต่างๆ เต็มเลยครับ แต่ตอนนี้เริ่มหายไปเยอะครับ เช่นเครื่องมือหาปลาเริ่มจะหายครับ เข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์แทนครับ พลันจะดึงมาใช้ มาทำใช้ก็หาวัสดุไม่ได้อีกครับ ก็มีพลาสติกออกมาแทนไม้ไผ่และวัสดุอื่นๆ อีกมากมายครับ
  • เราจะเสียดายเมื่อสมบัติเหล่านั้น มีคนอื่นเห็นคุณค่านะครับ
  • ขอบคุณ มากๆ เลยครับ สำหรับใบไม้ ผมเลยลองจำลองดูหยาบๆ เล่นๆ ดูนะครับ ไม่ค่อยเหมือนเท่าไหร่ครับ ธรรมชาติซับซ้อนและดีกว่าที่คนทำเยอะครับ

The image “http://gotoknow.org/file/naree50/flower006.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.Naree-leaf2

 The image “http://gotoknow.org/file/naree50/flower005.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.Naree-leaf

ขอบคุณมากๆ เลยกั๊บผม

ไว้โอกาสหน้ามีใบอะไรแปลกๆ มาแลกเปลี่ยนกันอีกนะครับผม

ขอบคุณมากครับ

P
3. naree suwan

 

 สวัสดีีอีกครั้งครับ ดีมากๆ เลยครับที่คุณยกใบไม้มานะครับ เพราะใบไม้จะเป็นเครือข่ายที่ดีมากๆ เลยครับ หากเส้นใดขาดไป ก็ยังส่งผ่านอาหารและนำถึงกันได้ผ่านเครือข่าย หากแกนใบขาดก็จะส่งผ่านอีกเส้นทางหนึ่งที่มีการซ่อมแซมได้ครับ

เครือข่ายปัญหาก็เช่นเดียวกันครับ การเชื่อมถึงกันก็ย่อมทำให้ปัญหามีการร่วมกันแก้ไขได้เช่นกันครับ 

ขอบคุณอีกครั้งครับ 

สวัสดีค่ะ

ชุมชนไหนที่เขาอยู่กันมานานๆ เขาจะรู้ปัญหาของเขา และมีวิธีเอาตัวรอด ถ้าหัดสังเกต เช่น พวกภัยธรรมชาติต่างๆ อย่างคลื่นซึนามิ จะมีเอกลักษณ์พิเศษ ชาวบ้านจะวิ่งขึ้นเขาสูงไว้ก่อน แต่เนื่องจาก ปรากฏการณ์นี้ ไม่ค่อยเกิดขึ้น การระวังตัว จึงน้อยไป เป็นต้นค่ะ

ปัญหาต่างๆ ที่เขาประสบจึงก่อให่เกิดเป็นภูมิรู้และบอกเล่ากันต่อๆมาค่ะ

แต่บางอย่าง ชาวบ้านก็ไม่สามารถอธิบายถึงที่มาที่ไปได้เช่นกัน

เคยเห็นเครื่องมืออยู่อย่างหนึ่ง เขาเรียกโปงลาง ก็พัฒนามาจากภูมิปัญญาชาวบ้านเหมือนกัน

 P

5. สะ-มะ-นึ-กะ

สวัสดีครับพี่สะมะฯ 

  • สบายดีไหมครับผม นั่นนะซิครับ พอจะเป็นสัจธรรมได้ไหมครับ ปัญญาจากปัญหา ปัญหาสร้างปัญญา วนเวียนกลมเกลียวขวั้นตะวันแดงดับลับเลื่อนล้อยคล้อยต่ำสูง
  • ขอบคุณมากครับผม

 P

6. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

สวัสดีครับเพื่ือนเอก

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับตัวอย่างดีๆ นะครับ
  • บางปัญหาต้องบ่มกันนานกว่าจะได้ปัญญา บางปัญหาแก้ไม่ได้ แต่ต้องเกิดปัญหาอื่นๆ ก่อนถึงจะได้ปัญญาแล้วก็เมื่อแก้ปัญหาหลังสุดได้ ปัญหาแรกก็ถูกแก้ไปด้วย
  • อยู่ว่ารากของปัญหาและรากของปัญญาจะหยั่งถึงรากของปัญหานั้นๆ ได้ลึกแค่ไหนครับ หากหยั่งและลงถึงรากจริงๆ ก็เกิดการแก้ไขได้ปัญญาที่นำมาใช้ได้ยาวนาน
  • บางปัญหาต้องการความต่อเนื่องนั่นคือ ปัญญาจะต้องเกิดต่อเนื่องเช่นกันครับ
  • มีหลายๆ อย่างให้คิด คิดแล้ววนเวียนทบรอบได้ก็จะเกิดวัฏจักรในการแก้ปัญหาเองครับ
  • ผมก็ต้องศึกษาอีกมากๆ ครับ
P
9. sasinanda

สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์ 

  • ขอบคุณมากๆ ครับผม ใช่แล้วครับ ชุมชนเค้าถึงรู้มากกว่ารัฐ มากกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคนภายนอกนะครับ
  • เราถึงไม่สามารถจะพัฒนาประเทศโดยไม่รับฟังชาวบ้านได้เลยครับ หรือเราไปพัฒนาชาวบ้านโดยที่ไม่ฟังเค้าก็ไม่ได้เช่นกันครับ เพราะว่าเค้าอยู่ที่นั่นเค้ารับรู้ เวลาเราไปที่นั่นเราควรจะเข้าเมืองตาหลิ่วและฟังในสิ่งที่คนพื้นที่สั่งสอนครับ
  • คนที่เข้าใจปัญหาและศึกษาจริงๆ จะช่วยรับฟังปัญหาจากชาวบ้านแล้วต่อยอดทางปัญญาให้เกิดเพื่อส่งผลลัพธ์กลับไปยังชาวบ้านได้ครับ หากเราเข้าถึงชาวบ้าน ชาวบ้านก็จะเข้าถึงใจเราเช่นกัน การพัฒนาก็จะไปในทางเดียวกันได้
  • บ้านเรามีภูมิปัญญาเยอะนะครับที่เป็นประโยชน์ แต่ละท้องถิ่นก็มีลักษณะเด่นของตัวเอง น่าสนใจครับ จริงๆ พิพิธภัณฑ์ที่ดีควรอยู่ในทุกๆ ที่ นั่นคือ การใช้ประจำนั่นเองครับ หากเราใช้ประจำ ของสิ่งนี้ ก็ไม่ไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์แบบเป็นของหายาก คือให้เห็นว่ามีอยู่ทั่วไป ใครๆ ก็เีรียนรู้ได้เมื่อไปยังชุมชนนั้นๆ
  • ขอบคุณพี่มากๆ เลยครับผม สนุกในวันหยุดพักผ่อนนะครับ 

ภูมิปัญญา มีที่มาหนึ่งจากภูมิปัญหาแน่นอนครับ  แต่เอ ปัญหาจะเรียกเป็น ภูมิได้หรือไม่  น่าคิดนะครับ ภูมิ ในที่นี้น่าจะแปลว่าเต็มเปี่ยม สูงเยี่ยม ภูมิใจ อะไรประมาณนี้

                 ผมว่า การพัฒนา  สิ่งประดิษฐ์  แนวคิด ปรัชญา ก็มีรากฐานทั้งหมด

              1. อาจเกิดจากปัญหาที่พบของผู้คน

               2. อาจเกิดจากศรัทธาที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เรียกว่าแรงบันดาลใจ  เช่น ศาสดา ศาสนา ความรัก ความเกลียดชัง

              3. อาจเกิดจากกิเลศแห่งความโลภและครอบครองหรือตอบสนองตนเองหรือกลุ่ม

               เราจึงมีทั้งศาสตร์ด้านมืด และสว่าง จางวางขาวและจางวางดำ  มีสวรรค์นรก มีปีศาจและเทพบุตร ฯลฯ

               ขอบคุณครับผม

 P

13. mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง

สวัสดีครับคุณมิตร 

  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม และดีใจครับ ที่ได้เพื่อนร่วมคิดในด้านนี้นะครับผม
  • ภูมิปัญหา กับ ภูมิปัญญา   คำว่าภูมิในสองคำนั้นอาจจะมีความหมายเหมือนหรือต่างกันก็ได้ครับ ตามมุมมองครับ เช่นอาจจะแปลว่า ปัญหาในแต่ละภูมิ (พื้นที่) หรือแปลแบบที่คุณมิตรบอกเล่นๆ ก็ได้ครับ เช่น เป็นปัญหาที่สูงส่ง เพื่อปัญญาที่ล้ำค่า ไงครับผม อิๆๆ คุณดูซิครับ ว่าผมเป็นนักมั่วศาสตร์ขนาดไหนครับ
  • โลกเรามีปัญหาและที่มาเสมอครับ ทุกอย่างมีที่มา ที่อยู่และที่ไป เพียงแต่ว่าเราจะโยงใยให้เชื่อมกันได้หรือไม่ แต่ธรรมชาติโยงไว้เรียบร้อยแล้วครับ
  • ปัญหากับปัญญาก็คือสิ่งเดียวกัน แยกกันไม่ออก รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ตามมุมมองของเราครับ
  • ขอบคุณมากๆครับ คิดถึงน้ำในโอ่งบ้านคุณมิตรขึ้นมาอีกแล้วครับผม 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท