ชีวิตที่พอเพียงกับการเทียบโอน กศน.


การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับคนรากหญ้าที่เป็นนักศึกษา กศน.เป็นสิ่งจำเป็นที่ กศน.จะต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้จนเป็นวิถีชีวิตอย่างแท้จริง

            3  ห่วง  2 เงื่อนไข  4  ด้าน  ตอนแรกครูณัฐก็งง  ไม่รู้จะเชื่อมโยงให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร  เมื่อเล่าให้เพื่อนครูฟัง  เขาบอกว่า  "เข้าใจที่ครูณัฐพูด" 

             3  ห่วง   คือ  มีเหตุผล   มีความพอเพียง   มีภูมิคุ้มกัน

             2   เงื่อนไข   คือ   ความรู้   และ คุณธรรม

             4   ด้าน   คือ   วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ   สิ่งแวดล้อม   การเมือง 

             เมื่อมาเชื่อมโยง และเล่าให้ครู   ให้ชาวบ้านฟัง แล้ว น่าจะใช้ได้นะคะ

"ในสังคมปัจจุบันเราจะอยู่อย่างไรให้มีความสุข  อันดับแรกเราต้องเป็นคนที่มีคุณธรรมนำความรู้ เป็นฐานทีมั่นคงก่อน  เมื่อเราเป็นคนดี เป็นคนรอบรู้ จะทำให้เราเป็นคนคิดอย่างมีเหตุผล   เมื่อเป็นคนมีเหตุผลจะทำเราเป็นคนรอบคอบ  มีความพอเพียง หรือพอประมาณ  ส่งผลให้เรามีความสุขและมีภูมิคุ้มกันที่ดี   พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  สิ่งแวดล้อม  และการเมือง "

            การจัดการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง  ขณะนี้ทุกหน่วยงานได้น้อมนำแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดกิจกรรมให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างหลากหลาย จะเห็นว่าคนในชุมชนเกิดการตื่นตัว มีการลดรายจ่ายโดยการทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  คือพยายาม "ปลูกทุกอย่างที่กิน  กินทุกอย่างที่ปลูก"  ทั้งนี้เพื่อต้องการลดรายจ่ายภายในครอบครัว  เมื่อรายจ่ายลด เดี๋ยวรายได้ก็เพิ่มขึ้นมาเอง   ทำให้มีเงินออมมากขึ้น 

             กิจกรรมที่หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับชุมชนนั้น  มีอย่างหลากหลาย เช่น การปลูกพืชผสมผสาน การเพาะเลี้ยงหมูหลุม  การเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เพื่อการบริโภค  การจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย ให้เกิดความตระหนักในการใช้จ่ายเงิน การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้เอง การแปรรูปผลผลิตต่าง ๆ  และอื่น ๆ  อีกมากมาย

            คนในชุมชนมีประสบการณ์และเกิดการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง  แต่จะถึงขึ้นเป็นวิถีชีวิตหรือไม่   ต้องติดตามกันต่อไป 

            กิจกรรมต่าง ๆ  ที่ชาวบ้านได้เรียนรู้  จนเกิดทักษะในการปฏิบัติ  กศน.เปิดโอกาสให้สามารถนำมาเทียบโอนจากประสบการณ์เพื่อยกระดับความรู้  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (ประถม  ม.ต้น ม.ปลาย) ได้    

           ครูณัฐได้ไปร่วมประชุมปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรเพื่อชีวิตที่พอเพียงมาแล้ว  ได้ไปฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ให้ค่าน้ำหนัก  ความรู้   ความสามารถ  ประสบการณ์  และทักษะเข้าสู่หลักสูตรในหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544  (รายละเอียดการเทียบโอนจะอยู่ในหนังสือคู่มือการดำเนินการวิเคราะห์ให้ค่าน้ำหนักความรู้  ความสามารถ ประสบการณ์ฯ  เล่มสีเขียวใหญ่หนาที่สำนักฯส่งให้ทุก  ศบอ.แล้ว)  ซึ่งถ้าสถานศึกษา กศน.ในระดับอำเภอนำไปวิเคราะห์และเทียบโอนสะสมหน่วยการเรียนให้กับผู้ขอเทียบโอน  และจัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคลให้กับนักศึกษาแต่ละคน  จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างแท้จริง  และสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตได้  ซึ่งสามารถวัดได้  ประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

หมายเลขบันทึก: 126195เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 00:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท