จาก (การจัด... ๕ ) ผู้เขียนได้อ้างถึงแนวคิดเรื่องการจัดการกระทำทางศีลธรรมเป็น ๒ ระดับของ โบฌองพ์ (Beauchamp, Tom L.) เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงทฤษฎีในจริยศาสตร์... ซึ่งประเด็นนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอในโอกาสต่อไป ในบันทึกนี้จะนำเสนอเฉพาะการจัดประเภทฯ ตามแนวคิดเรื่องมาตรฐานศีลธรรม ๒ ระดับ ของเขาเท่านั้น....
โบฌองพ์ ไ้ด้นำเสนอเรื่องนี้ไว้ในหนังสือชื่อ Philosophical Ethics : An Introduction to Moral philosophy (พิมพ์ครั้งแรกปี ค.ศ.1982 และครั้งที่สองปี ค.ศ. 1991 แม้โครงสร้างเนื้อหาจะคล้ายคลึงกัน แต่รายละเอียดจะเขียนใหม่เกือบทั้งหมด) โดยเขาได้แบ่งมาตรฐานออกเป็น ๒ ระดับ ดังนี้ี้
มาตรฐานทั่วไป (Ordinary Standards) ในมาตรฐานระดับนี้ หน้าที่พื้นฐาน จะกลายเป็น หน้าที่สืบเนื่อง นั่นคือ เราจะประยุกต์ใช้หน้าที่พื้นฐานมาเป็นหน้าที่ในชีวิตประจำวันของเรา... ส่วน มาตรฐานคุณธรรมเบื้องต้น จะกลายมาเป็น คุณธรรมสืบเนื่อง ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เราประยุกต์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐานยกเว้น (Exceptional Standards) เป็นการพัฒนาสูงขึ้นจากมาตรฐานทั่วไป เหมะสมสำหรับคนบางคนเท่านั้น... โดยในมาตรฐานระดับนี้ หน้าที่พื้นฐาน จะกลายมาเป็น อุดมคติทางการกระทำ... ส่วน มาตรฐานคุณธรรมเบื้องต้น จะกลายมาเป็น อุดมคติทางคุณธรรม
.........
ตามแนวคิดเรื่องมาตรฐานศีลธรรม ๒ ระดับเบื้องต้น โบฌองพ์ได้นำมามาจัดประเภทการกระทำออกเป็น ๒ ระดับ ดังต่อไปนี้...
ระดับหน้าที่ เป็นมาตรฐานทั่วไปที่ครอบคลุมทุกคนไว้ เป็นหน้าที่ซึ่งทุกคนจะต้องกระทำตาม ถ้าไม่กระทำตามก็ถือว่าเป็นการผิดทางศีลธรรม โดยแบ่งออกตามระดับความเข้มของหน้าที่ดังต่อไปนี้...
ระดับการกระทำเหนือหน้าที่ เป็นมาตรฐานยกเว้นซึ่งเหมาะสมสำหรับคนบางคน เป็นการกระทำที่ไม่บังคับ สามารถเลือกได้ ถ้ากระทำก็มีคุณค่าทางศีลธรรม แต่ถ้าไม่กระทำก็ไม่มีความผิด จัดเป็นอุดมคติทางศีลธรรม โดยแบ่งออกตามระดับความเข้มดังต่อไปนี้...
............
บทที่ ๔ ในวิทยานิพนธ์เรื่อง การกระทำเหนือหน้าที่ในทฤษฎีจริยศาสตร์ร่วมสมัย ผู้เขียนได้นำเสนอบทวิเคราะห์มาตรฐานศีลธรรม ๒ ระดับ ของโบฌองพ์อย่างละเอียด ซึ่งจะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป...
อนึ่ง ผู้เขียนจะนำเสนอแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์อีกประเด็นก่อนจะสรุปจบในตอนต่อไป.....
ไม่มีความเห็น