EQ Camp แบบบ้านบ้าน ตอนที่ 1


เด็กไม่กังวลเรื่องในอดีต และไม่ห่วงกับอนาคต! เราเองก็ต้องฝึกที่จะอยู่กับปัจจุบันให้มากเช่นกัน

EQ Camp ของเราเริ่มขึ้นวันที่ 27 ส.ค.

แต่ก่อนจะเริ่มเราได้นั่งคุยกันถึงสิ่งที่อยากปรับปรุงจาก module1 ที่เราร่วมเรียนรู้กันมา (ต้องขอบคุณคุณทวีสินที่เตือนให้รู้ว่าเราต้องคุยกันเรื่องนี้ด้วย รวมทั้งข้อคิดเรื่องการนำ mind map มาใช้ใน module แรกด้วยค่ะ)

ทบทวนสิ่งที่ต้องปรับปรุงจาก Module 1 สรุปได้ดังนี้

• การเริ่มต้น Module1 เราเริ่มด้วยการบอกให้ทำ Mind map ในเรื่องของตัวเอง ทำให้ผลที่ได้รับผิดวัตถุประสงค์ไป จากที่เราตั้งต้นให้ทุกคนได้ค้นหาตัวเอง แต่พอเราแนะนำ Mind map ให้ทุกคนรู้จักก่อนเลยกลายเป็นว่า ประเด็นไปอยู่ที่การทำ Mind map เวลาสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เลยกลายเป็น Mind map ไป ซึ่งจริงๆแล้วคุณทวีสินแนะนำว่าเราควรเริ่มที่บอกให้เขียน Portfolio ของตัวเอง และปล่อยให้ผู้เรียนเลือกใช้เครื่องมือเอง Mind map เป็นเพียง tool ตัวหนึ่งที่แนะนำให้ผู้เรียนได้รู้จักทีหลัง

• บรรยากาศในการเรียนรู้เราควรได้คุยกันให้มาก ทำความคุ้นเคยรู้จักกันให้มากกว่านี้

• เราจดบันทึกกันน้อย หลายคนไม่มีการจดบันทึก เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้รับมาในแง่มุมความรู้สึกของตัวเอง ทางกลุ่มเลยคิดให้มีการล้อมวงคุยกันทุกเช้า เพื่อ remind สิ่งที่ผ่านมาและช่วยกระตุ้นให้อยากจดบันทึกมากขึ้น

• กิจกรรมใน module 1 ขาดความต่อเนื่อง Cashflow ควรเล่นก่อนทำ Project based มากกว่าที่จะนำมาอยู่ใน module 1

เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีกรรมใน Module 1 จากนั้นเราก็มาแชร์กันเรื่อง EQ แต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจยังไงบ้าง แล้วนุ้ยก็เสริมเรื่อง EQ ในแนววิชาการให้เพื่อนๆฟัง ให้พอดูมีชาติตระกูลบ้าง ในส่วนของกิจกรรมที่จัดขึ้นมีดังนี้ค่ะ

 
  • แบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกไปวัดพระบาทน้ำพุ เพื่อเยี่ยมและพูดคุยกับผู้ป่วย โจทย์คือ ต้องไป Strawberrytelling กับผู้ป่วย แล้วก็ตามดูจิตของตัวเองให้ทัน
  • กลุ่มที่สองไม่ไปไหนไกลอยู่กับเด็กๆในเนอสเซอรี่ของซันฟู้ด เด็กๆจะมีสองกลุ่ม คือเด็กเล็ก(กลุ่มดาวลูกเจี๊ยบ) และเด็กโตขึ้นมาหน่อย อายุไม่เกิน 4 ขวบ (กลุ่มดาวลูกไก่)

นุ้ยอยู่ในกลุ่มที่สอง คือต้องเริ่มต้นด้วยการเลี้ยงเด็กก่อน ในเนอสเซอรี่มีคุณครูบีเป็นครูใหญ่และครูพี่เลี้ยงอีก 5 คน งานที่เราได้รับมอบหมายคือ อาบน้ำเด็ก เปลี่ยนเสื้อผ้า ตักอาหารให้ ป้อนข้าวเด็กบางคนที่ยังทานเองไม่ได้ พาเด็กๆเข้านอน แล้วก็เล่านิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับเอ็นเตอร์เทนเด็กๆตอนที่ตื่นนอนแล้ว

 

               

 ความรู้สึกที่ได้คือ ความสุขความประทับใจในตัวเด็กๆ ที่นี่สอนให้เด็กเป็นคนที่มีวินัยมาก เด็กจะรู้ว่ามีหน้าที่ต้องทำอะไร ทานข้าวก็ต้องเดินไปหยิบแก้วน้ำเอง ทานเสร็จก็เก็บจาน เราแค่คอยดูอยู่ใกล้ๆเท่านั้นเอง ยิ่งตอนเล่านิทานให้ฟังเด็กๆโดยเฉพาะกลุ่มดาวลูกไก่จะสนใจฟังมาก เราเล่านิทานเรื่อง บ้องแบ๊ว เป็นสิ่งมีชีวิตในจินตนาการที่คอยจับ ตุ๊กแกที่ไม่ยอมนอน แมวเหมียวที่ออกวิ่งเล่นตอนกลางคืน รถไฟ ดวงดาว พระจันทร์ที่ไม่หลับไม่นอน และสุดท้ายบ้องแบ๊วก็มาเจอเด็กที่ไม่ยอมนอนและจับกิน นิทานเล่าเป็นกลอนอ่านง่าย มีรูปประกอบและจะมีเสียงหรือคำพูดซ้ำๆ เช่น โครกคราก โครกคราก (เสียงท้องร้องของบ้องแบ๊ว) วันต่อมาเจอเด็กๆพอทำเสียง โครกคราก โครกคราก เด็กก็ยังจำได้ น่ารักมากๆ

               จากการให้เด็กๆเป็นครูฝึก EQ หรือ สติของเรา สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเด็กๆในแง่มุมของนุ้ยคือ เด็กๆเค้ามีจังหวะชีวิตอยู่ใน Slow mode ช่างมีความสุขเสียจริง ดังนั้นเราควรจัดชีวิตตัวเองให้อยู่ใน Slow mode บ้าง(เท่าที่จะทำได้) เพื่อตามดูจิตตัวเองให้ทัน จัดการอาการทางกายให้แสดงออกได้เหมาะสม ใส่ใจคนรอบตัว ทุกคนจะได้มีความสุข

                ที่ประทับใจอีกอย่างคือตอนแชร์กัน คุณสุริยาถามว่า ทำไมเด็กถึงมีความสุข?  คำตอบที่โดนใจมากคือ เด็กไม่กังวลเรื่องในอดีต และไม่ห่วงกับอนาคต! เราเองก็ต้องฝึกที่จะอยู่กับปัจจุบันให้มากเช่นกัน   <p> </p>

คำสำคัญ (Tags): #eq camp#facilitator
หมายเลขบันทึก: 124582เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เด็กๆๆน่ารักดี
  • ได้ทำ Project based ด้วย
  • ดีจังเลยครับ

ไข่นุ้ย  พัฒนา การเขียน Blog ได้ จ๊าบมาก ..... เป็นปลื้มครับ

ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ ที่เป็นกำลังใจให้ จะเขียนบันทึกต่อไปเรื่อยๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท