เด็ก "บุคคลอันตราย"


เรื่องของเด็ก...แต่ไม่เล็กอย่างที่คิด

วันนี้ในขณะที่เข้าร่วมงาน  อบรมอาสาสมัครผลิตสื่อสำหรับผู้มีความพกพร่องทางการมองเห็น   จัดโดยคุณหนิง DSS-MSU   ณ กองกิจการนิสิต  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ช่วงเวลาใกล้เที่ยง  และได้พบเด็กชายคนหนึ่ง  หน้าตามอมแมม   ได้วิ่งเล่นกับเด็กๆ ลูกของเจ้าหน้าที่ บริเวณห้องจัดอบรม 

 จึงได้เรียกพูดคุยด้วย  ชื่อ  "มี" นามสมมุติ  พ่อแม่มีอาชีพรับจ้าง   กำลังเรียนชั้นป.3  อายุ 9  ขวบ  มีพฤติกรรมชอบลัก..เล็ก..ขโมยน้อย   จะดำเนินการช่วงหลังเลิกเรียน และ ช่วงเสาร์-อาทิตย์  มักจะเข้ามาเดินเล่นภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม    เมื่อมีโอกาสก็จะหยิบฉวย  กระเป๋าสตางค์  เงิน,  ของมีค่า  เป็นของนิสิต และเจ้าหน้าที่  ตามอาคารบริการกลาง พลาช่า    โรงอาหารกลาง   ตามตึกต่างๆ   แหล่งที่มีคนเดินไป มาพลุกพล่าน    เงินที่ได้มาจะนำไปเล่นเกมส์  ค่าขนม  นม  ต่างๆ  จะทำคนติดเป็นนิสัย

 จะมีพฤติกรรมอยู่อย่างนี้บ่อยๆ    พฤติกรรมดังกล่าว นำความวุ่นวาย หรือปวดหัวมาให้  จึงมีผู้ตั้งชื่อว่า "บุคคลอันตราย"  จากผู้รักษาความปลอดภัย และงานสวัสดิภาพนิสิต  ในมหาวิทยาลัยฯ    เมื่อทาง รปภ.จับได้ว่าเด็กขโมยเงินของนิสิต   มักจะส่งเด็กเข้าสถานีตำรวจ(ย่อย) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม   

จากนั้นนำทางตำรวจจะนำเด็กส่งให้กับผู้ปกครอง  ทำให้เด็กจะวนเวียนกลับเข้ามาก่อเหตุ ภายในมหาวิทยาลัยเช่นเดิม

และช่วงบ่ายๆ ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์  ว่าเด็กคนเดิมได้หยิบเงินของนิสิตไปจำนวนหนึ่ง  ในโรงอาหารกลางไป   จึงได้พูดคุยกับเด็ก ทำให้ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมชอบขโมยมานานแล้ว  ขาดความรักความอบอุ่น  พ่อแม่ชอบทำร้าย  เรียกร้องความสนใจ   ครอบครัวปล่อยปละละเลย   เวลาตอนกลางคืนเด็กจะหายออกจากบ้าน   พ่อแม่ได้ออกไปตามหา  และเมื่อไม่พบลูกชายก็จะกลับบ้านก่อนทุกครั้ง  เด็กจะเข้าบ้านประมาณหลังเที่ยงคืนทุกครั้ง

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้ความช่วยเหลือกับเด็กชายคนนี้ อย่างจริงจัง  เพราะเด็กเป็นเหยื่อจากครอบครัว   และกลายไปเป็นผู้ก่อเหตุให้กับบุคคลอื่น

ปัญหาดังกล่าวทำให้ทุกคน  ได้รับผลกระทบ  ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง    จากนั้นทั้งทีมร่วมกับงานสวัสดิภาพนิสิต  จึงได้ลงเยี่ยมบ้านของเด็ก  ร่วมกับนักจิตวิทยา  ทำให้ทราบว่า พ่อแม่มีความลำบาก  ยากจน    พ่อมีอาชีพ รับจ้างก่อสร้าง   ส่วนแม่เลี้ยงลูกเล็กๆอยู่ที่บ้านกลางทุ่งนา  ลักษณะของบ้านเป็นกระท่อม  ชั้นเดียว  ปลูกอยู่กลางทุ่งนา

เมื่อถามถึงการดูแลลูกชาย  รู้สึกเหนื่อยมาก  เพราะแต่ละวันจะมีคนมาบอกว่าลูกไปขโมยของคนอื่นมา  ทำให้เครียด  ต้องทำร้ายลูก หนักใจมาก ไม่สามารถที่จะอบรมลูกได้ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร   อยากจะให้เจ้าหน้าที่อบรมลูกให้เหมือนกัน  แล้วแต่เจ้าหน้าที่จะจัดการ   ยินดีให้ความร่วมมือ  เพราะคิดว่าครอบครัวหมดความสามารถที่จะดูแลลูกรายนี้แล้ว

เมื่อประเมินครอบครัวแล้ว คงไม่สามารถที่จะดูแลลูกได้ จะทำให้เด็กเกิดปัญหาต่างๆตามมา  จึงได้ประสานงาน กับหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม  เพื่อประสานส่งต่อ เด็กรายนี้   เพื่อเข้าสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจังหวัดขอนแก่น  ในการเข้ารับการบำบัดและให้การดูแล ช่วยเหลือเด็กรายนี้ต่อไป  

 

คำสำคัญ (Tags): #งานแนะแนว#msu-km
หมายเลขบันทึก: 124114เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2007 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ใช่ค่ะพี่อนงค์

ขอบพระคุณนะคะพี่อนงค์ที่ติดตามและให้ความช่วยเหลือเด็กรายนี้  เป็นกุศลจริงๆเลยค่ะพี่

สวัสดีค่ะ..คุณหนิง

  คิดว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จำเป็นจะต้องช่วยเหลือเด็กรายนี้ มิฉะนั้นแล้วกรณีดังกล่าวอาจจะนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมของสังคมก็ได้

  และ อีกบทบาทหนึ่งของพี่  คือ  คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก จังหวัดมหาสารคามค่ะ

สวัสดีครับ

ขออนุญาตมองในมุมที่แตกต่าง...

ผมเชื่อว่า, บางครั้งเราต้องใช้เวลามากกว่านี้ในการศึกษาว่าครอบครัวมีความพร้อม หรือไม่พร้อมในการดูแลเลี้ยงดูลูกมากแค่ไหน  หรืออย่างไร  ...  ความพร้อม หรือไม่พร้อมนั้น อาจไม่ใช่ประเด็นเรื่องเงินทองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่มันหมายถึงบริบทอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน 

ผมไม่เห็นด้วยกับกระบวนการนำรูปเด็กคนนี้ปิดประกาศประจานให้ระวังตัว ...  ซึ่งก่อนนี้มีคนดำเนินการในทำนองนี้

เพราะเด็กยังเป็นเด็ก  เด้กไม่ใช่อาชญากรที่ต้องป่าวประจานเช่นนั้น ,  มันมีวิธีและหนทางอื่นที่ละมุมละไมกว่านี้เยอะเลย ...

เด็กยังไม่สมควรถูกพิพากษาเช่นนั้น ...

ส่วนกรณีส่งไปให้ส่นราชการอื่นได้ช่วยดูแล, เยียวยา.  หรือขัดเกลานั้น   ผมเห็นด้วยหากเราได้ศึกษาอย่างชัดแจ้งแล้วว่า  มีความจำเป็นต้องทำเช่นนั้น  ซึ่งหายถึงการศึกษาเด็กและครอบครัว  เป็นที่ตั้ง ...

...

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

ไม่ได้เป็นมุมมองที่แตกต่างแต่อย่างไร   แต่เป้าหมายเดียวกัน คือ  การช่วยเหลือและเยียวยาเด็กรายนี้

การจัดการกับกรณีที่เกิดขึ้น เนื่อง ปัญหาที่เกิดขึ้น เด็กถูกปล่อยปละละเลย   อยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตราย   ทำให้  เจ้าหน้าที่   รปภ.  ตำรวจ   เมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้นกับเด็ก   ไม่ทราบว่าจะจัดการอย่างไร

กรณี เด็กลักขโมย... จับได้  ผู้เสียหายร้องทุกข์ 

.ได้สิ่งของแล้วปล่อยเด็กไป 

เด็กวนเวียน  กลับมา  ขโมยของนิสิต  ในมหาวิทยาลัยเช่นเดิม 

ในส่วนที่ผู้ดูแล    นำรูปเด็กไปปิดประกาศ  หรือประจาน นั้น   ถ้าครอบครัวของเด็กเอาเรื่อง  มีความผิด  ตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ 2542  ตาม ม.26  เพราะทำให้เด็กเสื่อมเสีย  (ไม่ทราบเรื่องด้วย) 

ผู้ใหญ่ควรจะระวังในการการปฎิบัติต่อเด็กด้วยเช่นกัน

สำหรับกรณีที่ พี่  เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย   เพราะ  ต้องการหาแนวทางร่วมกับผู้ปกครอง  ที่จะช่วยเหลือเด็กรายนี้อย่างจริง   จึง..ได้ยกสาย...ปรึกษากับ  พมจ.มหาสารคาม   เมื่อมีผู้ร้องขอ   จึงได้เรียกเด็กรายนี้มาพูดคุย 

ที่สำคัญจะทำอะไรจะต้องตระหนักถึงสิทธิเด็กอยู่แล้ว  ครอบครัวจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  ต้องมีปารประเมินครอบครัวของเด็กก่อนทุกครั้ง

   จึงทำให้ทราบปัญหาของเด็กมากมาย  และเด็กขอร้องให้ไปเยี่ยมที่บ้าน  จึงได้นำทีมไปเยี่ยม  เมื่อไปเยี่ยมมีแม่ของเด็กออกมาต้อนรับ  และได้เล่าปัญหาความทุกข์ที่ไม่สามารถจะดูแลลูกรายนี้ได้ต่อไปเพราะ

.......ไปโรงเรียน...ยังมีพฤติกรรมลักขโมย

......อยู่บ้าน....ลักขโมยทรัพย์สินของญาติๆๆ

....มาเที่ยว มหาวิทยาลัยฯ....ลักขโมยสิ่งของต่างๆ

.....กลับไปบ้านถูกพ่อแม่ทำร้าย....เพราะ...ปัญหาลักขโมย

 จากปัญหาข้างต้น  จึงได้เสนอแนวทางออกว่าให้กับพ่อแม่  ว่าคิดอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น  

 ถ้ามีหน่วยงานที่จะรับลูกไปอบรม ขัดเกลา และปรับพฤติกรรม  ในการรับไปดูแลลูกชั่วคราว

...ผู้ปกครองของเด็ก....ตอบว่า  ขอบคุณมาก...และไม่สามารถที่จะดูแลลูกได้ในขณะนี้ 

.....จึงได้แจ้ง....ให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่....ของจังหวัดมหาสารคาม   เพื่อส่งนักสังคมสงเคราะห์ ไปเยี่ยมบ้านของเด็กอีกครั้ง   และพูดคุยกับพ่อแม่ของเด็ก  เมื่อพ่อแม่ยินยอม   จึงจะต้องเป็นขั้นตอนการเช็นเอกสาร  ในการส่งเด็กเข้าสถานค้มครองสวัสดิภาพเด็ก   เพื่อการขัดเกลา  และเยียวยาเด็ก  เมื่อเด็กมีความพร้อมแล้ว  ครอบครัวสามารถที่จะไปรับเด็กกลับเข้าสู่ครอบครัวตามเดิม...

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท