วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวที่คนไข้ฟ้องแพทย์เท่านั้นหรือ?


แนวทางการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ให้ประชาชนเปลี่ยนจากการรับการสงเคราะห์ มาเป็นเจ้าของสิทธิ ผมมองว่าถูกต้องแล้ว แต่ระบบบริการสาธารณสุขเอง ที่ยังต้องปรับตามอีกมากตามกลไกการเงินการคลังที่เปลี่ยนไป

     ในหนังสือผู้จัดการออนไลน์ ที่ประเด็นข่าว “แฉ 30 บาทรักษาทุกโรคเหลว คนไข้ฟ้องแพทย์สูงกว่าเดิมหลายเท่า”  ได้ระบุโดยนายกแพทยสภา ว่าปัญหาข้อผิดพลาดทางการแพทย์ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการฟ้องแพทย์ หรือดำเนินคดีทางอาญา โดยแนะให้ทั้งผู้ป่วยและแพทย์ต้องเปิดเผยข้อมูลตามความเป็นจริง และใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา แต่กลับไประบุว่า 30 บาทรักษาทุกโรคส่งผลให้คนไข้เข้ารพ.เยอะขึ้นมาก ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ยังน้อยมาก เวลาในการตรวจคนไข้แต่ละคนจึงน้อยตามไปด้วย

     จริงเพียงส่วนหนึ่ง แต่ในด้านดีกลับไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก เช่นการที่ "คนจนกล้าไปหาหมอ" มากขึ้นไม่ปล่อยจนอาการเป็นไปมาก "ท่านนำคนไข้มาช้าไป" คำนี้ค่อย ๆ เลือนหายไป มีบ้างไม่ใช่ไม่มีที่ประชาชนใช้บริการเกินความจำเป็น แต่ต้องเชื่อว่าหากสุขสบายดี ไม่มีใครอยากไปหาหมอเพื่อรับการรักษา

     เพราะแนวทางการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ไม่สนใจว่าเป็นโครงการอะไร) ที่ได้เห็นชุมชนต่างพยายามพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ พยายามสร้างสุขภาพด้วยกลุ่มเครือข่ายเพราะมีงบประมาณลงไปจนถึงแบบนำมาคิดเอง แก้ปัญหาตนเองได้ เมื่อมีอยู่อย่างจำกัดก็เป็นธรรมดาที่สถานพยาบาลเดิมจะมองเห็นงบมาถึงน้อยลง เพราะส่วนหนึ่งได้ลงไปแบบภาคบังคับว่า "เพื่อส่งเสริม และป้องกันโรคในชุมชน" (P&P Comunity)

     แนวทางการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ให้ประชาชนเปลี่ยนจากการรับการสงเคราะห์ มาเป็นเจ้าของสิทธิ ผมมองว่าถูกต้องแล้ว แต่ระบบบริการสาธารณสุขเอง ที่ยังต้องปรับตามอีกมากตามกลไกการเงินการคลังที่เปลี่ยนไป ในส่วนของแพทย์ หรือผู้ให้บริการอื่น ผมได้เคยเสนอไว้ที่บันทึก กรณี คุณดอกรัก เพ็ชรประเสริฐ ซึ่งในข่าวนี้แพทยสภาก็ได้เสนอไว้เช่นกัน แต่ต่างกับผมที่เสนอรวมว่า "ผู้ให้บริการสาธารณสุขในภาพรวม" ครับ ยังมีอีกหลายภาคส่วน เช่น พยายาล ผู้ช่วยพยาบาล หมออนามัย เสี่ยงและเป็นทุกข์ด้วยกันแหละครับ

หมายเลขบันทึก: 12308เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2006 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

     ขอฝาก link ที่น่าสนใจในประเด็นนี้ไว้ 2 link ครับ ลองเข้าไปติดตามดู 'สร้างระบบชดเชยความเสียหาย' เยียวยาวิกฤติหมอ-คนไข้ 'ตัวช่วย'...คำตอบสุดท้าย http://www.thainhf.org/ThaiNHF/Story_result.asp?Story_ID=62 และ 'หมอประเวศ' แนะทางออก 5 ข้อ แก้ปัญหา แพทย์-ผู้ป่วย ขัดแย้ง http://www.thainhf.org/ThaiNHF/Story_result.asp?Story_ID=61

ก้อคิดเหมือนกันนะว่าใช่  แต่ในขณะเดียวกันก้อคิดว่าธรรมชาติของคนจะเรียนรู้เรื่องการเรียกร้องสิืทธิ์ของตนได้เร็วกว่าการเรียนรู้ที่จะทำหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์  จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ระหว่าผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  และหากการพัฒนาองค์กรและการเรียนรู้ในองค์กรยังยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นเท่าไหร่ความไม่สมดุลย์ก้อจะมากขึ้นเท่านั้น  ปัญหาที่ตามมาก้อจะมากมายตามลำดับ

     สิทธิและหน้าที่ ต้องเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันครับ และทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ การทำหน้าที่ของตนเองอาจจะไม่มีเสียงดังมากนัก แต่เชื่อว่ามีความเคลื่อนไหวอยู่อย่างเป็นพลวัตร ส่วนการเรียกร้องสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ มีเสียงดังมากและดังมากกว่า แต่เชื่อว่ายังน้อยกว่าสิทธิ์ที่เสียไปอยู่ ยังไม่สมดุลครับ เชื่อว่ายังไม่เกิดขึ้น ยังต้องพัฒนากันไปอีก...แม้จะยาวนานก็ต้องพยายามต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท