งบประมาณสมัยใหม่


งบประมาณสมัยใหม่ ไม่ใช่คำขอเงิน มีการคาดการณ์การใช้จ่ายล่วงหน้า มุ่งเน้นผลงาน / ผลสัมฤทธิ์

            ในการทำงานที่โรงพยาบาลบ้านตาก ได้ใช้ความรู้ที่เรียนทางด้านการบริหารจัดการภาครัฐ จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า มาปรับใช้ในการทำงานอย่างมาก เรียกได้ว่าทุกวิชานำมาใช้ได้หมด รายงานที่ทำส่งก็เป็นการวิเคราะห์โรงพยาบาลบ้านตากเกือบทั้งนั้น

             ในเรื่องการเงินการคลัง ก็มีดารเรียนและได้มรการเรียนเกี่ยวกับการทำงบประมาณแนวใหม่ ที่สอนโดย รศ. ดร .พลภัทร บุราคม ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนอย่างตั้งในและออกข้อสอบยากมาก ซึ่งตอนที่มีคนมาดูงาน ขอดูแผนของโรงพยาบาลบ้านตาก ก็งงๆว่าเอาแนวทางมากจากไหน ก็เอามาจากที่เรียนนิด้า นั่นแหละครับ ผมจึงขอยกรายละเอียดมาเล่าให้ฟังในบันทึกนี้ครับ

              งบประมาณสมัยใหม่ ตามความหมาย  ของ  คุณพรชัย   นุชสุวรรณ

1.         ไม่ใช่คำขอเงิน  แต่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ  (Strategic  based  budget)

2.         มีการคาดการณ์การใช้จ่ายล่วงหน้า  (Medium – term  budget)

3.         มุ่งเน้นผลงาน / ผลสัมฤทธิ์  (Performance – based  budget / result  based  budget)

ตามความหมายของ Frank P. Sherwood

1. งบประมาณเป็น financial Plan ไม่ใช่คำขอเงิน มีการแสดงแผนงาน / โครงการที่จะดำเนินการ

2. ประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนงาน / โครงการที่จะทำ

3. แหล่งที่มาของรายได้

4.         ผลที่คาดว่าจะได้รับ  ®  output ,  outcome ,  Productivity


องค์ประกอบของงบประมาณสมัยใหม่

1. ชื่อหน่วยงาน

2.         Budget  Message ®  Vision / Mission  ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ  และกำหนดกลยุทธ์ขึ้นมา  3  กลยุทธ์   ซึ่งได้จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจขณะนั้น ,  สภาพปัญหาสังคมเร่งด่วน ,  ปัญหาด้านบริการเร่งด่วน

3.         Budget  objectives  and  Program  ®  วัตถุประสงค์  หรือเป้าหมาย  ของการจัดทำแผนงาน / โครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

4.         Budget  Request  ปัจจุบันนิยมจ่ายเป็นก้อน  ตามจำนวนผู้รับบริการ  หรือแสดงเป็นรายการของ

4.1 งบดำเนินการ

4.2 งบประมาณลงทุน

4.3 แหล่งที่มาของรายได้

           ของประเทศไทย  มักมาจากงบประมาณทั่วไปอย่างเดียว  (general  fund)

5.         Performance  Measures  ®  ผลงานซึ่งจะวัดในรูป  outputs ,  outcomes ,  Productivity

6.         Budget  Justifications  ®  เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงรายการสำคัญ

สรุป ความหมายของ Frank P. Sherwood ตรงกันกับ คุณพรชัย นั่นคือ

                            ส่วนที่  2 , 3          ®         Strategic – base  budget

                            ส่วนที่  4         ®         Medium – term  budget

                            ส่วนที่  5         ®         performance  measure

           ผมเอง ยอมรับว่า การตัดสินใจเรียนโทของผม 2 ปีครึ่ง นั้น คุ้มค่ามาก เพราะได้นำมาใช้จริงๆในหน่วยงาน จนสามารถนำโรงพยาบาลบ้านตากพํมนาไปสู่โรงพยาบาลคุณภาพได้และแนวทางหลายอย่างก้าวตามแนวทางการปฏิรูปของรัฐบาลด้วย

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 12307เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2006 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท