ทดสอบหลังเรียนครั้งที่ 1 วิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข


หลักการสำคัญที่จะทำให้ความจำเป็นด้านสุขภาพทั้งหมดเปลี่ยนเป็นอุปสงค์ ว่ามีอะไรบ้าง และจะนำมาใช้ในการจัดบริการสาธารณสุขอย่างไร

    

     เมื่อกำหนดว่า อุปสงค์ (Demand) = [ความจำเป็น (Need) - ความจำเป็นที่ไม่รับรู้ (unfelt need)] X ความยินดี และความสามารถในการจ่าย (willingness & ability to pay)

     จงบอกหลักการสำคัญที่จะทำให้ความจำเป็นด้านสุขภาพทั้งหมดเปลี่ยนเป็นอุปสงค์ ว่ามีอะไรบ้าง และจะนำมาใช้ในการจัดบริการสาธารณสุขอย่างไร

     หลังเรียน (วันจันทร์ที่ 16 ม.ค.2549) แล้วให้ตอบไว้ที่ข้อคิดเห็นต่อท้ายบันทึกนี้ภายในวันที่ 19 มกราคม 2549 นะครับ

หมายเลขบันทึก: 12286เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2006 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
นายอิสมาแอ กือตุกับนายณัฐโชค บูเก็ม

 ความภาคภูมิใจที่สุดในการทำงานสาธารณสุข
    ข้าพเจ้าปฏิบัติงานวันแรกที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดง  จังหวัดปัตตานี มีความตื่นเต้นพอสมควรกับการทำงานที่ข้าพเจ้าจะได้พบ
กับสิ่งอะไรที่ข้าพเจ้าไม่เคยคิดมาก่อน  ว่าการทำงานสาธารณสุขเข้าทำงานกันอย่างไรรูปแบบและจะต้องทำตัวอย่างไรกับการทำงานครั้งแรกของ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ข้าพเจ้าปฏิบัติปฏิบัติที่สำนักฯ มันเป็นภาคใหญ่ทั้งอำเภอและงานที่ต้องทำเป็นงานด้านวิชาการมากกว่างานปฏิบัติทางด้านสุขภาพ
ตามความรู้สึกที่คิดว่างานสาธารณสุขต้องเป็นงานที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนมากกว่างานที่เกี่ยวกับวิชาการ ซึ่งต่างกับความคิดของข้าพเจ้าที่
คิดไว้  ดังนั้น  ข้าพเจ้าคิดว่าความสุขของการทำงานที่แทนจริงจะต้องทำงานที่เกี่ยวสุขภาพของประชาชนข้าพเจ้าจึงได้ขอลงปฏิบัติงานที่สถานีอนามัย
ซึ่งการปฏิบัติงานที่สถานีอนามัยนั้น  ตรงตามรูปแบบที่ข้าพเจ้าไว้ว่างไว้  เป็นความภาคภูมิใจที่ข้าพเจ้าได้ช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากโรคภัยต่างๆ
และรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนและได้หาสิ่งที่การแก้ไข  ซึ่งมันอาจเป็นเพียงเล็กน้อยแต่มันก็มีความสุขกับตัวของข้าพเจ้าเอง

สรุปเรื่อง
 งานสาธารณสุขเป็นที่กว้าง เพราะเป็นงานที่เกี่ยวกับประชาชนมีความหลากหลายในการทำงาน สามารถเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ต้องมีความ
ทันสมัยอยู่ตลอด  ตามโลกสมัยใหม่

ผลที่ได้รับ
  การทำงานต้องมีแผน  แต่แผนนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไว้ตามสถานการณ์

เรียน คุณอิสมาแอ กือตุ และคุณณัฐโชค บูเก็ม

     ช่วย Copy ข้อคิดเห็นนี้ ไปไว้ที่ โจทย์เขียนรายงานวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข สัปดาห์ที่ 1 ด้วย เพราะบันทึกนี้เป็นทดสอบหลังเรียน และเราจะเรียนวันนี้ช่วงบ่าย (เรียนรู้ก่อนสิถึงจะทดสอบ ฮา...)

นายวีระ สุวรณละเอียด (476277011)

     ในการที่จะเปลี่ยนความจำเป็นด้ารสุขภาพ(Need)ให้กลายเป็นอุปสงค์นั้นจะต้องมีสองส่วนที่ต้องร่วมกันปรับปับปรุงแก้ไข คือ

     1. ในส่วนของผู้ให้บริการ   ผู้ให้บริการจะต้องมีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือ/เชื่อมั่นในบริการที่จะได้รับ และ  ผู้ให้บริการต้องให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอีกทั้งบริการสุขภาพที่จะทำให้เกิด Good Health for All ซึ่งเป็นเป้าประสงค์ของการดำเนินงานด้านสาธารณสุขด้วยความเสมอภาคโดยเท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ  นอกจากนี้ผู้ให้บริการจะต้องมีคุณธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพของตนเองในการให้บริการด้านสุขภาพและต้องกระจายโอกาสในการเข้าถึงบริการให้กับประชาชนโดยทั่วถึงกันอย่างเป็นธรรมและกำลังความสามารถ

     2. ในส่วนของผู้รับบริการ  ผู้รับบริการจะต้องสนใจที่ศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของตนเองอีกทั้งต้องนำความรู้ที่มีที่ได้รับเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในพื้นที่รับทราบและร่วมกันพิทักษ์สิทธิของตนเองในการเข้าถึงบริการอย่างถูกต้องเหมาะสมและป็นธรรม

นายคมสรรค์ ชื่นรัมย์
การเปลี่ยนแปลง ควรเปลี่ยนอุปสงค์เทียม ซึ่งไม่มีความจำเป็นออก และใช้การรักษาพยาบาล อย่างเท่าเทียมกัน
พัฒนา ปรับเปลี่ยน สถานบริการให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานรองรับ ทุกด้าน ปรับพฤติกรรมการให้บริการแบบตั้งรับ เป็นนโยบาย ที่เข้าถึงประชาชนมากขึ้น บนพื้นฐาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ผู้บริหารควรเอาจริงกับนโยบาย สร้างนำซ่อม ประชาชนเองต้อง ได้รับ การเรียนรู้ที่ถูกต้อง และเข้าใจ บทบาทในฐานะผู้รับบริการอบ่างเท่าทัน (ความคาดหวังในอุดมคติ)
นางสุภาวณี ยูโซ๊ะ (476277016)

     หลักสำคัญในการเปลี่ยนความจำเป็นด้านสุขภาพ(need)ให้เป็นอุปสงค์  ดังนี้

1.ให้ความรู้แก่ประชาชน(ผู้รับบริการ) ในเรื่องทีเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของตนเองและชุมชน อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

2. กระจายโอกาสในการเข้าถึงบริการให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านสุขภาพและที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

3. ผู้ให้บริการจะต้องมีคุณธรรม มีจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพให้กับผู้รับและบริการ/ผู้ร่วมงาน

4. ผู้ให้บริการจะต้องให้บริการด้วยความเป็นธรรม เท่าเทียมและเสมอภาคกันกับผู้รับบริการทุกคนทุกกลุ่มเป้าหมาย

นายสว่าง บุณยะนันท์ รหัส 476277014

การจะเปลี่ยนความจำเป็นทางสุขภาพให้เป็นอุปสงค์ควรจะทราบหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของแต่ละอย่างก่อนความจำเป็นทางสุขภาพ คือ ภาวะพื้นฐานที่ตอบสนองความจำดป็นทางสุขภาพของแต่ละบุคคลทั้ง 4 มิติ เพื่อให้เกิดภาวะสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 อย่าง อันได้แก่ กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ส่วน อุปสงค์ คือ ความต้องการของประชาชนทางด้านสุขภาพที่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทางสุขภาพ                                               ความจำเป็นทางสุขภาพที่สามารถเปลี่ยนเป็นอุปสงค์      1. มุมมองหรือกระบวนทัศน์ทางสุขภาพของประชาชนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการควรมีการปรับเปลี่ยนแนวความคิดและมุมมองที่สอดคล้องตรงกันสามารถนำมาปฏิบัติได้และเกิดผลที่ดีกับทั้งสองฝ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการที่จำเป็นทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน โดยการกำหนดนโยบายหลักแห่งชาติทางสุขภาพให้ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็นและประชาชนต้องได้รับการบริการทางนั้นและมีการถ่ายทอดหลักการเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องและตรงกัน                          2. ปัจจัยทางสังคม ควรมีการส่งเสริมปัจจัยทางสังคม อาธิเช่น การศึกษา เทคโนโลยี เป็นต้น เพื่อยกระดับความรู้แก่ประชาชน3.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ควรมีการสร้างรายได้ให้แก่ภาคประชาชนเพื่อความต้องการของประชาชนทางสุขภาพได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม                                                    4.บุคลากร ควรมีการผลิตบุคลากรทางด้านสุขภาพ ตลอดจนมีการอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการบริการทางสุขภาพ     5.ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ควรมีการสร้างความยืดหยุ่นอุปสงค์ให้เป็นเอกภาพเพื่อให้ส่วนที่เปลี่นของปริมาณอุปสงค์เท่ากับส่วนที่เปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์                                                                         6.ความยืดหยุ่นของอุปทาน ควรมีการสร้างความยืดหยุ่นให้เป็นอุปทานให้เป็นเอกภาพ เพื่อให้ส่วนที่เปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปทาน เท่ากับส่วนที่เปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่กำหนดอุปทาน                                                         

นายราชันต์ ศรีนวล รหัส 476277006

      หลักการที่จะทำให้ความจำเป็นด้านสุขภาพทั้งหมดเปลี่ยนเป็นอุปสงค์ คือ ต้องทำการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงใน 2 ส่วน ดังนี้

      1. การพัฒนาด้านประชาชน โดยปรับการรับรู้เกี่ยวกับความจำเป็นด้านสุขภาพ  ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพให้ชัดเจนและครอบคลุม เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลต่างๆและสร้างความตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพ

       2. การพัฒนาด้านการให้บริการ โดยการจัดบริการทางสาธารณสุขให้ครอบคลุม  ประชาชนทุกกลู่มสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกและเป็นธรรม ซึ่งอาจทำได้โดย การลดต้นทุนการให้บริการ การพัฒนาคุณภาพการบริการ การพัฒนาบุคลากร การกระจายการให้บริการ การบริการที่เป็นธรรมและเสมอภาค การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และรูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องกับสภาพการณ์

        หลักการทั้ง 2 ข้อนี้ต้องพัฒนาควบคู่กันไปโดยมิให้เกิดความเหลื่อมลำกันจึงจะทำให้ความจำเป็นด้านสุขภาพกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการที่จะได้รับและได้รับการตอบสนองในที่สุด

 

นายวรวิทย์ กาเส็มส๊ะ รหัส 476277007

1.ด้านบุคลากรสาธารณสุข บุคลากรทางด้านสาธารณสุขควรมีการพัฒนาใฝ่หาความรุเพิ่มเติมอยู่เสมอเพื่อรู้ทันและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันถ่วงทีมีประสิทธิภาพในการทำงาน2.ด้านผู้รับบริการ พึงระลึกถึงสิทธิของตนเองในการเข้ารับการบริการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการเน้นการส่งเสริมสุขภาพ

3.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ มีการกระจายงบให้เข้าถึงผู้รับบริการได้อย่างเต็มที่เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ปัจจัยด้านสังคม การรับรู้ข่าวสารเทคโนโลยีให้มีความสอดคล้องกับความเจริญในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการส่งสเริมการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นาย อาดัม แวดาย๊ะ รหัส 476277017
    -โดยทำให้ประชาชน (คนไข้)รับรู้ความจำเป็นในการรักษาก่อน แล้วความยินดีหรือความสามารถในการจ่ายเพื่อการรักษาจะตามมาเอง  เช่น คนไข้มีโรคประจำตัว (โรคหอบหืด)โดยต้องใช้ยาที่โรงพยาบาลไม่มี (ยาพ่น สเตรียรอยด์) เจ้าหน้าที่ห้องยาอธิบายถึงยาตัวที่คนไข้ใช้การรักษารับรู้ก่อนว่ามีความสำคัญต้องใช้ หากไม่ใช้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้  แค่นี้คนไข้ก็ยินดีหรือสามารถที่จะหายามารักษาเพื่อความสำคัญต่อชีวิตต่อไป
นายยุทธนา กาฬสุวรรณ รหัส 476277005
โดยการอธิบายให้ประชาชนทราบถึงความจำเป็นในการที่ได้รับการรักษา ตัวอย่างเช่น (จากประสบการณ์ที่อยู่สถานีอนามัย)ผู้ป่วยชอบที่ขอยาโน้น ยานี่ โดยเฉพาะ ยานอนหลับ ชอบอ้างว่านอนไม่หลับ อยู่เสมอ มาเป็นประจำ เกือบทุกวัน บางวันก็ฝากให้ญาติมาเอาบ้าง ดังผมจึงได้อธิบายถึงโทษของยาให้ญาติ และผู้ป่วยเข้าใจ หลังจากนั้นก็มาเอายาน้อยลง ในการอธิบายนั้นผมได้แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบ้าง ทานผลไม้ และดื่มน้ำมากๆ ให้ลดบุหรี่ ลดกาแฟ มีบ้างที่ได้ผล แต่ผู้ป่วยบางคนเมื่อไม่ได้ยาจากผมอยู่ก็จะไปขอจากที่อนามัยอื่นดังนั้นหากอนามัยอื่นๆนั้นร่วมมือกันอธิบายโทษของยาให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูงต้อง  ประชาชนก็จะทราบถึงความจำเป็นในการใช้ยาประเภทนี้ และถ้าประชาชนทราบถึงความจำเป็นแล้วการรักษาสุขภาพก็จะง่ายขึ้น 
บูรณาการระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการให้สอดคล้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

1. เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการต้องมีความรู้และเชียวชาญในด้านนั้น ๆ

2. ให้บริการแก่ผ้มาขอรับบริการด้วยความซื่อสัตย์และบริการด้วยความจริงใจยึดถือประโยชน์ของผู้มาขอรับบริการเป็นสำคัญ

ในการจัดบริการสาธารณสุขควรให้มีการเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุกับประชาชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดีโดยการเพิ่มอุปสงค์บางอย่างเข้าไปบ้างและบางที่อาจจะต้องลดความจำเป็นบางอย่างด้วยเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า
วิโรจน์ มิตทจันทร์ 476277009

1. เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเชียวชาญต่อวิชาชีพอย่างแท้จริง ก่อนที่จะเผยแพร่แก่ผู้อื่น

2. บริการด้วยความจริงใน  ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่

3. ถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์อื่นใด

นายวีรวัฒน์ ล่าโยค 476277010

1.บุคคลกรทางด้านสาธารณสุขต้องพัฒนาตัวเอง และมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน

2.เน้นการทำงานเชิงรุก โดยการเข้าถึงชุมชนและประชาชน

3.ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน

4.ต้องมีความจริงใจแก่ผู้มารับบริการ โดยความเที่ยงธรรมและไม่ให้อภิสิทธิ์แก่ผู้มารับบริการ

นายวิพิทย์ จันทร์อินทร์ รหัส 476277008

ควรมีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการทำงานขององค์กรของรัฐหันมองในเชิงรุกและให้ความยุติธรรมความเสมอภาพต่อผู้มารับบริการ มีความจริงใจ  สุจริตต่อหน้าที่ ถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก พร้อม ๆ กับมีการพัฒนาองค์กรของรัฐทั้งด้านต่างๆ

ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบและสามารถเข้าใจในองค์กรของรัฐมากขึ้นมีความมั่นใจที่จะรับบริการในหน่วยงานของรัฐ

นายอาสัน หง๊ะเจะแอ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องเข้าถึงชุมชน  ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต  ไม่เลือกปฏิบัติ  และศึกษาความรู้ใหม่เพิ่มเติมเสมอ  สามารถถ่ายทอด  แนะนำประชาชนได้  เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วจึงรู้บทบาทในฐานะผู้บริการและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้
วไลภรณ์ สุขทร รหัส 476277012

1.ปรับระบบการให้บริการโดยการทำงานเชิงบูรณาการ เช่น การทำงานเชิงรุก ออกติดตามงานต่างๆ ในหมู่บ้าน ทำให้เราทราบข้อมูลได้หลายงาน ซึ่งเป็นการลดต้นทุน และสามารถเข้าถึงประชาชน รู้ปัญหาและความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น

2.การทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการทำประชาคมเพื่อทราบปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ ซึ่งจะตรงกับความต้องการของประชาชน และสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด

3.พัฒนาระบบบริการให้ได้มาตรฐาน

4.ให้บริการด้วยความเสมอภาคและทั่วถึงกับประชาชนทุกคนดังคำกล่าวที่ว่า "ใกล้บ้าน ใกล้ใจ"

5.ต้องมีจิตใจที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ของวิชาชีพซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ

6.มีเจตนารมย์ที่แน่วแน่ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี

นางวไลภรณ์ สุขทร รหัส 476277012

ขอตอบข้อนี้ใหม่

    จากสมการ อุปสงค์ = (ความจำเป็น - ความจำเป็นที่ไม่รับรู้) x ความยินดีหรือความสามารถในการจ่าย การที่จะทำให้ความจำเป็นด้านสุขภาพเปลี่ยนเป็นอุปสงค์ ต้องทำความจำเป็นที่ไม่รับรู้ให้กลายเป็นศูนย์ ซึ่งความจำเป็นที่ไม่รับรู้มี 2 ลักษณะ คือ ประชาชนไม่รู้กับเจ้าหน้าที่ไม่อธิบาย  สามารถทำให้ 2 ลักษณะนี้หมดไป โดยใช้กระบวนการทางสุขศึกษา คือ การให้ความรู้แก่ประชาชนและบอกให้ประชาชนทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ เช่น การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เจ้าหน้าที่ต้องอธิบายสาเหตุ อาการ การรักษา การปฏิบัติตน ยาและผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษา ให้ผู้ป่วยเข้าใจเมื่อผู้ป่วยเข้าใจ การดูแลตนเองและการรักษาก็จะได้ผลดีขึ้น เมื่อทำ 2 อย่าง (ให้ความรู้ประชาชนและบอกให้ประชาชนทราบ) ควบคู่กันไปก็จะทำให้ความจำเป็นที่ไม่รับรู้เป็นศูนย์  ซึ่งจะเกิดอุปสงค์การเต็มใจจ่าย

นางวไลภรณ์ สุขทร รหัส 476277012

ขอตอบข้อนี้ใหม่

    จากสมการ อุปสงค์ = (ความจำเป็น - ความจำเป็นที่ไม่รับรู้) x ความยินดีหรือความสามารถในการจ่าย การที่จะทำให้ความจำเป็นด้านสุขภาพเปลี่ยนเป็นอุปสงค์ ต้องทำความจำเป็นที่ไม่รับรู้ให้กลายเป็นศูนย์ ซึ่งความจำเป็นที่ไม่รับรู้มี 2 ลักษณะ คือ ประชาชนไม่รู้กับเจ้าหน้าที่ไม่อธิบาย  สามารถทำให้ 2 ลักษณะนี้หมดไป โดยใช้กระบวนการทางสุขศึกษา คือ การให้ความรู้แก่ประชาชนและบอกให้ประชาชนทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ เช่น การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เจ้าหน้าที่ต้องอธิบายสาเหตุ อาการ การรักษา การปฏิบัติตน ยาและผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษา ให้ผู้ป่วยเข้าใจเมื่อผู้ป่วยเข้าใจ การดูแลตนเองและการรักษาก็จะได้ผลดีขึ้น เมื่อทำ 2 อย่าง (ให้ความรู้ประชาชนและบอกให้ประชาชนทราบ) ควบคู่กันไปก็จะทำให้ความจำเป็นที่ไม่รับรู้เป็นศูนย์  ซึ่งจะเกิดอุปสงค์การเต็มใจจ่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท