วิจัยในฝัน


โรงเรียนต้นแบบในฝัน
ชื่อวิจัย   กลยุทธ์หลักการพัฒนาที่ส่งผลต่อภาพความสำเร็จของโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอ   หนึ่งโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1ชื่อผู้วิจัย นายกิตติ  กสิณธารา  ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ  สพท.นฐ.1ปีที่ทำ    2550 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักสองประการเพื่อ (1) ศึกษาผลการดำเนินโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 และ (2)  กลยุทธ์หลักการพัฒนาที่ส่งผลต่อภาพความสำเร็จของโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 โดยใช้แนวคิดของณัฐพล ชวลิตชีวิน และปราโมทย์  ศุภปัญญา ที่กล่าวว่า การวัดผลประเมินผลเป็นกลไกในการควบคุมการทำงานขององค์กรและเพื่อตรวจสอบสถานะขององค์กรว่าเป็นอย่างไร การตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จและการพัฒนางาน อีกทั้งแนวทางการประเมินยังเป็นสิ่งกำหนดทิศทาง วิธีการ และ ผลการปฏิบัติงานอีกด้วย เป็นกรอบแนวคิดหลักสำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติตามแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุลรอบด้าน (Balanced Scorecard) มากำหนดมุมมองที่เกี่ยวกับผลสำเร็จของโรงเรียนในฝัน 4 มุมมองคือ (1) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) (2) มุมมองด้านกระบวนการ        จัดการศึกษาภายใน (Internal  Process Perspective)  (3) มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) และ (4) มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร (Budget and Resource Perspective) ตัวชี้วัดในแผนหลักโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์หลักการพัฒนาระบบและการบริหารจัดการ  (2) กลยุทธ์หลักการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ (3)  แผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (4) กลยุทธ์หลักการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ (5) กลยุทธ์หลักการพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา และภาพความสำเร็จโรงเรียนในฝัน 5 ด้านคือภาพความสำเร็จด้าน (1) นักเรียน (2) ครู (3) ผู้บริหาร (4) โรงเรียน และ (5) ผู้ปกครองและชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นครู นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 477 คน  ได้มาโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เคอซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และขนาดของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน จำแนกตามชั้นเรียนของโรงเรียนแต่ละโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลที่เป็นครูและนักเรียน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้ปกครอง กำหนดใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงจากนักเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรต้น ได้แก่กลยุทธ์หลักในการพัฒนาโรงเรียนตามตัวชี้วัดในแผนหลักโครงการหนึ่งอำเภอ  หนึ่งโรงเรียนในฝันของกระทรวงศึกษาธิการและตัวแปรตาม ได้แก่ ภาพความสำเร็จของโรงเรียนในฝัน  ทั้ง 5 ด้านคือด้านนักเรียน ด้านครู ด้านผู้บริหาร  ด้านโรงเรียนและด้านผู้ปกครองและชุมชน      กำหนดใช้การหาค่าความถี่    ร้อยละ    ค่าเฉลี่ย     ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis)  แบบ enter ผลการวิจัยพบว่า1.    ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์หลักการพัฒนาโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1  โดยการกำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุลรอบด้าน โดยรวมและจำแนกเป็นรายกลยุทธ์หลักการพัฒนาพบว่ามีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน 2. ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์หลักการพัฒนาโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 โดยรวมพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก   และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลยุทธ์การพัฒนาพบว่า โรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 มีผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์หลักการพัฒนาทุกด้าน      มีการผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์หลักการพัฒนาด้านการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีค่ามากที่สุด และด้านการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการ มีผลการปฏิบัติน้อยที่สุด 3. ภาพความสำเร็จของการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 พบว่าโดยรวมมีความสำเร็จอยู่ในระดับมาก และจำแนกเป็นรายด้านความสำเร็จทั้ง 5 ด้านคือด้านผู้เรียน ด้านครู ด้านผู้บริหาร ด้านโรงเรียนและด้านผู้ปกครองและชุมชนพบว่ามีความสำเร็จอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีภาพความสำเร็จด้านผู้บริหารและด้านครู   มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและใกล้เคียงกัน และภาพความสำเร็จด้านนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 4.   กลยุทธ์หลักการพัฒนาระบบและการบริหารจัดการ (X1)  กลยุทธ์หลักการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ (X2)  แผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (X3)  กลยุทธ์หลักการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (X4) และกลยุทธ์หลักการพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา (X5) เป็นตัวแปรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าในสมการ และสามารถทำนายภาพความสำเร็จของโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอ  หนึ่งโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 โดยรวม (Y)  และจำแนกเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้านคือด้านผู้เรียน(Y1) ด้านครู (Y2) ด้านผู้บริหาร (Y3)  ด้านโรงเรียน (Y4)  และด้านผู้ปกครองและชุมชน (Y5)  ตามลำดับ  
หมายเลขบันทึก: 122811เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เพิ่งเข้ามาอ่าน ได้แนวทางในการทบทวนความรู้ความเข้าใจของตัวเองมากขึ้นอีกระดับค่ะ ขอบคุณค่ะที่เผยแพร่

ขอบคุณครับคุณจารุวรรณ คงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโอกาสต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท