แม้แต่การยกป้ายเตือนเวลาก็มีการพัฒนา


วงรอบการพัฒนา
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ได้ไปร่วมประชุมการนำเสนอผลงานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลประจำปี ซึ่งจัดโดย สสจ.นครพนม ที่ห้องเสาร์ทอง โรงแรมนครพนมริเวอร์วิว..งานนี้เป็นการรวมผลงานเด่นที่ภาคภูมิใจนำเสนอของแต่ละโรงพยาบาลในจังหวัดนครพนมรวมทั้งมีการแสดงนวตกรรมสิ่งประดิษฐ์ด้วย จุดประสงค์หลักคือการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาต่อเนื่องและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาระหว่างโรงพยาบาลภายในจังหวัดนครพนมส่วนจุดประสงค์รองคือการคัดเลือกผลงานเด่นระดับจังหวัดเพื่อส่งประกวดระดับเขต กรรมการผู้วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะคือ นพ.เชาวลิต นิลวรางกูรและคุณอุษณีย์ หลอดเณร จาก สปสช.สาขาเขตพื้นที่(สกลนคร)  กำหนดเวลาให้นำเสนอโรงพยาบาลละ 20 นาที โดยจะมีการยกป้ายเตือนล่วงหน้าเมื่อเหลือเวลาอีก 5 นาทีและยกอีกทีเมื่อหมดเวลา...งานนี้ผู้ยกป้ายเตือนคือ น้องแม้วคนสวย..(น้องพยาบาลจาก ER รพร.ธาตุพนม)เรานี่เองค่ะ..ได้รับการมอบหมายภารกิจนี้แบบฉุกเฉินจากกรรมการผู้จัดงาน..ตอนแรกน้องไม่กล้ารับหน้าที่..พี่ต้วม(ผู้ประสานงาน)ก็เลยบอกว่า..เรื่องเล็กน้อยอย่างนี้สบายมากสำหรับสาว ER. ที่เก่งและสวยอย่างน้องแม้ว...ปรากฎว่าOK.ค่ะ ..ไม่แน่ใจว่าผู้พูดเสริมพลังเก่งหรือว่าผู้ฟังบ้ายอกันแน่!งานนี้..น้องคงตื่นเต้นกับภารกิจนี้แน่ๆเลยค่ะคือพอได้รับป้ายบอกเวลาจากผู้จัดก็วางลงตรงหน้าแล้วยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม..น้ำหกรด..ป้ายเปียกปอนไป 1 อันค่ะ..พอถึงเวลายกป้ายเตือนให้ผู้บรรยายโรงพยาบาลแรก(รพ.เรณูนคร) ทราบปรากฎว่า..ผู้บรรยายบนเวทีมองไม่เห็นค่ะ..สาเหตุคือน้องนั่งยกป้ายอยู่ที่มุมขวาสุดของห้องประชุม..น้องก็เลยเปลี่ยนมุมเดินไปนั่งแถวกลาง..ทีนี้สัญญาณชัดค่ะ..คือ ผู้บรรยายพยักหน้าและยิ้มให้เป็นการตอบรับ..ต่อมาโรงพยาบาลที่ 2 ขึ้นเวที เห็นการเปลี่ยนแปลงค่ะ..คือมีการยกป้ายให้ผู้บรรยายทราบและหมุนป้ายกลับมาให้ผู้เข้าประชุมทราบด้วย..ทั้งป้ายเหลือเวลา 5 นาทีและป้ายหมดเวลา..โปร่งใสมั้ยคะ? เห็นวงล้อการพัฒนาของผู้ยกป้ายแล้วคิดว่า..เป็นธรรมชาติของคนเรานี่นา..ที่มีการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้บรรลุบรรลุเป้าหมายนั้นๆ..ประทับใจน้องแม้วค่ะ..อ้อ..งานนี้ รพร.ธาตุพนมได้รับรางวัลชนะเลิศนะคะ..จากผลงานการพัฒนาคุณภาพทางคลินิกเรื่อง.. การพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกแรกเกิด
หมายเลขบันทึก: 122391เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

           บรรยากาศในงาน เหมือนกับการบรรยายวิชาการ หรือประกวดไปนิดนึงครับ ในความเห็นของผม เพราะขึ้นอยู่กับผู้วิพากษ์อย่างเดียว ผู้เข้าฟังไม่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน หรือให้ความเห็น

         เวลาการนำเสนอก็ติดกัน ต่อเนื่อง ตั้งแต่เช้ายันเย็น ทำให้บอร์ดที่แต่ละ รพ.จัดไปแสดง ได้ใช้ประโยชน์ไม่เต็ ที่ครับ

          ส่วนเนื่อหาแต่ละที่ส่งไปนำเสนอ มีเรื่องพัฒนาระบบเบาหวาน 4 แห่ง

ขอแสดงความยินดีกับทีมธาตุพนมด้วยค่ะ

ขอขอบคุณมากๆเลยนะคะ..สำหรับกำลังใจจากท่านอาจารย์ ดร.วัลลา ทราบจาก ภก.เอนก..เมื่อสัปดาห์ก่อน ว่าอาจารย์เปลี่ยนที่ทำงาน..ก็ยังคิดถึงธาตุพนมเสมอ..เห็นด้วยกับเภสัชกรเอนกทุกอย่างนะคะ..เวทีประกวดCQI..วันนั้นผู้จัดมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกผลงานส่งเข้าประกวดระดับเขต..ส่วนทางเขตก็กำหนดอีกว่าต้องเขียนเป็นผลงานวิชาการ ที่พร้อมตีพิมพ์ในเอกสารทางวิชาการ ตามกติกาสากลว่าด้วยเรื่องการส่งเอกสารวิชาการเพื่อพิมพ์ในหนังสือ..พวกเราก็เลยอึดอัด..ฟังแล้วเครียดไม่อยากส่งผลงาน..แต่ก็ได้เรียนรู้ว่า..มันเป็นกติกาทางสังคมอย่างนึง..มีอีกหลายเวทีที่เราจะสามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนานและทำงานอย่างมีความสุข..อย่าง KM-DM และสิ่งที่ผู้ประสานงานดีใจและภูมิใจในงานนี้..ไม่ใช่รางวัลเลยค่ะ..แต่เป็นการได้เห็นความร่วมแรงร่วมใจของทีมงาน รพร.ธาตุพนม ความตั้งใจผลิตผลงานให้ออกมาดีที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดของเวลาและงบประมาณ...ขอบคุณพี่วรณีที่เป็นกำลังหลักและน้องๆพยาบาลทีมจัดนิทรรศการ..ขอบคุณเป็นที่สุดคือคุณหมอจ๋า-ภก.เอนก-คุณปู ตึกเด็ก..ที่อยู่ร่วมด้วยช่วยกันทำงานจนถึง ตี 2 - ตี 3 ขอบอกว่าชื่นใจจริงๆค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • แหล่มเลย อิอิอิ

ขอบคุณนะคะพี่แดง ที่แวะมาเยี่ยมทักทาย..คิดถึงชาวรพร.ท่าบ่อเสมอ..เป็นกำลังใจให้เสมอนะคะ..พี่แดง..สู้..สู้..อ้อ..อยากรู้เรื่องเฮฮาศาสตร์จัง..เป็นตาหม่วนเนาะ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท