beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

City Tour เมืองตักสิลา


มหาสารคาม มาจาก "กุดยางใหญ่" ส่วน "ตักสิลา" หมายถึงเมืองทางการศึกษา

   ย้อนรอยกลับมาเล่าเรื่อง city tour เมืองตักสิลา เย็นวันที่ 6 มกราคม 2549 : ผมไปงาน UKM ในฐานะผู้สังเกตการณ์ พอตอนเย็นปกติตามโปรแกรม city tour จะเริ่ม 16.30 -18.00 น. แต่เนื่องจากในห้องประชุมยังไม่เลิกเลยต้องรอ

   ทีมงานมน.มากระซิบบอกว่า "ทัวร์ในเมืองไม่ค่อยน่าสนใจ" ดังนั้นทีมงานจะไม่ไปด้วย แต่เนื่องจากผมยังไม่เคยมามหาสารคาม ผมเลยอยากไป city ทัวร์มาก คิดว่า "เจ้าภาพต้องเลือกสรรสิ่งที่ดีๆมาฝากแน่" (และก็ไม่ผิดหวัง) ผมออกมาถามผู้จัดหน้าห้อง บอกว่ามีคนจองเพียง 3-4 รายเท่านั้น (จากจำนวนรับ 20 ท่าน) ผมจึงชวน room mate คือ คุณกอล์ฟไปด้วย 1 คน พอออกมานอกห้องอาจารย์หนึ่งจะไปด้วย ผมเลยให้มาเป็นพรีเซนเตอร์

     
   
  ภาพที่ 1 ยานพาหนะของเจ้าภาพที่จะใช้ในการไป city tour กับอาจารย์หนึ่ง ม.นเรศวร  

    กว่าสมาชิกจะมาขึ้นรถกันก็ 5 โมงเย็นกว่าแล้ว ทยอยกันมาได้ 10 กว่าท่าน ขึ้นหาที่นั่งประจำรถ มีการแจกเอกสารสืบสารตำนานเมืองมหาสารคาม เมื่อพร้อมกันแล้วก่อนรถออกตอน 17.30 น. ได้มีการแนะนำวิทยากร (ไกด์) 2 ท่าน ดังภาพที่ 2 และ 3

     
 
  ภาพที่ 2  วิทยากร ผศ.ธีรชัย บุญมาธรรม จากคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ภาพที่ 2 ซ้าย คุณแม่ทองเลี่ยม เวียงแก้ว ข้าราชการบำนาญอายุ 80 ปี อดีตพยาบาลและอื่นๆ ทราบประวัติเมืองมหาสารคามเป็นอย่างดี สืบย้อนไปได้เป็นร้อยปี เนื่องจากฟังคุณแม่เล่าให้ฟังและมีความจำเป็นเลิศ แม้จะมีอายุมากแล้ว

   จังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองน่าจะมาจาก คำว่า "มหาสาลคาม" จากหลักฐานสารตราเจ้าพระยาจักรีมาถึงพระขัติยวงษาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด ตรงกับวันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ชื่อเมืองสอดคล้องกับคำว่า "กุดยางใหญ่" โดย "กุด = คาม" "ยาง = ต้นรังหรือ สาละ" "ใหญ่ = มหา"

   เจ้าเมืองท่านแรกคือ ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นบุตรอุปฮาต (สิง) เมืองร้อยเอ็ด (เกิด พ.ศ. 2379) ภายหลังได้รับพระราชทานนามว่า "พระเจริญราชเดช (กวด) ได้มาตั้งเมืองบริเวณ "กุดยางใหญ่" ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2421

   เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ อุปราช (ท้าวไชยวงษา ฮึง) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระเจริญราชเดช ได้ย้ายที่ว่าราชการ (โฮงเจ้าเมือง) ไปอยู่บ้านเลขที่ 1422 ถนนนครสวรรค์ (มาจากพระนามของกรมพระนครสวรรค์วรพินิจ) เรียกว่า "โฮงญาหลวงเฒ่า"

   เจ้าเมืองคนที่ 2 ถึงแก่อนิจกรรมเมื่องปี พ.ศ. 2446 พระพิทักษ์รากร (อุ่น ภวภูตานนท์ฯ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมืองคนที่ 3 (คนสุดท้าย) โฮงเจ้าเมืองเรียกว่า "โฮงญาพ่อหลวง" อยู่เยื้องกับ "โฮงญาหลวงเฒ่า" เป็นอาคารไม้ 2 ชั้นทาสีแดง

   หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ต่อจากพระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์)

   ส่วนคำว่า "ตักสิลา" มาจากผู้ว่าราชการจังหวัดท่านหนึ่ง ที่เห็นว่าจังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองที่มีสถานศึกษาหลายแห่ง จึงตั้งชื่อว่า "ตักสิลา" หมายถึง เมืองที่เด่นทางด้านการศึกษา

   สถานที่ ซึ่งเราได้ผ่านไป (ไม่ได้ลงไปดู) ได้แก่ คลองสมถวิล, กุดยางใหญ่, คุ้มเจ้าเมืองเดิม, วัดโพธิ์ศรี, ตึกดิน, ตลาดสี่กั๊ก, ตลาดเจริญ (บรรดาศักดิ์เจ้าเมือง), หลักเมืองมหาสารคาม เป็นต้น ส่วนสถานที่สุดท้ายที่เราได้ลงไปเดินเยี่ยมชมและถ่ายภาพมาให้ชมคือ พิพิธภัณฑ์เมือง มหาสารคาม

   พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยใช้งบประมาณรวมประมาณ 3 ล้านบาทจากเทศบาลเมืองมหาสารคาม เพื่อแสดงวิถีชีวิตของคนในเขตเทศบาล พัฒนาการของอาคารบ้านเรือน ความเชื่อ และได้แสดงสายตระกูลเจ้าเมือง รวมทั้งประชาชนทั่วไปด้วย

     
     
  ภาพที่ 3  ซ้าย คุณเรศวร ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับ  
     
     
  ภาพที่ 4 ผศ.ธีรชัย บรรยายแผนที่เมืองมหาสารคาม  
     
 
   ภาพที่ 5 แผนที่เมืองมหาสารคาม ภาพที่ 6 น่าจะเป็นโฮมเจ้าเมืองคนที่ 3 จำลอง
     

 

 
  ภาพที่ 6 ย้อนอดีตร้านถ่ายรูป ภาพที่ 7 เจ้าของร้านคนปัจจุบัน
     
     
   ภาพที่ 8 ภาพย้อนอดีตสิ่งก่อสร้างและวิถีชีวิตชุมชน  
     
 
  ภาพที่ 9 ของใช้ของคนยุคก่อน ภาพที่ 10 พระพุทธรูปสำคัญ
     

    เรากลับจากพิพิธภัณฑ์มาถึงสถานที่จัดเลี้ยงต้อนรับ ชั้น 4 โรงแรมนิวพัฒนา ตอนประมาณ 1 ทุ่มครึ่ง ได้ทันดูการแสดง และภาพด้านล่างนี้ มีคนฝากให้ถ่ายฝากคุณบอย สหเวช ครับ

   
 

 

หมายเลขบันทึก: 12238เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2006 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แวะมาดูเรื่องราวบ้านเราค่ะ

  • เขียนนานตั้งปีกว่า จึงมีคนเข้ามาให้ข้อคิดเห็น
  • ขอบคุณ คุณหนิงที่แวะมาเยี่ยม
  •  ขอบพระคุณค่ะอาจารย์
  • ตอนอาจารย์เขียนนั้น  หนิงยังไม่รู้จัก UKM เลยค่ะอาจารย์ 
  • ดีใจมากเลยค่ะที่อาจารย์นำเรื่องราวของบ้านเรามาเขียนไว้ในG2K ด้วยอ่ะค่ะ 
  • บางทีว่างๆหนิงก็เข้าไปแวะดูในพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามเหมือนกันค่ะ
  • กลับมาดูอีกที..ตอนนั้นยังลงภาพไม่ค่อยสวยครับ..
  • อยากให้ มรภ.มหาสารคามมาร่วมจัด UKM-9 ที่มมส.จะเป็นเจ้าภาพด้วยครับ

 

เสน่ห์เมืองสารคามมีอีกเยอะแยะดังนี้ 1.สถานที่พักโรงแรมตักสิลา ริมคลองสมถวิล ตรงข้ามวัดนาควิชัย เทียบคุณภาพหัอง ระดับ5ดาวกับราคา 550-1400ที่แพงกว่าระดับม่านรูดหน่อยหนึ่ง มีทั้งแอร์และห้องพัดลม 2.อาหารการกินซึ่งหากินหาซื้อได้ทุกมุมสี่แยกโดยเพาะแถวหน้าป้าย (หน้าม.ราชภัฏ)และยังมีบริการร้านข้าวต้มเปิดตลอดคืนแถวริมคลองสมถวิลจากวสุโฮเต็ลถึงโน่นเลยโรงแรมตักสิลา ตลอดสาย และยังมีแถว หน้า มมส.อีกยังกับเป็นเมืองใหม่อีกเมืองหนึ่ง เพราะอยู่ในเขตอำเภอกัทรวิชัย แต่ก็ไม่ห่างจากตัวเมืองสักเท่าไหร่ 3.ร้านอาหารที่มีดนตรี และคาราโอเกะก็เกิดขึ้นอย่างหนาตาสนองความต้องการนักศึกษา และคณะครูอาจารย์จากหลายสถาบัน รวมทั้งผู้มาเยือนจากต่างอำเภอต่างถิ่นแห่งตักสิกลานครนี้ได้เป็นอย่างดี เช่น -ร้านตะวันแดงสาดแสงเดือน -ร้านอาหารเฮือนเฮาสุดริมคลองสมถวิลโค้งทางไปม.ราชภัฏ -ร้านอาหารวาสนา 500เมตรจากปากทางตลาดยิ่งเจริญ -ร้านลุยแซบเป็นร้านอาหารพื้นบ้านเลยจจากร้านวาสนาไปนิดหนึ่ง(ไม่มีดนตรี) -ร้านอเมซอนบนถนนเส้นรอบเมืองอยู่ระหว่าง สี่แยกจากบรบือสู่แยกตลาดสี่ภาค -ร้านอาหารแจ่วฮ้อน บ้านท่าขอนยาง -ร้านญ้อภูไทบ้านท่าขอนยาง ถนนเส้นห้าม.ใหม่ -ร้านชวาลา ถนนเส้นหลังมอ -ร้านเพ้งเนื้อย่าง เส้นทางจากหอนาฬิกาถึงก่อนตะวันแดง ยังมีอีกเยอะช่วยกันpostเข้ามาทำงานต่อก่อนนะ

วันนี้ ผศ.ธีรชัย บุญมาธรรม พาทั่ว เมืองสารคาม คะ

ได้รู้เรื่องมากมายเลยคะ เลย มีความสนใจนิดหน่อยคะ เลยเข้ามาค้าหาเรื่องราวนิดหน่อยนะคะ

เป็นความรู้มากๆๆ คะ

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท