ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

บันทึกการเดินทางที่วัดพู เมืองจำปาสัก(๒)


              เป้าหมายของการไปศึกษา

          ผมไปครั้งนี้มีเป้าหมายในการศึกษาเส้นทางภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะศึกษาภูมิปัญญาการสร้างศิลปกรรมวัดพูกับวิถีชีวิตชาวลาวใต้ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว.) โดยอาจารย์ผู้สอน ให้บันทึกตามที่ตนเองสนใจ เรื่องบันทึกจึงออกไปในแนวศิลปกรรมบ้างครับ

<p>             </p>       บนเส้นทางกว่า 900 กว่ากิโลเมตรจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงจังหวัดอุบลราชธานี ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์กว่า 15 ชั่วโมง จนถึงที่พักโรงแรมเนวาดา แกรนด์โดยสวัสดิภาพ  คณะเดินทางประกอบด้วยอาจารย์ 5ท่านและนักศึกษาปริญญาเอกสาขาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวินศึกษา อีกจำนวน 19 คนรวมทั้งสิ้น  24 ชีวิต <p style="text-justify: inter-ideograph; margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">           ที่ด่านช่องเม็กชาวลาวเรียกกันว่า บ้านวังเต่า เริ่มเห็นวิถีชีวิตชาวลาวใต้ ขณะที่รถจอดรอการตรวจเอกสารของเจ้าหน้าที่ของ สปป.ลาว ได้เห็นสินค้ามากมายที่ร้านใหญ่หลายร้านแต่ไม่ได้ซื้อไว้แต่อย่างใด และเดินเข้าไปลึกจากที่ด่านประมาณ 500 เมตร เห็นชาวลาวใต้จำนวนหลายสิบคนอยู่ในสถานที่ราชการของลาว จึงถามชาวบ้านที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ด้วยภาษาเหนือปนลาวว่า เขาทำอะไรกัน ชาวบ้านบอกว่า เป็นกลุ่มคนที่จะข้ามไปเบิ่งหรือเที่ยวอุบลราชธานี จึงตรวจเอกสารกันก่อน เช่นเดียวกับที่คณะของเราที่ต้องตรวจเอกสารเช่นกัน</p> <p style="text-justify: inter-ideograph; margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">             ผมเดินเข้าไปอีกประมาณ 50 เมตร เห็นชาวบ้านที่เป็นแม่ค้าอุ้มลูกชายตัวเล็กขายข้าวโพดอยู่ จึงเข้าไปอุดหนุนได้ข้าวโพดมาหนึ่งถุงในราคา  2,700 กีบหรือ 10 บาท (270-275 กีบต่อหนึ่งบาท) จึงได้ความรู้ว่าที่นี่ เขาใช้ทั้งเงินกีบ เงินบาทและเงินดอลลาร์</p> <p>                 </p>

             จากด่านช่องเม็กใช้เวลาประมาณ 30 นาที ระยะทางรวม ๆ แล้วประมาณ 45 กิโลเมตรเท่านั้นคณะเราทั้งหมดจึงถึงเมืองปากเซ เวลาประมาณเที่ยงเศษ ๆ  ผู้นำทาง(ไกด์) จึงพาคณะกินข้าวกลางวันที่ร้านแห่งหนึ่ง  ซึ่งอาหารที่จัดให้สังเกตดูก็สะอาดสะอ้านมีส้มตำ ต้มไก่ ปลาทอด (ดูเหมือนว่าจะแห้งมากไปจึงทำให้แข็ง)วิถีชีวิตเรื่องการบริโภคอาหาร ว่าไปแล้วไม่แตกต่างกับการบริโภคอาหารแบบไทย ๆ สักเท่าไร              

            หลังจากกินข้าวเสร็จ ผมจึงเดินไปดูแถวละแวกใกล้ ๆ เห็นการจับจ่ายซื้อของด้วยเงินกีบจำนวนมาก ๆ และสภาพของท้องถนนไม่ได้มีรถราพลุกพล่านอย่างในเมืองไทย ซึ่งมีความแตกต่างกันมากคงเนื่องเพราะระบบการปกครองระหว่างประชาธิปไตยกับสังคมนิยม    เมื่อคณะกินข้าวเสร็จกันแล้ว จึงมุ่งหน้าไปสู่ถนนหมายเลข 13 เพื่อไปสู่เป้าหมายที่วัดพู                  

              ตลอดการเดินทางจากตัวเมืองปากเซเพื่อไปสู่วัดพู ไกด์ได้บรรยายให้คณะฟังทั้งเรื่องสภาพสังคม ประวัติศาสตร์ การเมือง เป็นการเล่าประวัติศาสตร์การเมืองช่วงระยะหลังที่มีการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เปลี่ยนเป็นระบอบสังคมนิยมมีประธานประเทศเป็นประมุข โดยสรุปได้ความว่า

 

โปรดติดตาม....ตอน ๓ ครับ

</span></span></span></span> 

หมายเลขบันทึก: 121337เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • โห ท่านอาจารย์ต้องตามอ่านแล้วนะครับ
  • แค่น้ำจิ้มก็สนุกแล้ว
  • เสียดายจริง ๆ ไม่ได้ไปด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท