Ko
นาย เกียรติศักดิ์ แย้มกลีบบัว

เอากล้องดิจิไปถ่ายหน้างานแต่งงาน.ทำไมภาพเป็นแบบนี้?


บทความนี้สร้างจากเรื่องจริง

เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และผมเชื่อว่าใครหลายๆคนต้องเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาบ้าง

ดูภาพประกอบ
สมมุติว่าในภาพประกอบ เป็นฉากหน้างานแต่งงาน(back drop) 
มีการจัดไฟสตูแต่งไว้เรียบร้อย
 

เมื่อเราเดินเข้าไปในงานแต่งและได้ร่วมถ่ายภาพหมู่กับ คู่บ่าวสาว
จากนั้นก็อยากถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอลตัวน้อยของเราที่พกไปด้วย
จึงหยิบขึ้นมาถ่าย... 

จากนั้นปรากฏว่าภาพที่ได้  ... มืดดำปี๋... หรือ สว่างขาวโผล่  .... 
จนทำให้เราต้องสงสัยว่ากล้องเราเป็นอะไรไปเนี๊ย ?? 

ผมจะบอกว่าไม่ต้องตกใจครับ เหตุการณ์นี้เรียกว่า กล้องถูกแสงจาก
ไฟสตูรบกวน มีผลทำให้กล้องเราวัดแสงผิดพลาด  ภาพเลยเสีย       


อธิบาย.. 
ถ้าจะให้พูดเรื่องการวัดแสงของกล้อง และการวัดแสงแฟลช คงยาวแน่ๆ   งั้นเอาเป็นสรุปย่อๆ คือ

ไฟสตู ใช้เพิ่มความสว่าง และกำลังแรงมากพอสมควร(หัวไฟสตูมีหน่วยกำลังไฟเป็นวัตต์) แรงแค่ไหนนะหรอ  ..  
เอาเป็นว่าสามารถ  ใช้ค่า ISO 100  f8 สปีด 1/200 ได้เลยล่ะครับ
ถ้านึกไม่ออก  เป็นค่าปริมาณแสงที่มาก  
ประมาณว่าเหมือนเราไปยืนถ่ายกลางแดดตอนกลางวันแบบไม่มีเมฆครับ  

ไฟสตูจะทำงานจังหวะเดียวจบ  คือ กดชัตเตอร์ 1 ครั้ง ไฟยิงออกมา 1 ครั้งพร้อมกัน


ในกรณีเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างนี้  กล้องDSLR จะใช้แฟลชภายนอกยิงแฟลชออกไปสั่งให้ตัวเซ็นเซอร์รับแสง(โดมพลาสติกสีขาวในภาพ)ที่อยู่ส่วนท้ายของไฟสตู ทำงานภายในเสี้ยววินาที 

โดยแฟลชหัวกล้อง DSLR นั้นการใช้ร่วมกับไฟสตู จะต้องเลือกปรับเป็นโหมด M (manual) จุดประสงค์หลักๆ คือ ต้องการให้ยิงแสงออกครั้งเดียว


ที่นี้มาดูกล้องดิจิตอล(ในกรณีนี้ผมหมายถึงดิจิตอลคอมแพค) ที่เราใช้กันบ้าง

กล้องคอมแพคส่วนมากจะทำงานเป็นระบบออโต้เต็ม 100 % ที่เขียนว่ามีโหมด M ใช้งานจริงก็ปรับอะไรได้ไม่เยอะหรอกครับ ถึงปรับได้ก็มีผลน้อยมากเมื่อเทียบกับ ระบบกล้อง DSLR ซึ่งมีพื้นฐานและระบบต่างให้ผลเหมือนฟิลม์มากกว่า คอมแพค 


บริเวณหน้างานแต่งงานที่เห็นว่าสว่างด้วยแสงไฟ แต่จริงๆ แล้วแสงสว่างน้อยครับ กล้องเลยเลือกให้ใช้แฟลชร่วมด้วยในขณะที่จะถ่าย  โดยเป็นแฟลชในระบบ TTL


ระบบ TTL (through the lens) คือ  ....    

เมื่อเรากดชัตเตอร์ 1 ครั้ง  ระบบ TTL ทำงานโดยจะยิงแสงแฟลชออกมาจำนวน 2 ครั้ง

1. ยิงแสงครั้งแรก เรียกว่า pre-flash   

เพื่อให้แสงไปกระทบวัตถุที่เราจะถ่าย  แล้ว sensor ในกล้องจะทำการวัดแสงที่วิ่งเข้ามาผ่านเลนส์   แล้วนำค่าแสงที่ได้ไปคำนวณปริมาณกำลังไฟแฟลชที่จะยิงออกไป
ทำให้ได้ภาพในส่วนที่แฟลชยิงถึงสว่างพอดี (ระยะคงไม่น่าจะเกิน 3 -10 เมตรในที่ร่มหรือตอนกลางคืน)

2. ยิงแสงครั้งที่สอง คือ แสงจริง  
 ยิงออกไปพร้อมกับการทำงานของชัตเตอร์  จนจบกระบวนการ  ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในเสี้ยววินาทีครับ


-----------------------------------------------------------------------------------------
สรุปว่า
ไฟสตูทำงานโดยการยิงแสง 1 ครั้ง ต่อการกดชัตเตอร์ 1 ครั้ง 
ส่วนแฟลชระบบ TTL ในกล้องคอมแพค ยิงแสง 2 ครั้ง ต่อการกดชัตเตอร์ 1 ครั้ง

พอมองออกมั้ยครับว่ามันไม่สัมพันธ์กัน.. 

** ทีนี้มาดูปัญหาที่เกิด 

กล้องคอมแพคส่วนมาก ไม่สามารถใข้แฟลชเป็นแบบ M (manual) 
ที่เขียนว่า A นั้นคือ โหมดออโต้  ซึ่งก็คือระบบ TTL นั้นเอง


ภาพมืดเกิดจาก..

เมื่อเรากดชัตเตอร์  ที่ตัวกล้องจะยิง pre-flash ออกไปพร้อมทั้งวัดแสง  ในระหว่างที่วัดแสงนี้เอง  แสงแฟลชเราก็ไปสั่งให้ไฟสตูนั้นทำงานตามไปด้วย   

เมื่อไฟสตูทำงาน ทำให้บริเวณนั้นมีค่าแสงสว่างมาก (สว่างเหมือนถ่ายกลางแดดเลยก็ว่าได้)

เมื่อมันสว่างมากขึ้น   กล้องของเราก็คำนวณปริมาณแสง ณ ขณะนั้นไว้ โดยค่าที่ได้เสมือนว่าเราถ่ายกลางแดด  แต่จริงๆ แล้วห้องนั้นแสงน้อยมาก  

พอระบบวัดแสงกล้องเราโดนหลอกและวัดแสงผิดพลาดไปเรียบร้อยแล้ว  

ก็ยิงแฟลชครั้งที่สองออกมาพร้อมทั้งชัตเตอร์ก็ทำงานในจังหวะนี้เอง
แต่...  จังหวะที่สองนี้เองที่ไฟสตูนั้นเริ่มดับลงเพราะยิงแสงสว่างออกไปแล้ว 1 ครั้งก็จบการทำงาน  และต้องใช้เวลาชาร์ทไฟราว 0.5 - 2 วินาทีเพื่อชอตต่อไป

กล้องวัดแสงครั้งแรกคิดว่าสว่าง(เท่ากลางวัน)  ถ่ายออกไปด้วยค่าแสงที่วัดได้ผิดๆ  ภาพออกมาก็มืด..

-----------------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ได้สว่างเกินไป...

สาเหตุอาจเป็นเพราะ แสง pre-flash ของกล้องเรามีปริมาณน้อย จนไม่สามารถสั่งให้ไฟสตูทำงานในจังหวะวัดแสงได้  แต่ไฟสตู ดันมาทำงานตอนที่ยิงจริง(ซึ่งต้องเวลายิงจริงแฟลชกล้องจะทำงานแบบเต็มที่)  จึงมีผลไฟสตูรับแสงเข้าตัวเซ็นเซอร์และให้แสงออกไป..   

กล้องเราวัดแสงได้ค่าแสงที่คำนวณแล้วว่าห้องนั้นมืด 
ซึ่งถ้าไฟสตูไม่ทำงานภาพนั้นก็จะสว่างพอดี ด้วยแสงจากแฟลชกล้องเพียงอย่างเดียว

แต่..  ในกรณีนี้ กล้องกับแฟลชที่เราถ่าย  ได้แสงจากไฟสตูมาบวกเพิ่ม  ภาพก็เลยสว่างเสียจนขาวนั้นเอง

-----------------------------------------------------------------------------------------



วิธีแก้ไขเบื้องต้น

1.  ถ่ายแบบไม่ต้องใช้แฟลช ซึ่งอาจจะต้องถือให้มือนิ่งมากๆ  ถึงมากที่สุด  เพราะไม่งั้น  เบลอแน่นอน

2.  ถ่ายแบบไม่ต้องใช้แฟลช  โดยใช้ขาตั้งกล้องมาช่วยถ่าย

3.  ย้ายสถานที่  ออกมาจากบริเวณนั้น แล้วก็สามารถใช้แฟลชได้ปกติ

4.  ยื่นกล้องของเราให้ช่างภาพในงานถ่าย   แล้วรอลุ้นว่าจะได้ภาพเหมือนที่เราถ่ายหรือดีกว่ามั้ย??

อธิบายจบแล้วมีข้อสงสัย  ถามได้ครับ

กล่าวถึงระบบต่างๆไปเยอะ หัวข้อต่อๆ คงมีเรื่องเขียนอีกเพียบแน่ๆ วันนี้ฝากเท่านี้ครับ  พบกันได้ใหม่บันทึกหน้าสวัสดีครับ..

คำสำคัญ (Tags): #กล้องดิจิตอล
หมายเลขบันทึก: 121066เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เพิ่งเข้าใจครับ อาจารย์ Ko  ว่าเป็นแบบนี้นี่เอง

เข้ามาเรียนถ่ายภาพด้วยคนคะ...ได้ความรู้มากมายเลยคะ...มีกล้องดิจิตอลอยู่ตัวนึงคะ...แต่ยังถ่ายไม่ได้เรื่องเท่าไหร่...มาขอคำแนะนำคะ

ขอลงเรียนด้วยคนครับ

 

^^

ขอบคุณครับ  เคลียร์เลย  ขอบคุณสำหรับความรู้คับ คุณ ko

โหวตครับโหวต ได้ความรู้อีกแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท