ดงหม้อทองข้ามากับพระ


เราย้ายมาจากหนองคายพระอาจารย์จวนท่านพามา

ได้มีโอกาสศึกษาชุมชนแถบริมแม่น้ำโขงด้วยกระบวนการPRA หลายชุมชนด้วยกัน จึงขอเล่าสู่นำเสนอข้อสังเกตุที่ค้นพบเป็นการแลกเปลี่ยนดังนี้

ประวัติและสาเหตุการตั้งชุมชน มาสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ

๑ กลุ่มชุมชนดั้งเดิม ที่มีอายุมากกว่า ๒๐๐ ปี เช่น ชุมชนชาวโซ่ดงหลวง ชุมชนพรานอ้นเมืองมุกดาหาร ชุมชนผู้ไทคำชะอี เป็นต้น ชุมชนดังกล่าวส่วนมากอพยพมาจากฟากโน้นของแม่น้ำโขง แสดงว่าสมัยนั้นทางโน้นคนเยอะกว่า มีหลายสาเหตุที่อพยพมา ได้แก่ อพยพมาล่าสัตว์เพราะมีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ อพยพหนีภัยสงครามจากศึกพ่อกะดวด ถูกกวาดต้อนมาในช่วงเจ้าอนุวงค์กอบกู้เอกราช

๒ กลุ่มชุมชนสมัยใหม่ ที่มีอายุประมาณ ๕๐ ปี เช่น บ้านคำเชียงสาที่มุกดาหาร บ้านดงสง่า บ้านแสนสุก บ้านดงหม้อทอง ที่สกลนคร เป็นต้น ชุมชนกลุ่มนี้เกิดจาก การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนในภาคอีสาน ได้แก่ จากอุบล ขอนแก่น อุดร มหาสารคาม เนื่องจากที่เดิม " บ้านถี่ที่เต็ม" จึงต้องมาบุกเบิกจับจองหรือซื้อที่ใหม่ในราคาถูกๆ

บริบททางสังคมของแต่ละชุมชนจะนำเสนอในคราวต่อไปตามกำลังครับ

แต่ขอเรียกน้ำย่อยด้วยที่มาของชุมชนดงหม้อทองตามที่จั่วหัวไว้

บ้านดงหม้อทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสงคราม ตามประวัติผู้เฒ่าเล่าว่า เป็นบ้านที่ตั้งขึ้นจากกลุ่มคนที่เป็นโยมติดตาม พระอาจารย์จวน (พระนักปฏิบัติชื่อดัง)  ท่านมาตั้งวัดปฏิบัติธรรมอยู่ที่นี่ ต่อมาศรัทธาญาติโยมมาทำบุญกับพระอาจารย์เห็นความอุดมสมบูรณ์ และมีที่พึ่งพิงทางใจจึงอพยพมาอยู่มาขึ้น ปัจจุบันตั้งเป็นตำบลดงหม้อทอง และดงหม้อทองใต้ อำเภอบ้านม่วง

ความพิเศษของบ้านนี้คือ ไม่นับถือผีปู่ตา หรือผีใดๆ นับถือพระอย่างเดียว ที่กลางหมู่บ้านมีรูปสลักพระอาจารย์จวน ทุกวันพระชาวบ้านจะนำดอกไม้ธูปเทียนมากราบรูปสลักท่านอาจารย์กันทุกบ้าน

นับว่าเป็นชุมชนที่น่าศึกษาทีเดียวครับ

 

หมายเลขบันทึก: 120725เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พี่กำลังนึกถึง

  • การก่อกำเนิดหมู่บ้าน ชุมชนของบรรพบุรุษเรา
  • การมีชีวิตร่วมสายน้ำเดียวกัน ใช้ป่าร่วมกัน กินผลไม้ต้นเดียวกัน ไปเก็บเห็ดป่า หอยป่าจากแหล่งเดียวกัน และเอามาเผื่อแผ่ ฝากฝัง เจือจารแก่กัน ถามไถ่ ไปมาหาสู่ กราบไหว้ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้มาต่อร่างสร้างบ้าน ถ้อยทีถ้อยอาศัย  มีผู้เฒ่า แม่เฒ่าเป็นเสาหลัก ...แต่มีความยากลำบากทางพื้นที่ ธรรมชาติ ..แต่ก็อยู่ร่วมกัน ง่ายๆ ..
  • มาสมัยที่สังคมซับซ้อนมากขึ้น หมู่บ้านปรับตัวด้วยแรงดันจากภายนอกเป็นหลักและภายในบ้างจนมาอยู่ในสภาพปัจจุบัน หมู่บ้านยังคงหลายอย่างอยู่ มากบ้างน้อยบ้าง เช่น วัฒนธรรม ประเพณี  หลายอย่างก็หลุดรุ่ยจนไม่เหลือหลอซากเดิมแล้ว
  • พวกเราเป็นส่วนหนึ่งด้วยที่มาจากภายนอกมาผลักมาเปลี่ยนแปลงเขา (ตั้งใจว่าเป็นสิ่งที่ดี ดีในสายตาเรา)  เลยต้องคิดหนักว่า งานพัฒนาที่เป็นแบบโครงสร้างใหญ่ๆ มันต้องปรับมากทีเดียวหากใช้ฐานหมู่บ้านเป็นตัวตั้ง มิใช่เอานโยบายรัฐเป็นตัวตั้ง  หรืออย่างน้อยก็เอามาผสมผสานกันโดยเอาหมู่บ้านนำหน้า
  • หรือว่ากระแสน้ำเชี่ยวกราดเกินกว่าจะหันหัวเรือกลับลำซะแล้ว
  • เราไปสัมผัสอดีตของหมู่บ้านแล้วได้ความรู้สึก และจิตสัมผัสชนบทมากขึ้นนะ..

เหว่า คือ คน ตำบลดงหม้อทอง อ บ้านม่วง แหละ

ทำไมรู้ประวัติบ้านดงหม้อทองดีจังครับ เหมือนเคยอยู๋

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท