ราชาเพลงลูกทุ่ง สุรพล สมบัติเจริญ


 

 

ราชาเพลงลูกทุ่ง สุรพล สมบัติเจริญ  

          

          เมื่อเวลา ๐๑.๐๐ น. คืนวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๑๑ (ที่จริงเข้าเขตวันที่ ๑๗ แล้ว แต่ เลข ๑๖ มันเกี่ยวโยงกับบทเพลงที่เป็นผลงานชิ้นสุดท้าย) บริเวณหน้าวิกแสงจันทร์ วัดหนองปลาไหล อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อสิ้นเสียงปืนไม่นานนัก เราได้สูญเสียนักร้องลูกทุ่งผู้ยิ่งใหญ่ ที่ชาวไทยยกย่องให้เป็นราชาเพลงลูกทุ่ง นามสุรพล สมบัติเจริญ           

           ตอนนั้นผมยังเด็ก อายุ ๑๑ ขวบ จำได้ว่าเมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป และเป็นที่ทราบกันแน่ชัดแล้ว ทุกสถานีวิทยุเปิดเพลงของสุรพล สมบัติเจริญ กันหมด เหมือนสถานีวิทยุถูกบังคับให้เปิดเพลงปลุกใจเวลามีปฏิวัติรัฐประหารทีเดียว คุณยายข้างบ้านร้องไห้ เหมือนกับญาติสนิทถึงแก่กรรม ครั้งนั้นผมก็ไม่เข้าใจอะไรมากนัก รู้แต่ว่าแกคงชอบของแก คนที่แกชอบตายแกคงเป็นเอามากถึงกับร้องห่มร้องไห้ แต่ถ้าเป็นปัจจุบันผมก็อาจเป็นอีกคนหนึ่งที่จะนั่งร้องไห้กับยายคนนั้น เพราะผมรู้สึกว่าเราได้เสียเพชรอันล้ำค่าที่ประดับวงการเพลงลูกทุ่งไป เมื่อวัยเพียง ๓๗ ปี ๑๐ เดือน ๒๓ วันเท่านั้น           

          ศพของ สุรพล สมบัติเจริญ ฌาปนกิจเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๑๒ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม หลังวันถึงแก่กรรม ๑ ปี  (อ.ชำเลือง ให้ข้อมูลว่า ศพสุรพล สมบัติเจริญ ตั้งที่วัดปากน้ำภาษีเจริญและฌาปนกิจศพที่วัดปากน้ำ)         

          สุรพล สมบัติเจริญ มีชื่อจริง ว่า ลำดวน สมบัติเจริญ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๔๗๓ ณ บ้านเลขที่ ๒๔๕(บ้างก็ว่า ๑๒๕) ถนนนางพิมพ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายเปลื้อง นางวงศ์ สมบัติเจริญ ซึ่งมีบุตร ๖ คนมีชื่อดังนี้คือ๑.    อุดม ๒.ลำดวน ๓.จินดา ๔.เฉลียว ๕.ไสว ๖.สมานสุรพล สมบัติเจริญ สมรสกับนางศรีนวล สมบัติเจริญ มีบุตร ๕ คน ล้วนแต่มีเลือดศิลปินทั้งสิ้น(สมพงษ์ ,สุรชัย,ศิรินทิพย์,สุรชาติ,สุรเดช)

           สุรพล เรียนจบ ม.๖ ที่โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยสุรพล สมบัติจริญ เริ่มต้นฝึกฝนตนเองทั้งการร้องและการแต่งเพลงมาก่อนแต่เพิ่งได้เรียนรู้หลักการและฝึกฝนอย่างถูกวิธีการเมื่อได้มาอยู่กองดุริยางค์กองทัพอากาศ เริ่มต้นชีวิตนักร้องเป็นครั้งแรกด้วยการร้องเพลงเชียร์รำวง ได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรก(เมื่อปี ๒๔๙๖) คือเพลง น้ำตาลาวเวียง แต่คนยังไม่รู้จัก คนมารู้จักและเริ่มมีชื่อเสียงในเพลง ชูชกสองกุมาร(บันทึกปี ๒๔๙๖ เช่นกัน) จากนั้นก็เริ่มมีเพลงทยอยออกมา เช่นเพลงโดดร่ม เพลงนี้ดังมากในหมู่ทหาร แต่เพลงแรกที่ดังสนั่นทั่วไทยก็คือเพลง ลืมไม่ลง (ปี ๒๕๐๒)  และเพลงดังๆอีกมากมายที่แฟนเพลงร้องกันได้ทุกคน เช่น เพลงสาวสวนแตง น้ำตาจ่าโท แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง เดือนหงายที่ริมโขง สนุกเกอร์ หัวใจผมว่าง  จนถึงเพลงสุดท้ายที่บันทึกล่าสุดในปี ๒๕๑๑ คือเพลง ๑๖ ปีแห่งความหลัง รวมผลงานที่ร้องเอง แต่งเอง และแต่งให้ลูกศิษย์ประมาณ ๓๐๐ เพลง   (บ้างว่ามีถึง ๔๐๐ เพลง)        

          สุรพล สมบัติเจริญ ยึดแบบอย่างเบญจมินทร์ ในการร้องเพลง จนเกิดความขัดแย้งกันและทำให้มีผลงานเกี่ยวกับความขัดแย้งดังกล่าวร้องเป็นเพลงด้วย ผู้ที่ชักนำและสนับสนุนเข้าเป็นนักร้องคือเรืออากาศตรีปราโมทย์ อรรณพงษ์ ผู้ที่สนับสนุนให้อัดแผ่นเสียงเป็นครั้งแรกคือ นายเอกพล บุตรชายคนโต ของนายห้าง ต.เง็กชวน และผู้ที่ให้คำปรึกษาชี้แนะให้ตั้งวงดนตรีเป็นของตนเองคือครูพยงค์ มุกดา โดยมีนายห้างอารยะโอสถตรามือสนับสนุนเงินทุน           

          ผลงานที่น่าประทับใจคือชนะการประชันวงดนตรีลูกทุ่งครั้งแรกของเมืองไทยที่วัดสนามชัย(ไม่ใช่ที่สุพรรณ)อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ครั้งนั้นมีวงดนตรีชั้นนำของเมืองไทยประชันกัน ๔ วง รางวัลที่ได้คือขันน้ำพานรอง พระยอดธงรุ่นแรก พร้อมเงินรางวัล เหตุการณ์ครั้งนี้ สุรพล สมบัติเจริญ ประทับใจและตื้นตันใจมากถึงกับหลั่งน้ำตา ด้วยความปลาบปลื้ม ดังเนื้อเพลงที่เขาว่า วัดสนามชัยดินแดนครั้งก่อน ผมยังไม่ลืม ผมหลั่งน้ำตาอุราแสนปลื้ม        นอกจากรางวัลดังกล่าว วงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ ยังได้รับถ้วยรางวัลเกียรติยศในฐานะวงดนตรีที่ทำเงินยอดเยี่ยมอีกหลายใบ            

          คุณเจนภพ จบกระบวนวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงลูกทุ่ง ได้กล่าวถึงสุรพล สมบัติเจริญ ว่า สุรพล สมบัติเจริญ จึงเป็นคนสุพรรณที่ได้รับการยกเป็นตัวอย่างแทบจะทุกครัวเรือน...เพราะสุรพลทำสำเร็จเป็นคนแรก ตัวอย่างแห่งชื่อเสียงและความสำเร็จของสุรพลนี่เองเป็นประกายไฟจุดลุกไล่ให้หนุ่มสุพรรณสาวสุพรรณทั้งหลายอยากจะเป็นนักร้องเหมือนอย่างสุรพล บ้างเพราะมองเห็นหนทางข้างหน้าอยู่ชัดแจ้งแล้ว สุรพลจึงเปรียบเสมือนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเพลงเมืองสุพรรณ ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเดินตามรอยจนโด่งดังคับฟ้าเมืองไทยมากมายจนนับไม่ถ้วน 

หมายเลขบันทึก: 120328เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะพี่ชาย.....พิสูจน์

ครูอ้อยชอบเพลงของคุณสุรพล สมบัติเจริญ...สิบหกปีแห่งความหลังค่ะ

อิอิ..มีความหมาย  ไพเราะมากค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่ชาย

ได้มีโอกาสเข้าไปที่วัดป่าเลไลยก์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2550 ถามพี่คนงานว่าเคยได้ยินวิทยุท้องถิ่นประกาศเรื่องการสร้างพิพิธภัณฑ์ (ใช้คำนี้หรือเปล่าไม่ทราบนะ ช่วยบอกด้วย) เพื่อเก็บผลงานของสุรพล สมบัติเจริญ โดยบรรดาลูก ๆ หลาน ๆ ของเขา สถานที่ก่อสร้างอยู่บริเวณหน้าบ้านเรือนขุนช้าง ในวัดป่าเลไลยก์ นั่นแหละ แต่ยังไม่เรียบร้อย ก็คงจะเป็นอนุสรณ์สำหรับราชาเพลงลูกทุ่ง ให้ลูกหลานได้เอาแบบอย่าง นี่ก็คนสุพรรณ อีกนั่นแหละ

อ.พิสูจน์

  • ขอขอบคุณน้องคนเก่ง ที่นำเอาเรื่องราวสำคัญของคนสุพรรณฯ  กลับมารื้อฟื้นความหลัง
  • ครูสุรพล สมบัติเจริญ เหมาะสมที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาเพลงลูกทุ่ง" จริง ๆ
  • ท่านเป็นต้นแบบนักร้อง นักแต่งเพลง ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยแท้ (ท่านไม่เก่งเรื่องโน๊ตสากล) หรือเขียนเพลงตามทำนองที่ท่านคิดของท่านเอาไว้ก่อนที่จะแต่ง แต่ดังทุกเพลง
  • ศพของ สุรพล สมบัติเจริญ ฌาปนกิจเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๑๒ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม หลังวันถึงแก่กรรม ๑ ปี (ทบทวนเรื่องของสถานที่อีกครั้ง เพื่อความชัดเจน) เพราะว่าวันที่ครูสุรพลเสียชีวิต ศพตั้งอยู่ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ธนบุรี จนถึงวันเผา)

  • เริ่มด้วยขอขอบคุณ ครูอ้อยที่มาเยี่ยมมาอ่านครับ
  • ขอบคุณ ศน.สุมาลี ที่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ คงได้ไปเที่ยวชมกัน

P
sasinanda
สวัสดีค่ะ
สุรพล สมบัติเจริญ เป็นนักร้องที่ชอบมากค่ะ ดังมากๆด้วย
แปลกนะคะ ชาวสุพรรณนี่เลือดศิลปินจริงๆเลยค่
  • ขอบคุณท่านอ.ชำเลือง คนรู้จริง
  • ผมขอบอกตามตรงว่า ข้อมูลที่นำมาเขียนได้จากหนังสือ ช้างป่าต้นคนสุพรรณ หน้า ๑๒๑และจากหนังสือ วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุรพลตายตอนนั้นผมยังเด็กมาก อ.ชำเลืองเป็นหนุ่มแล้ว
  • ข้อมูลที่ อ.ชำเลืองให้มาน่าเชื่อถือ
  • เพราะผมก็แปลกๆอยู่ว่าทำไมเป็นวัดนี้
  • แล้วผมจะตรวจสอบอีกทีจากแหล่งความรู้เพราะบ้านเลขที่ของสุรพลก็ไม่ตรงกันมาแล้ว
  • ขอบคุณ อ.ชำเลืองช่วยกันอีกครั้ง
  • หากท่านผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเชิญร่วมแลกเปลี่ยนเลยนะครับ
  • ขอบคุณ คุณศศินันท์ มาร่วมชื่นชมราชาเพลงลูกทุ่ง ครับ

สิบหกปี...........แห่งความหลังอังอังอัง...........ทั้งรั...กทั้งชังทั้..งหวาน...และขมขื่น

  • ครอบครัวสุรพล  มีความสัมพันธ์กับชาวสวนแตงมาก  จะต้องมาแสดงดนตรีที่สวนแตงปีละครั้ง ถึงแม้สุรพลจะเสียชีวิตไปแล้วลูกๆ ก็จะมาแสดงแทนทุกปี  เป็นประจำ แต่ละครั้งที่มาแสดงจะได้รางวัลจากชาวสวนแตงเป็นจำนวนมาก
  • ขอบพระคุณ ท่านผอ.ประจักษ์
  • ท่านเคยอยู่ สวนแตง ทราบข้อมูลดี
  • ขอบพระคุณที่ช่วยเพิ่มเติมต่อยอดครับ
  • ที่จริงข้อมูลของครูสุรพล ยังมีอีกมากมายหลายแง่มุม ปรากฏอยู่ในเว็บไวต์ต่างๆ ผมกำลังรวบรวมไว้ศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นครับ

ผมชอบเพลง มองเธอขาวเธอสวยฉันจึงได้มอง หากเธอไม่ขาวฉันจะไม่มอง หากเธอไม่สวยฉันจะไม่จ้อง ฉันจะไม่มองให้หัวใจเต้น...

ใครที่มีข้อมูลเกี่ยวการเสียชีวิตของครูเพลงที่ชื่อคุณสุรพล สมบัติเจริญบ้าง

ช่วยจัดส่งและชี้แนะมาได้ โดยเฉพาะสาเหตุที่ต้องถูกยิงจนเสียชีวิต เท่าที่รู้ญาติของผู้ฆาตกรรมเป็นคนล่อลวงมาเพื่อให้พี่ชขายตนเองลงมือฆ่าทิ้งหลังที่เสร็จสิ้นการแสดงที่วัดหนองปลาไหล จังหวัดนครปฐม

ไม่รู้ว่าใครฆาสุรพล แต่ถ้าให้เดาน่าจะเป็นนักร้องลูกทุ่งคนใดคนหนึ่งในยุคนั้นที่อิจฉาความโด่งดังของเขา

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท