SI ระบาด!


วันนี้มีโอกาสเยี่ยมนักกิจกรรมบำบัด รร. รุ่งอรุณ เลยอยากสะท้อนความคิดนี้แก่ผู้ที่กำลังดูแลเด็กนักเรียนที่คล้ายๆจะมีปัญหาพฤติกรรมทางจิตสังคม

ผมได้ศึกษา Occupational Performance in school aged children

ในออสเตรเลีย ระบบการศึกษาร่วมระหว่างเด็กปกติและเด็กพิเศษมีการวางแผนและตั้งเป้าหมายการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น นักกิจกรรมบำบัดประจำโรงเรียน ครูการศึกษาพิเศษ เป็นต้น เป้าหมายหลักขอระบบนี้คือ เด็กพิเศษสามารถปรับทักษะทางจิตสังคมและทักษะการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมในโรงเรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยไม่มีความรู้สึกแตกต่างระหว่างความปกติและความพิเศษของเด็กแต่ละคน

ในประเทศไทย ครูการศึกษาพิเศษและนักกิจกรรมบำบัด พยายามทำงานเป็นทีม แต่ทำได้ไม่จริงจังนัก เท่าที่พูดคุยกับทั้งสองวิชาชีพ "ระบบการเรียนจากครูการศึกษาพิเศษและการทำกิจกรรมบำบัดถูกแบ่งขอบเขตจนเกินความยากลำบากในการทำงานแบบทีม"

ผมพยายามที่จะเข้าไปปรับระบบตรงนี้ ด้วยความรู้ที่ร่ำเรียนมา แต่พอสังเกตระบบการบริการทางกิจกรรมบำบัดใน รร. รุ่งอรุณ ก็สะท้อนให้เห็นว่า ทุกๆคนกำลังสร้างระบบ "คลินิก" ภายใต้ "สภาพแวดล้อมของโรงเรียน" ซึ่งขอชมเชยว่ามีสภาพแวดล้อมและกิจกรรมที่สร้างสรรค์ทางสังคมค่อนข้างสมบูรณ์ทีเดียว แต่ผมกำลังคิดว่า ระบบ "คลินิก" ที่เน้นให้นักกิจกรรมบำบัดบริการพิเศษสำหรับเด็กที่ปัญหาทางการเรียนและพฤติกรรม ในสภาพแวดล้อมของ "สื่อกิจกรรมการรักษา" ที่มักพบเห็นในคลินิกกิจกรรมบำบัดตามโรงพยาบาลหรือหน่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ

ในความเป็นจริง นักกิจกรรมบำบัดประจำโรงเรียน ต้องมีระบบ "การฝึกทักษะทางการเรียนและทักษะทางจิตสังคม" โดยอาศัยการประเมินทางนิเวศวิทยาของโรงเรียนและทางความสามารถของการทำกิจกรรมภายในโรงเรียน ที่เชื่อมโยงกับทักษะการทำกิจวัตรประจำวันและการใช้เวลาว่าง-พักผ่อนที่บ้านและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เน้นการทำงานเป็นทีมร่วมกับครูการศึกษาพิเศษและผู้ปกครองเป็นหลัก

ที่ผมอยากจะเตือนระบบของบ้านเราคือ การนำเทคนิค SI หรือ sensory integration มาใช้อย่างผิดหลักการ จริงๆ แล้วต้องขอเล่าประสบการณ์ว่า เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดรุ่นแรกที่ทำวิจัยผลการใช้ SI ในโรงเรียนเด็กตาบอด และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพฯ ในการเยี่ยมชมกิจกรรมกลุ่มการฝึกในครั้งนั้น หลังจากนั้นระบบการศึกษาพิเศษเริ่มนำมาใช้ แต่ขาดผู้เชี่ยวชาญให้หลักการที่สำคัญคือ SI ต้องใช้จัดกิจกรรมที่เด็กต้องมีปัญหา SI และเน้นการทำกิจกรรมที่สนุกสนานและกระทำด้วยตัวเด็กเอง

ปัญหา SI จริงๆ ลองอ่านบทความนี้นะครับจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Sensory_Integration_Dysfunction

Sensory Integration Dysfunction also called sensory processing disorder is a neurological disorder causing difficulties with processing information from the five classic senses (vision, auditory, touch, olfaction, and taste), the sense of movement (vestibular system), and/or the positional sense (proprioception). Sensory information is sensed normally, but perceived abnormally. This is not the same as blindness or deafness because sensory information is sensed but tends to be analyzed by the brain in an unusual way that may cause pain or confusion.

Sensory integration dysfunction can be a disorder on its own, but it can also be a characteristic of other neurological conditions, including autism spectrum disorders, dyslexia, Developmental Dyspraxia, Tourette's Syndrome, multiple sclerosis, and speech delays, among many others. Unlike many other neurological problems that require validation by a licensed psychiatrist or physician, this condition can only be properly diagnosed by an occupational therapist. There is no known cure, however there are many treatments available.

SI ระบาดไปทั่ว ด้วยการนำไปใช้แบบ "ผิดหลักการ" นัก เห็นเด็กมีปัญหาสัมผัส ไม่อยู่นิ่ง เดินช้าๆ ไม่ยอมกระโดด ก็พยายามประเมินและหาปัญหาทาง SI ให้เด็กๆไปเสียหมด บางครั้งถ้าศึกษากันจริงๆ SI มีหลายระดับมากจนถึงขั้นการแยกฝึกทักษะเฉพาะที่ปรับ SI เข้ากับกิจกรรมการดำเนินชีวิตแล้ว ตัวอย่างในระดับสูง เช่น การรับรู้ทางสายตาและการสัมผัสเพื่อการรับประทานอาหารด้วยตนเอง ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ คล้ายงานปาร์ตี้ เป็นต้น

บันทึกนี้จึงขอให้ทุกท่านแนะนำและหาหนทางที่จะช่วยกัน "มองศักยภาพของเด็กพิเศษ" มากกว่า "การหาปัญหาและใช้กิจกรรมด้วย SI ในเด็กพิเศษ" ครับ

ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sensoryint.com/ 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของ Ecological Assessment in special children ผมไม่ค่อยเห็นเอกสารอ้างอิงในเมืองไทยนัก แต่ผมมีข้อมูลจากรายงานตอนเรียนที่ออสเตรเลียครับ แต่อยากแนะนำให้ท่านที่สนใจลองพิมพ์ Keywords นี้จาก google ดู จะพบเอกสาร PDF มากทีเดียวครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 119868เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
Just have a chance to look at this blog. I am also concerned about the application of SI techniques. However, I am quite far away from it now. Yesterday, I had a discussion with a master OT student from Bahrain who has shared my office, about treatment frameworks for pediatric OT. She is going to present her assignment on "school amps" this afternoon. She is specilised in pediatric OT. She said school amps is occupational performance based whereas SI is more occupational component based. She said in her clinic she focussed more on children performance and using school amps helped her to identify strenths and weakness of children in natural environment such as school environment. Anyone who is interested in school amps can look at it on www.schoolamps.com. Sorry that I can't write this message in Thai. They are very strict about install  stuff in uni computer.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท