ต้องดูแล "ผู้ดูแลผู้ป่วย" ด้วย


การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยประสบการณ์ของที่บ้านผม พบว่า ผู้ป่วย 1 คน จะต้องมีคนดูแลอย่างน้อย 2 คน

ถ้าหากว่าผู้ดูแล เป็นพยาบาลที่ว่าจ้างมาเพื่อดูแลโดยเฉพาะ คนเดียวก็เพียงพอ แต่หากว่า ผู้ดูแล เป็นคนในครอบครัว ซึ่งแต่ละคนก็ต้องทำงาน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอื่นๆอีก ก็ต้องช่วยกันอย่างน้อย 2 คน

ที่บ้านผมปกติ มีพ่อ และ น้องสาวอายุ 14 อยู่ ซึ่ง พ่อ เป็นหัวหน้าครอบครัว และ หาเงินเพียงคนเดียว เมื่ออาการของแม่ เริ่มจะรุนแรงขึ้น หน้าที่ต่างๆที่แม่เคยทำ จึงต้องให้พ่อทำทั้งหมด ตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อย เช่น ไปจ่ายตลาด ,ทำอาหารเช้า, ซักผ้า ,ทำความสะอาดบ้าน จะต้องประกบตลอดทุกกิจกรรมที่แม่ทำ

ดังนั้น งานของพ่อจึงเพิ่มเป็นเท่าตัว ... ทำให้เกิดอาการเครียด เหนื่อยล้าา หากไม่มีผู้ช่วย ที่ดีคงแย่ครับ 

การ ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วย ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจอีกเรื่องหนึ่ง นอกจากการดูแลตัวผู้ป่วยเอง ครับ  

หมายเลขบันทึก: 119587เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

            เข้าใจและเป็นกำลังใจให้นะคะ  ยังไงก็รักคุณแม่มากที่สุดค่ะ ฝากการ์ดให้ท่านด้วยค่ะ

ตามอ่่านอยู่นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

อ.ที่ปรึกษาที่เป็นหมอและพยาบาลของพี่เค้าทำวิจัยและดูแล "ผู้ดูแลของผู้ป่วย" โดยเฉพาะเลยค่ะ เพราะเป็นหน้าที่ที่เหนื่อยจริงๆทั้งกายและใจ

จะเขียนบันทึกเรื่องนี้ช่วยน้องไปพลางๆนะคะ 

ขอบคุณมากครับคุณพี่ sasinanda และ คุณพี่ มัทนา

สวัสดี .. ครั้งแรกน่ะค่ะ

แต่ต่อไปคอดว่าคงจะได้ติดตามอ่านและแลกเปลี่ยนกัน แอ๋มก็เพิ่งจะอ่านเจอเรื่องของคุณค่ะ แอ๋มเลยไม่ค่อยทราบรายละเอียดของคุณแม่คุณเท่าไร แต่แอ๋มก็มีเรื่องที่จะแลกเปลี่ยนให้ทราบค่ะ คือคุณแม่ของแอ๋มท่านก็ป่วยเป็นอัลไซเมอร์เหมือนกันค่ะ เป็นมาประมาณ 5-6 ปีแล้วค่ะ ซึ่งแอ๋มเองก็เป็นคนดูแลท่านเองก็พอจะเข้าใจว่าคนที่ดูแลผู้ป่วยจะต้องเผชิญกับอะไรบ้างซึ่งบางครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา มันดูหนักและเครียดแต่เมื่อเราค้นพบคำตอบว่าเราจะดูแลคนที่เรารักด้วยความรักความเข้าใจให้ดีที่สุดในระยะเวลาที่เหลือน้อยนิดเต็มที มันมีไม่มากนักสำหรับการที่เราจะดูแลท่านโดยให้ท่านมีความสุขในช่วงสุดท้ายของชีวิตโดยที่ท่านเองสามารถรับรู้ความรู้สึกที่เรามี ว่าเรารักท่านและจะดูแลท่านนั้นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วย " กำลังใจ " การดูแลเอาใจใส่จากคนที่ผู้ป่วยรัก อาจจะมากเกินไปสำหรับการทักทายกันครั้งแรกรึปล่าวค่ะ แต่ยังงัยก็อยากจะบอกว่าเข้าใจคุณ และจะเป็นกำลังใจให้ค่ะ มีอีกหลายเรื่องราวที่อยากจะแลกเปลี่ยนและพูดคุยกัน  ดีใจน่ะค่ะที่ได้คุยกัน รู้สึกดีที่เจอคนที่ต่อสู้ในภาวะคล้ายๆกันค่ะ

อ่านแล้วดีใจแทนคุณพ่อและคุณแของคุณค่ะ ที่คุณเข้าใจ อยากให้เข้าใจทั้งผู้เป็น และผู้ดูแล ซึ่งต้องการการช่วยเหลือจากคนรอบข้างทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หากทำได้อยากให้คุณเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยมากที่สุด อยากบอกว่า " ช่วงนี้แหละ ที่คุณจะได้แสดงความกตัญญูได้ดีที่สุด ทั้งสำหรับคุณพ่อและคุณแม่"แนะนำว่าหากคุณเข้าใจลักษณะโรคและภาระที่คุณพ่อต้องทำอยู่นี้ คุณจะมีความอดทนต่อปัญหาและช่วยแบ่งเบาภาระจากคุณพ่อได้เป็นอย่างดี รวมทั้งจะทำให้รับรู้ความสุขของความเป็นครอบครัวเดียวกันซึ่งอาจจะไม่มีโอกาสใดจะพบได้อีก เมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่าจะนานแค่ไหน ความรู้สึกที่ดีๆนี้ก็จะติดตามตลอดไป และจะไม่รู้สึกเสียใจเลย เพราะเราได้ทำสิ่งที่มีคุณค่าและตอบแทนคุณท่านทั้ง 2ที่ดูแลเรามาเป็นอย่างดีแล้ว

จาก

ผู้มีประสบการณ์การดูแลคนที่เรารัก

กำลังดูแลคุณพ่อวัยเกือบ 80 ที่มีอาการเป็นอัลไซเมอร์อยู่เหมือนกัน บางครั้งก็ทุกข์ใจมาก แต่บางครั้งก็ยอมรับได้ว่าเป็นไปตามวัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท