ชีวิตที่พอเพียง : 339. ชีวิตชนกลุ่มน้อย (Alternative Lifestyle)


         โลกนี้จะไม่ก้าวหน้า ถ้ากิจกรรมอะไรก็ตามมีแต่กระแสหลัก     ดังนั้น ในมุมมองของผม สิ่งที่เรียกว่ากระแสหลัก (mainstream) คือ สิ่งที่กำลังต้องการกระแสทางเลือก (alternative)     ชีวิตของผมอยู่ในกระแสทางเลือก หรือเป็นชนกลุ่มน้อยมาตลอด    

         ผมเป็นหมอ ที่เป็นหมอกลุ่มน้อย คือไม่เปิดคลินิก    และยิ่งเป็นหมอกลุ่มน้อย ตรงที่ไม่ได้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยมากว่า 30 ปี    

         ไม่ว่าเข้าไปทำอะไร ผมกลายเป็นชนกลุ่มน้อยเสมอ    เพราะตรงไหนที่มีคนทำกันมากแล้ว     ผมรู้สึกว่า “พลุกพล่าน”     และเห็นช่องโหว่ของ กระแสหลักนั้น    คือเห็นส่วนที่เขาทำกันแบบมุ่ง “เปลือก”     และเห็น “สาระ” ที่ยังไม่มีคนทำ     ผมก็จะเตร่เข้าไปหาโอกาสตีความคุณค่าใหม่    และทำตามแนวที่ผมเชื่อว่าน่าจะให้ผลจริงจังและยั่งยืนกว่า     ผมสนุกกับการศึกษาหาทางตีความใหม่     และยิ่งสนุกกับการทดลองประยุกต์ กระแสทางเลือก

         ผมฉุกคิดและเริ่มบันทึกนี้ตอนประชุมคณะกรรมการบริหารแผนคณะ 3 ของ สสส. เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 50     ที่มีการพูดกันว่า เป้า ของ สสส. คือ สุขภาวะองค์รวม  เน้น positive health, promotive health, self-care, community care,  เป็นสุขภาวะที่ผู้รับผลเป็นผู้ดำเนินการหลัก    เพื่อให้เกิดผลต่อตนเอง (และต่อกันเอง)    ไม่ใช่มุ่งรอรับผล     ไม่มุ่งรอให้ผู้อื่นมาดำเนินการให้     มองอีกมุมหนึ่ง  เป็นการใช้กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ ในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  สร้างความเข้มแข็งของ civic mind    สร้างความเข้มแข็งของ alternative development    

         เห็นไหมครับ การสร้างเสริมสุขภาวะ ไม่ได้อยู่โดดๆ ในสังคม    แต่เป็น part of the whole     กิจกรรมเดียวกัน ขยับมุมมองไปองศาเดียว ก็เห็นภาพเป้าหมายที่ต่างออกไป
    
         มองอีกมุมหนึ่ง กิจกรรมที่มีเป้าเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ    สามารถหาแนวร่วมได้มากมาย   โดยที่แนวร่วมเขาอาจจะมีเป้าหมายหลักต่างออกไป    แต่กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ สามารถช่วยเสริมให้เกิดผลสำเร็จของแนวร่วมได้โดยง่าย  หรือโดยมีคุณภาพสูงกว่าที่ทำโดดๆ หน่วยงานเดียว     แต่แนวร่วมเหล่านี้จะเป็นแนวร่วมได้ ต้องมี win – win relationship     ไม่เป็น competitor relationship แต่เป็น collaborator relationship   

         พอดีตอนบ่ายวันที่ 12 ก.ค. 50  ผมไปเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 ของ สสส.    จึงเห็นประเด็นว่า ภารกิจหลักของ สสส. คือการขับเคลื่อน alternative health promotion     และจริงๆ แล้ว สสส. ทำงานนี้ให้สำเร็จด้วยตนเองเพียงหน่วยงานเดียวไม่ได้     ต้องใช้ยุทธศาสตร์แนวร่วม 
 
         ยุทธศาสตร์แนวร่วม น่าจะเป็น alternative approach อย่างหนึ่งด้วย      

         ตอนนี้คุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ผอ. ศอ. สส. มาคุยกับคณะกรรมการ     และบอกว่า มาทำงานนี้ด้วยมุมมองเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาวะ แนวใหม่     ที่ไม่มองเรื่องสุขภาวะตามแนว “สาธารณสุข”     อย่างที่ ศอม. ทำโครงการ “เมืองไทยแข็งแรง”      จนเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็เปลี่ยน ศอม. เป็น ศอ. สส.     ตนจึงมอง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” เป็นธงนำ      แต่พบว่าจะไม่สำเร็จ เพราะระบบราชการแข็งตัวเกินไป

         ตนมอง alternative health promotion ที่กลไกไม่เป็นทางการ     เพื่อความยืดหยุ่น คล่องตัว     เพราะมองกลไกของรัฐบาลว่ามีขั้นตอนมาก และไม่ประสานกัน     จึงหันไปมองแนวร่วมที่จะทำงานด้วย คือ สสจ.    ชวนกันมองบทบาทใหม่ของ สสจ. ในการทำการสร้างเสริมสุขภาพบูรณาการ     สสจ. แนวใหม่ ที่ “เขียนบทให้คนอื่นเล่น”   
 
         สสจ. จำนวนไม่น้อย ไม่เห็นด้วย     กระทรวงสาธารณสุขสั่งมาหรือเปล่า      ผู้ว่าฯ อาจไม่เอาด้วย   ฯลฯ     ตนมองว่า ศอ. สส. ไม่น่าจะอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข  ควรอยู่ที่สำนักนายกฯ    

         ศอ. สส. อาจต้องเปลี่ยนบทบาท  ลดความทะเยอทะยาน     ไปทำความเข้าใจวิธีทำงานแบบ “ทางเลือก” ของ สสจ. บางจังหวัด     เอามาบอกสังคม     จะไม่ทำงานเปลี่ยนระบบ    ผมชอบแนวคิดหลังนี้     เพราะเป็นยุทธศาสตร์การทำงานเป็น positive approach ในการก่อการเปลี่ยนแปลง (positive change) ต่อระบบการสร้างเสริมสุขภาวะ  
 
         คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ให้ความกระจ่างไปอีกระดับหนึ่ง ว่าผลสำเร็จที่ ศอ. สส. เข้าไปทำความชัดเจน คือ ผลงานเชื่อมประสานภายในจังหวัด    ที่มีหลายฝ่ายเข้ามาทำงาน หรือเป็นผลงานจากหลายฝ่าย    ที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่
  
         คุณหมอสมศักดิ์ อธิบายต่อ ว่า ศอ. สส. ทำด้าน Development for Health ไม่ใช่ Health Development    โดยที่สถานะของ ศอ. สส. ไม่เป็นทางการมากเกินไป     นี่ก็เป็นแนวคิดของนักจัดการแนว “กระแสทางเลือก” เหมือนกัน

วิจารณ์ พานิช
12 ก.ค. 50

หมายเลขบันทึก: 119402เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นบทบันทึกที่ชอบมากอีกหนึงบทค่ะอาจารย์ ทำให้เห็นความคิดของนักพัฒนาที่กล้ามองต่างมุม กล้ายอมรับกับความสำเร็จและไม่สำเร็จที่แสดงบทวิเคราะห์มาเสร็จสมบูรณ์

ขอบพระคุณอาจารย์ทุกๆท่านในบทบันทึกนี้ที่เป็นครูให้กับศิษย์ที่เข้ามาร่วมเรียนรู้ทุกคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท