คิดอย่างไรกับCMU


ผมอยากเปลี่ยนสถานีอนามัยเป็นสุขศาลามากกว่าเป็นCMU

                 ในช่วง 4-5 ปีมานี้ เรามีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวต่างๆในระบบสุขภาพไปมากมาย ยิ่งการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ทำให้เกิดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช) และเกิดขึ้นของสำนักสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)และล่าสุดเกิดสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นอีกสิ่งหนึ่งคือประชาชนมีความต้องการบริการสุขภาพมากขึ้น

                  แนวคิดเพื่อทำให้ประชาชนได้บริการสุขภาพที่ใกล้บ้านใกล้ใจ ของ สปสช.ก็เป็นแนวคิดที่ดีแนวคิดหนึ่งเพื่อให้ประชาชนได้สิ่งที่ดี แนวคิดหนึ่งๆสามารถมีรูปแบบการปฏิบัติได้ในหลายๆรูปแบบ CMUก็เป็นผลผลิตอันหนึ่งของแนวคิดนี้

                  CMU=Community Medical Unit หรือศูนย์แพทย์ชุมชน เป้นรุปแบบใหม่ของสถานบริการสุขภาพที่ต้องการให้มีแพทย์ออกไปอยุ่ใกล้บ้านประชาชนมากขึ้น ส่วนใกล้ใจนั้นคงต้องดูผลที่ติดตามมาอีกครั้งว่าจะทำได้หรือไม่

                   CMUที่สมบูรณ์ จะต้องมีแพทย์ 5 วันทำการ มีแล็บ มีเอกซ์เรย์ครบครัน จึงต้องมีการลงทุนที่มากขึ้นกว่าการเป็นสถานีอนามัยเดิม ต้องเพิ่มทั้งเงิน คนและของตามไปด้วย

                     แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องทำก็คือการปรับนแวคิดการทำงานของคนใหม่ที่เข้าไปเติมกับคนเดิมที่อยู่มาก่อน ว่าจะเชื่อมดยงการทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างไร ระหว่างบรรดาแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางการรักษากับบรรดาหมออนามัยที่เชี่ยวชาญในการชุมชน ถ้าจูนไม่ดีก็จะมีปัญหาเหมือนภูเขาน้ำแข้งในทะเลลึก

                      การนำแพทย์ไปอยู่ที่CMUนับว่ายาก แต่ที่ผมคิดว่ายากยิ่งกว่าคือการทำให้ทีมใหม่กับคนเก่ายอมรับศักยภาพและจุดแข็งของกันและกันแล้วก้าวไปด้วยกันโดยมีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง ถ้าทำได้จริงผลประโยชน์อย่างยิ่งยวดจะตกอยู่กับสุขภาพประชาชน แต่ถ้าทำไม่ได้ก้อาจจะได้แค่ ภาพ(การทำงานร่วมกัน)แต่ไม่ได้สุข(ของประชาชนและคนทำงาน)อย่างแท้จริง ภาพสร้างไม่ยากแต่สุขสร้างยากกว่า

                       ในความเห็นส่วนตัว อยากให้สถานีอนามัย เป็นสุขศาลา แบบอดีต เป็นสถานที่แห่งความสุข ที่คนทำงานก็มีความสุข ประชาชนก็มีความสุข ใครมีทุกข์ไปสุขศาลา ใครมีสุขก็ไปสุขศาลา ไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรที่เลิศเลอทางด้านการรักษา แต่มีบุคลากรที่เข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นมนุษย์ เข้าใจชุมชน รู้จักชุมชน รู้จักวิถีชาวบ้าน ทำงานสอดคล้องกับเวลาราษฎร ซึ่งตรงนี้หมออนามัยก็ทำได้ รักษาโรคง่ายๆให้ชาวบ้าน แนะนำสถานที่รักษาเมื่อเจอโรคยากๆ ทำเรื่องที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆคือการส่งเสริมป้องกันโรค เพื่อที่จะไม่ต้องมารักษาโรคยากๆที่เกิดขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #cmu#primary care#health management
หมายเลขบันทึก: 119027เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 07:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ถึงจะมีหลายกระทู้ที่ดิฉัน อดที่เข้าไปโพสต่อของคุณหมออยู่แล้ว แต่เมื่อมีเรื่องเฉพาะ ก็กลับสนใจอีก การที่จะดูแลคนไข้บางคน ต้องใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจกันพอสมควร มีอยู่คนหนึ่งมาหาที่อนามัยด้วยอาการเหมือนเป็นลม นอนนิ่ง ไม่พูด ไม่เดิน ญาติต้องอ้มมา แต่ตรวจแล้ว สถาพร่างการ สัยญาณชีพปกติทุกอย่าง ญาติขอร้องให้ฉีดยาให้สักเข็มแล้วจะได้พากลับ เมื่อทำอะไรไม่ได้จึงฉีดยาบำรุงให้1 เข็ม แล้วเขาก็ดูจะดีขึ้นและกลับไป แล้วอีกประมาณ 1 สัปดาห์ ก็มาด้วยอาการนี้อีก ดิฉันเลยอาศัยความรู้ด้านให้คำปรึกษา พูดไปเรื่อยๆ ประมาณว่า มีความทุกข์ใช่ไหม ไม่ต้องบอกหรอกว่าเรื่องอะไร แต่ถ้าทำแบบนี้แล้วดีขึ้นไหม(อาการ) ก็ทำไปเถอะ แต่ถ้าไม่ใช่ ให้ลองคิดสั้นๆ สักพักก็พอ แล้วสติจะได้กลับมาเห็นปัญหาที่แท้จริง ดิฉันพูดดังนี้ กับการกลับมา อีกหลังจากนั้น ถึง2 ครั้ง และต้องฉีดยาบำรุงแถมท้ายทุกครั้ง อาการจึงดีขึ้นและกลับไป ครั้งสุดท้ายคนไข้ยอมพูดด้วย บอกว่าทุกข์ใจเพราะถูกทวงหนี้ ราคา 1,000  บาททุกวัน เครียด เนื่องจากระยะหลังมีภาระนำหลานมาเลี้ยง เลยไม่มีเงินใช้หนี้ เขาสารภาพว่า กลัวเข็มฉีดยามาก แต่ที่มาให้ฉีดยา เพราะอยากฟังคุณหมอพูด มันสบายใจขึ้น วันนั้นนอกจากจะเห็นรอยยิ้มของคนไข้ และช่วยกันหาคำพูดไปต่อลองเจ้าหนี้แล้ว ตัวดิฉันเองก็ยิ้มทั้งวัน ความสุขใจ มันเป็นเช่นนี้นี่เอง ระลึกถึงเมื่อไหร่ รอยยิ้มก็ปรากฎเมื่อนั้นค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่า เมื่อ CMU เข้ามา เราจะมีเวลาที่จะสอดส่อง ทุกข์ยาก ในใจของใครได้อีก

ผมเองก็มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง CMU กับทิศทางสาธารณสุขไทย ตังผมเองคิดว่ายังไวเกินไปที่เสนอ model ที่มีแพทย์ประจำ 5 วันเพราะ

1.แพทย์มีน้อย หน้าที่หลักในช่วงเริ่มต้นน่าจะเป็นที่ปรึกษาเครือข่ายและบริหารงานบริการของเครือข่าย

2.primary health care

ผมว่าลองมองดูประวัติศาสตร์เมื่ออดีตซิ "สุขศาลา" ก็มีแพทย์อยู่นะเป็นหัวหน้าสุขศาลาหรือสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง  ผมว่าแพทย์น่ะ พอจะมีอยู่ แต่ไหลไปนอกระบบซะมาก เช่นไปโรงพยาบาลเอกชน เปิดคิลนิก ทำธุรกิจความงาม ฯลฯ  การมี CMU  ที่เสนอค่าตอบแทนแพทย์ที่สูงก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้แพทย์อยู่ในระบบ และหันมาดูแลสุขภาพคนในชุมชนมากขึ้น แทนที่จะไปดูแลสุขภาพแต่ "คนเมือง" ที่ส่วนใหญ ่ี่มีศักยภาพในการดูแลตนเองอยู่แล้ว ที่สำคัญ CMU มีทั้งรูปแบบที่มีแพทย์ประจำ 5 วัน และแบบหมุนเวียน ซึ่งมา 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ไม่ตจำเป็นต้องนั่งตรวจรักษาตลอด..สามารถจัดเวลาให้แพทย์ออกเยี่ยมบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในรูปแบบสหวิชาชีพได้...ไม่ผิดกติกา) ที่สำตัญผมเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า "ต้องปรับแนวคิดการทำงานของคนใหม่ที่เข้าไปเติมกับคนเดิมที่อยู่มาก่อน ว่าจะเชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างไร"ก็คือทุกฝ่ายต้องเปิดใจให้กว้าง ..ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน ผมว่ายังมีแพทย์อีกหลายท่านที่พร้อมจะมาทำงานที่เสียสละให้ประชาชน .. คนดียังมีอีกเยอะครับ อย่าท้อแท้หรือสิ้นหวังซะก่อน.. อ้อ..!!! เงินที่เหลือจากค่าตอบแทนแพทย์สามารถนำไปทำแผนงาน หรือโครงการที่จะเกิดประโยชน์กับชุมชนได้ ...เหลือเล็กน้อยอาจจะใช้สำหรับเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานที่ปิดทองหลังพระใน CMU ก็ย่อมได้....ผมว่านะ
... ลืมไปอีกอย่าง เรื่องการลงทุนสูงนั้น ผมคิดว่ายังไม่มีความจำเป็นขนาดต้องมีเครื่อง x-ray หรือว่ามี Lab สามารถส่งไปตรวจที่โรงพยาบาลใกล้ๆ ในรูปแบบเครือข่าย แล้วก็ตามจ่ายตามสิทธิ ..  หรือว่า Lab เอกชนใกล้ๆได้ ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะ ขอให้มีระบบการทำงานที่ทำงานด้วยใจ...ที่มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และที่สำคัญ ต้อง...เป็นทีมสหวิชาชีพที่เข้มแข็ง  ... ลองดูงานหลายๆที่ ..ที่สามารถทำได้ดี เช่น ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์ นครราชสีมา...ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่สละแรงกาย..แรงใจ เพื่อสร้างสรรค์สังคมทุกท่านครับ
ขอบคุณสำหรับความเห็นและมุมมองที่แตกต่างกันครับ ท่านผู้อ่านท่านอื่นๆมีความคิดเห็นอย่างไร ร่วมแลกเปลี่ยนกันด้วยครับ
อยากให้ตรวจสอบเวลาการปฎิบัติงานของแพทย์ในCMU บางแห่งไม่เป็นไปตามกฎ ในขณะที่มีแพทย์ที่PCUบางคนต้องเสียสละทำงานแต่ไม่ได้อะไรเป็นขวัญกำลังใจตอบแทน

เท่าที่ได้สัมผัส CMU ด้วยตัวเอง พบว่าแพทย์มีการเอวใจใส่ชาวบ้านที่มารับบริการเป็นอย่างมาก แพทย์จะรู้จักชาวบ้านทุกคนในหมู่บ้านนั้นๆและบริเวณใกล้เคียงที่มารับบริการ ที่CMU คิดว่าดีมากที่มีระบบนี้เพราะจะข่วยลดอัตราผู้ป่วยใน OPD ที่รพ.ลง และลดภาระการใช้จ่ายของชาวบ้าน แพทย์ พยาบาล ชาวบ้าน ก็สนิทกันเหมือนญาติ

วันไหนที่มีผู้ป่วยไม่มาตรวจหรือมาตรวจที่อนามัยไม่ได้ แพทย์จะไปหาถึงบ้านซึ่งเป็นภาพที่น่ามองมากค่ะ

เข้ามาเยี่ยมเยียนคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท