เรื่องเล่าจากดงหลวง 149 ไปดูช้างน้าว ที่มุกดาหาร


ภาคกลางเรียก กำลังช้างสาร ระนองเรียกกระแจะ จันทบุรีเรียก ขมิ้นพระต้น ทางเหนือเรียกตาลเหลือง จังหวัดเลยเรียกดอกเหมย มุกดาหาร เรียกดอกตรุษจีน บุรีรัมย์เรียกแง่ง ตราดเรียกช้างโน้ม ระยองเรียกช้างโหม ราชบุรีเรียกฝิ่น

ช้างน้าวที่กล่าวถึงต่อไปนี้ไม่ใช่ช้างมีงวงมีงาตัวใหญ่ๆนั่นนะครับ หรือไม่ใช่ลูกช้าง มช.ด้วยครับ ช้างน้าวเป็นชื่อไม้ดอกชนิดหนึ่งครับที่เป็นไม้มงคลและได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถให้เป็นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหารเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ปี พ.ศ. 2537 ครับ 

เนื่องจากท่านครูบาสุทธินันท์ ได้รับช้างน้าวมาที่สิงห์ป่าสักและครอบครัวปลูกกันที่มหาชีวาลัยอีสานเมื่อช่วงวันที่ 28-30 ก.ค.วันเฮฮาศาสตร์ที่ผ่านมา ผู้บันทึกเลยขยายข่อมูลให้ท่านครูบาทราบเท่าที่ผู้บันทึกทราบมา จนทำให้ท่านครูบาสนใจมากขึ้นว่าเป็นไม้ที่มีดอกสีเหลืองสวย บานนานร่วมเดือนและเป็นไม่มงคล จนเลยไปถึงว่า น่าที่จะจัดเฮฮาศาสตร์ครั้งต่อไปที่มุกดาหารในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อเข้าป่าดูช้างน้าวออกดอกแบบเดิมๆกลางป่าดงหลวงเลย จนผู้บันทึกตื่นเต้นที่ยินดีที่จะจัดงานนั้น 

เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมจึงไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับช้างน้าวมาเพิ่มเติม  ตามไปเปิดพจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับของบรมครู ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ปรากฏว่าไม่มีข้อมูลครับ ไปดูเอกสารไม้ดอกไม้ประดับของปัทมา แซ่ลี้ หนังสือชื่อ "ณ วันดอกไม้บาน" ก็มีข้อมูลสองสามบรรทัดเอง จึงเข้า Web ไปดูข้อมูล คราวนี้พบข้อมูลมากมายเลยครับ เลยเอามาฝากกันครับ 

ช้างน้าวมีชื่อพฤกษศาสตร์ OCHNACEAE ชื่ออื่นๆ Ochna integerrima Lour. Merr.  อยู่ในวงศ์ กระแจะ, ตาลเหลือง   

ช้างน้าวเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้ม ตาแข็งและแหลม
ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ  โคนสอบแคบ ปลายเรียวแหลม มนหรือเว้า  เส้นใบละเอียด หยักถี่

ดอกช่อเหลือง ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง  และโคนซอกใบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ร่วงง่าย   

ผล กลม เมล็ดเมื่อสุกมีสีดำติดอยู่บนฐานรองดอกสีแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็น สีดำมัน ออกดอกเดือน มกราคม-พฤษภาคม การยายพันธุ์   เพาะเมล็ด

ประโยชน์ : รากขับพยาธิ  แก้น้ำเหลืองเสีย เบาหวาน, ผิดสำแดง, ดีซ่าน เปลือกต้น มีรสขม ใช้ปรุงเป็นยา ช่วยให้เจริญอาหาร  

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ในต่างประเทศที่ลาวและเวียตนามถือว่าเป็นไม้มงคล มีการซื้อขายกิ่งที่มีดอกตูมและนิยมนำไปปักไว้ที่บ้าน 

ภาคกลางเรียก กำลังช้างสาร ระนองเรียกกระแจะ จันทบุรีเรียก ขมิ้นพระต้น  ทางเหนือเรียกตาลเหลือง จังหวัดเลยเรียกดอกเหมย มุกดาหาร เรียกดอกตรุษจีน  บุรีรัมย์เรียกแง่ง ตราดเรียกช้างโน้ม ระยองเรียกช้างโหม ราชบุรีเรียกฝิ่น 

ผู้บันทึกไปทำงานมุกดาหารเมื่อปี 47 เดินที่ตลาดอินโดจีนริมแม่น้ำโขงก็พบชาวบ้าน และแม่ค้าเอากิ่งช้างน้าวที่มีดอกตูมๆมาวางขายครับ ที่เรียกดอกตรุษจีนก็เพราะเธอจะบานช่วงตรุษจีน และในตลาดอินโดจันนั้นพ่อค้าชาวจีนและไทยเชื้อสายเวียตนาม นิยมซื้อเอาไปไหว้เจ้าด้วยครับ  เราคิดกันว่าช่วงฤดูหนาวปี 51 นี้เราจะลุยป่าเพื่อดูช้างน้าวกันครับในวันเฮฮาศาสตร์ดงหลวง ขอจบลงที่ตรงนี้ครับ 

“…ช้องนางช้างน้าวสายหยุด ช่อตะแบกชาตบุษย์ชูก้าน พิกุลพวกแก้วเป็นแถวบาน พุดตานพันแต้วจำปี…” รามเกียรติ์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ร.1

หมายเลขบันทึก: 118467เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

ดอกช้างน้าวสวยดีนะค่ะ อยากดูใกล้ๆค่ะ งานเฮฮาศาสตร์ที่ดงหลวงกุมภาพันธ์ปีหน้าได้ดูแน่นอนใช่มั้ยค่ะ...ดอกสีแดงข้างล่าง คล้ายๆ ดอกมิกกี้เมาส์นะค่ะ

  • ต้นที่นำมาปลูกที่สวนป่าครูบาฯ ใช่ต้นเตี้ยๆ ไม่ค่อยมีใบนั่น ใช่ไหมครับ
  • เดี๋ยวต้องค้นดูภาพถ่ายแล้วว่าต้นไหน เพราะว่าผมจำไม่ได้
  • มาทักทายสวัสดียามเช้า..ครับ

ท่านบางทรายค่ะ ขอบคุณแทนคนเมืองมุกทุกคนเลยคะ 

  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • เพิ่งเคยเห็นและรู้จักก็วันที่ได้ปลูกช้างน้าวที่สวนป่าพ่อครูบาครับ
  • ดอกสวยงามมากนะครับ
  • เฮฮาศาสตร์ที่มุกดาหารคงได้ชมดอกช้างน้าวนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • ไม่เคยเห็นครับ
  • หรือเคยแต่ไม่สังเกต
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ด้วยหัวข้อ "เรื่องเล่าจากดงหลวง" ทำให้ต้องแวะทุกครั้ง แต่ยังไม่เคยคอมเม้นท์อะไร
  • วันนี้เห็นเขียนถึงช้างน้าว นึกว่าเป็นกล้วยไม้ เพราะด้วยชอบกล้วยไม้เลย ลงคอมเม้นท์ไว้
  • หากมีวาสนา คงได้ไปดูช้างน้าวแบบเป็นๆที่ดงหลวงค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์  P paew

  • ผมเชื่อว่าได้ดูแน่นอนครับ
  • เหลือแต่ว่าต้องกะหรือกำหนดวันงานให้ตรงกับช่วงที่เธอออกดอก เรารู้เพียงช่วงเวลา ตั้งแต่มกราคมถึงประมาณกุมภาพันธ์
  • คงต้องปรึกษาชาวบ้านที่ขึ้นดอยบ่อยๆว่าช่วงใดเหมาะที่สุดครับ
  • คิดว่าไม่น่าจะพลาดครับ 

สวัสดีครับท่าน สะมะนึกะ P สะ-มะ-นึ-กะ

  • ผมคิดว่าใช่ต้นนั้นครับ
  • ปกติจะไม่มีใบ หรือใบร่วงหมดครับ
  • ไม่ใช่ไม้ใหญ่ เขาเรียกไม้ดอกทรงพุ่ม
  • ใน web บอกว่าบางคนว่ามีกลิ่นหอม แต่ผมเคยเอามาปักแจกันที่บ้าน  ออกดอกมาดมดูไม่หอม แม่ภรรยสผมบอกว่ามีกลิ่นอ่อนๆครับ

สวัสดีครับน้อง Moo P MOO

  • พี่แอบไปดูซอยที่บ้านน้องมาแล้ว วันนั้นฝนตกเลยขับรถไปส่งน้องที่ทำงานเขาพักหอพักอีกซอยหนึ่ง น้องเขาบอกว่า ตาดแคน อยู่ถัดไปอีกซอยเลยขับรถผ่านครับ  ไม่ไกลเลยนะ
  • ด้วยความยินดีครับ  

สวัสดีครับน้องสิงห์ P สิงห์ป่าสัก

  • กลับไปดูผลงานการปลูกต้นไม้ซะ เพราะเป็นต้นประวัติศาสตร์ของท่านครูบา ซึ่งท่านสนใจมากครับ
  • กะว่าจะพาท่านขึ้นไปดูบนเขาแบบเดิมๆ แต่จะเดิมจริงหรือเปล่า เพราะเมื่อเป็นต้นไม้มีค่ามีราคา ชาวบ้านก็จะเอามาขายกันซะหมดน่ะซี  ตั้งในว่าจะประสานงานกับผู้นำอนุรักษ์ไม้ดอกชนิดนี้ไว้อีกเช่นกันครับ 

สวัสดีครับออต P  ออต

  • อาจเป็นเพราะว่าไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์มากนัก เลยไม่ค่อยรู้จัก
  • หรือประชาสัมพันธ์ในวงแคบๆแค่ในจังหวัดเท่านั้น  เคยได้ยินว่าที่ภูผาเทิบ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมุกดาหารก็มีดอกไม้ประจำถิ่น บานในช่วงฤดูหนาวอีกเช่นกัน เอาชื่อเจ้าฟ้ามาตั้งและจังหวัดจัดงานนั้น แต่ไม่ได้จัดงานวันช้างน้าว  อาจเป็นเพราะว่า ต้นช้างน้าว มีจำนวนไม่มากพอที่จะจัดงานเช่นนั้นได้ครับ 

สวัสดีครับ P pa_daeng

  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งเลยครับที่เข้ามาเยี่ยมและปรากฏตัวให้ได้รู้จักกัน
  • ถ้า pa_daeng ชอบกล้วยไม้นะครับต้องไปมุกดาหาร เพราะที่ริมโขงมีตลาดอินโดจีน จะมีแม่ค้ามานั่งขายกล้วยไม้ให้นักท่องเที่ยวทุกวัน
  • เอามาจากฝั่งลาวครับ มาทางช่องจอม อุบลฯแม่ค้าก็ไปรับมา
  • มองในแง่อนุรักษ์แล้ว  หมดกัน  ไม่กี่ปีหมดป่าแน่เลย ตำรวจก็ปล่อยๆ นานก็จับเสียที พอเป็นข่าว แล้ววันรุ่งขึ้นก็มาขายอีกแต่กองเล็กลงครับ
  • อีกที่คือ เขตรอยต่อสกลนครกับหนองขาย อันนั้นเอาออกจากป่าของเราทั้งสิ้น วางข้างถนนเต็มไปหมด  ตอยยี้ที่ขายดีคือ "ต้นปลง" ครับ
  • หากมีโอกาศขอเชิญไปเยี่ยมดงหลวงนะครับ 

ไม่เคยรู้จักเลยค่ะ เป็นความรู้ใหม่ของน้องจริง ๆ สีสรรสวยสดใสดี แบบนี้เรียกว่าธรรมชาติสร้างสรรนะคะ

น้องก็ชอบกล้วยไม้ค่ะ เหมือนพี่pa_daeng ค่ะ แต่เอามาเลี้ยงเองที่ไร ดอกไม่ค่อยออก ดอกที่ออกก็เล็กค่ะ...ตอนนี้เลยหันมาเลี้ยงไม้ใบแทน จำพวกว่าน

ขอบคุณพี่บางทรายที่นำมาให้รู้จักกันนะคะ

หวัดดีน้อง P Phiangruthai

เตรียมตัวเป็นคุณแม่ให้เต็มที่นะ เดี๋ยวนี้วิชาการด้านการดูแลเด็กเล็กมีมากมาย ทำให้คุณแม่มือใหม่เตรียมตัวได้ดี แต่ก็อย่าลืมของเก่านะสมัยคุณพ่อคุณแม่ที่ดูแลเรามา มีของดีมากมาย

อ้าวไปคุยเรื่องลูกน้อยไปแล้ว

ที่บ้านพี่ก็ชอบกล้วยไม้ มีช้างกระอยู่จำนวนหนึ่ง ดูแลบ้าง ไม่ได้ดูแลบ้างก็ออกดอกทุกปี ช่วงดูแลก็ให้ปุ๋ยน่ะครับ จะเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่มีขายเป็นชุด หรือให้ปุ๋ยประเภทน้ำหมัก

หากคุยเรื่องกล้วยไม้ต้องอาจารย์ภูคา ยกให้ท่าน พี่ยังเป็นลูกศิษย์แบบแอบแอบน่ะครับ 

สวัสดีครับพี่บางทราย 

ตอนแรกได้เห็นคำว่า ช้างน้าว นึกว่าเป็นกล้วยไม้ซะอีก ทำให้ผมงง ว่ามีกล้วยไม้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดด้วยหรือ แต่พอเปิดเข้ามาอ่านดูจึงได้รู้เพิ่มอีกแล้วครับ

ขอแก้ข่าวนิดหนึ่งครับ เรื่องกล้วยไม้ ผมก็ยังรู้น้อยอยู่ครับ ก็ต้องศึกษากับไปเรื่อย ๆ อาศัยใจรัก ก็มีความสุขแล้วครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ P ภูคา

  • เหมือนกันครับ ตอนแรกๆที่มามุกดาหารก็นึกว่าเป็นชื่อกล้วยไม้ เหมือนกัน แต่เมื่อมาเห็นของจริงแล้วพบว่าไม่ใช่
  • ดอกช้างน้าวมีข้อด้อนนิดหนึ่งคือล่วงง่าย เมื่อโดยลมแรงๆหรือมือไปถูกแรงๆก็ล่วงเลยครับ 
  • แต่ผมก็นับถือในความรู้อาจารย์ภูคาที่แสดงออกให้ได้เรียนรู้กันน่ะครับ
  • ขอบคุณครับ
สวัสดีคะท่านบางทรายตาดแคน ห่างจากมุกประมาณ 26 ก.ม.คะพอเลี้ยวเข้าซอย 6 รั้วบ้านสีส้ม  แม่ลัดดาแกงหนอไม้อร่อยที่สุดในโลกคะ 

สวัสดีครับน้อง P MOO

  • จะลองเข้าไปเยี่ยมคุณแม่ และขอทานแกงหน่อไม้นะครับ
  • ขอบคุณล่วงหน้าครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท