KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (383) วัฒนธรรมไทยเป็นอุปสรรคต่อ KM หรือไม่ – (7) การศึกษา


           มงคลชัย วิริยะพินิจ  บอกว่า ลักษณะการศึกษาไทย ได้แก่
     • มองเป็นการผลิตจำนวนมาก (mass production)
     • นักเรียนไม่มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นเป้าหมายของชีวิต      ไม่มองว่าเป็นเครื่องมือทำฝันให้เป็นจริง
     • เรียนเพื่อเอาปริญญา    ไม่ใช่เอาความรู้

         เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์เลยนะครับ    และเห็นว่าเราต้องเข้าไปช่วยกันแก้ไข     โดยใช้หลักการ “จำแนกแยกแยะ”     คือมองว่าสถาบันการศึกษาดีๆ มีอยู่     ครูดีๆ มีอยู่    เราแก้โดยการไม่เน้นแก้ปัญหา     แต่แก้โดยเน้นขยายความสำเร็จ    

        ผมมองว่า จุดอ่อนของระบบการศึกษาไทยคือ คนในวงการคิดถึงตัวเองมากไป คิดถึงเด็กน้อยไป    แต่ต้องขออภัยท่านที่ไม่เข้าข่ายนี้นะครับ   

         ผมมองว่า การศึกษาไทยเน้นผิดจุด    ไปเน้นการเรียนวิชา มากกว่าเรียนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักสังคมโดยรอบ     ไม่เอาวิชาเข้ามารับใช้จินตนาการ    รับใช้การกระตุ้นความใฝ่รู้ที่มีอยู่เป็นสมบัติของความเป็นมนุษย์

         ผมมองว่า การวัดผลการศึกษาของไทยผิดพลาดมานาน    และยังไม่กลับลำ    ในขณะที่ต่างประเทศเขากลับลำกันแล้ว    

         ผมมองกลับทางว่า KM จะเป็นตัวช่วยกลับลำการศึกษาไทย     ดร. สุวัฒน์ เงินฉ่ำ บอกผมว่า ถ้ารู้จัก KM ก่อนหน้านี้สัก 10 ปี  จะไม่ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบที่ผ่านมา      แต่ไม่สายครับ     เรายังช่วยกันกลับลำได้

วิจารณ์ พานิช
5 ส.ค. 50

 

 

หมายเลขบันทึก: 118253เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท